ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่

อำเภอลอง หรือเมืองลอง เดิมเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวจังหวัดแพร่ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1023 เป็นระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ต่อมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2475 จึงโอนมาเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดแพร่ ใน 8 อำเภอ

ตามตำนานเมืองลอง เป็นเมืองที่ตั้งมานานนับพันปี กล่าวกันว่า สร้างมาก่อนสมัยพุทธกาล เหตุที่เรียกเมืองลอง เพราะว่า พระนางจามเทวีได้หลงทางมาถึงบริเวณที่ตั้งเมืองจึงตรัสว่า "ลองขึ้นไปก่อนเถอะ" เหตุดังกล่าว จึงเรียกว่า เมืองลอง

คำขวัญของอำเภอลองมีว่า "พระธาตุล้ำค่า ส้มพุทรารสเลิศ แหล่งกำเนิดผ้าจก มรดกสวนหิน ถิ่นชาวเมืองลอง"

เมืองลอง ตามตำนานกล่าวว่า แบ่งออกเป็น 3 ยุคด้วยกัน คือ ยุคที่ 1 ตั้งเมือง ยุคที่ 2 ย้ายเมือง และยุคที่ 3 ทิ้งเมือง ในยุคที่ 2 มีเรื่องเล่าขานถึงการสร้าง
พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง เกิดขึ้นด้วยฝีมือของช่างศิลปะเชียงแสน คือ การสร้าง พระเจ้าพร้าโต้ ซึ่งถือว่าเป็นพระพุทธรูปที่แปลกและสวยงามมาก 

พระเจ้าพร้าโต้ ประดิษฐาน ณ วัดพระธาตุศรีดอนคำ หรือวัดพระธาตุห้วยอ้อ หมู่ 7 ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่

ประวัติพระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ
พระครูอดุลย์สารธรรม เจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีดอนคำ รูปปัจจุบัน บอกเล่าถึงความเป็นมาของ พระเจ้าพร้าโต้ ว่า พระเจ้าพร้าโต้ แกะด้วยพร้าโต้ หรือมีดอีโต้ ศิลปะพื้นบ้านผสมผสานศิลปะเชียงรุ้ง ซึ่งผู้สร้างใช้ความพยายามอย่างยิ่งในการใช้พร้าโต้แกะให้ออกมาเป็นพระพุทธรูปที่สวยงาม จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองลองที่มีการสร้าง"วัดศรีดอนคำ" มีพระยาลำปางและพระยานครแพร่ช่วยกันสร้าง มีการขออนุญาตโบกปูนและสร้างกุฏิให้พระเจ้ามหาเถรเจ้าสุทธนะเป็นพระประธาน โดยได้สร้างพระวิหารขึ้นในปี พ.ศ.2236 พร้อมพระอุโบสถขนาดเล็กกว้าง 4 วา ยาว 8 วา โดยลาดพื้นและผูกพัทธสีมา มีการจัดทำพระพุทธรูปองค์หนึ่งเรียกว่า พระเจ้าพร้าโต้ โดยสร้างจากไม้แก่นจันทน์ทั้งต้น และส่วนที่มีขนาดเล็กได้สร้างพระขนาดเล็กอีก 4 องค์ รวมทั้งสิ้น 5 องค์ 

องค์ที่ 2 กรมศิลปากรอัญเชิญไปประดิษฐานที่ไร่แม่ฟ้าหลวง องค์ที่ 3 อัญเชิญไปประดิษฐานที่พิพิธภัณฑ์วัดหลวง อ.เมืองแพร่ องค์ที่ 4 ถูกขโมยไป องค์ที่ 5 มีขนาดเล็กที่สุด ประดิษฐานอยู่ที่วัดศรีดอนคำ

พระเจ้าพร้าโต้ มีความสูง 3 เมตร หน้าตักกว้าง 1.5 เมตร ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนไว้แล้ว และทางวัดได้สร้างศาลาให้ประดิษฐานเป็นอย่างดี ป้องกันการโจรกรรม นอกจากนี้ ในพิพิธภัณฑ์ยังมีพระไม้ขนาดเล็ก ที่สร้างด้วยมีดอีกจำนวน 1,000 องค์

ทั้งนี้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลห้วยอ้อ หมู่ที่ 7 ต.ห้วยอ้อ อ.ลอง จ.แพร่ อยู่ติดกับตลาดเทศบาลห้วยอ้อ ห่างจากตัวเมืองแพร่ 45 กิโลเมตร ตามทางหลวง 1023

วัดพระธาตุศรีดอนคำ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า "วัดห้วยอ้อ" เป็นวัดที่ตั้งมาช้านาน เป็นโบราณสถานที่มีพระธาตุเก่าแก่ขนาดใหญ่ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1078 เมื่อคราวพระนางจามเทวีเสด็จจากเมืองละโว้ไปเมืองหริภุญชัย

"พระธาตุศรีดอนคำ" พระธาตุแห่งนี้ได้รับการบรูณะหลายครั้ง ปัจจุบันมีฐานเป็นปูน ส่วนบน ประดับด้วยแผ่นโลหะสีทอง ด้านหลังพระอุโบสถหลังใหญ่ มีองค์พระธาตุซึ่งบรรจุพระอุรัฐิ (กระดูกหน้าอก) ของพระพุทธเจ้า มีศาลาประดิษฐานของพระเจ้าเชียงแสนอยู่ภายในวัด ถือว่าเป็นพระธาตุที่มีอายุเก่าแก่มาช้านานคู่กับวัดพระธาตุศรีดอนคำ 

หากมีโอกาสเดินทางมาเยือนเมืองแพร่ แวะผ่านไปเที่ยวอำเภอลอง เข้าไปกราบนมัสการ พระเจ้าพร้าโต้ วัดศรีดอนคำ จ.แพร่ ชมศิลปะฝีมือของบรรพบุรุษชาวพุทธล้านนาและนมัสการขอพรกับ"พระธาตุศรีดอนคำ"

ทำให้เราอิ่มเอิบใจในกุศลผลบุญและความโชคดีเป็นสิริมงคลแก่ตัวเองตลอดไป
คอลัมน์ เดินสายไหว้พระพุทธ
สมฤทธิ์ ชัยพลังฤทธิ์  ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับที่ 6737




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล