ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ประวัติ คาถาชินบัญชร article


คาถา "ชินบัญชร"
ของไทย คาถาชินบัญชรเกิดขึ้นในยุคใด ประวัติ คาถาชินบัญชร "คาถาชินบัญชร" มีที่มาอย่างไร เจ้าพระคุณ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํสี)ได้เรียบเรียง คาถาชินบัญชรขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน ลองมาอ่านประวัติคาถาชินบัญชร ว่าเป็นมาอย่างไร

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํสี)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมรํสี)

หากย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 20 ปีก่อน ความนิยมศรัทธาในคาถาชินบัญชรเริ่มเผยแผ่ไปทั่วประเทศไทยว่าเป็นพระคาถา ศักดิ์สิทธิ์ของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมฺรํสี) วันนี้คาถาชินบัญชรกลายเป็นคาถาที่คนหลายอาชีพ หลายวัยท่องบ่นเป็นประจำ วัดต่างๆ จำนวนมากมีคาถาชินบัญชรที่ผู้มีจิตศรัทธาพิมพ์ไว้แจกแก่บุคคลทั่วไป

ชินบัญชรออนไลน์

แม้แต่ในอินเตอร์เน็ตเมื่อพิมพ์คำว่า "ชินบัญชร" ในกูเกิลจะมี "ชินบัญชร 304,000 ผลการค้นหา ชินบัญชร mp3 54,500 ผลการค้นหา ชินบัญชรย่อ 5,120 ผลการค้นหา ชินบัญชรคาถา 1,770 ผลการค้นหา ชินบัญชร download 68,800 ผลการค้นหา บัญชร mp3 download 15,000 ผลการค้นหา ชินบัญชรดาวน์โหลด 25,800 ผลการค้นหา ชินบัญชร imeem 4,190 ผลการค้นหา ชินบัญชรบทสวด 258,000 ผลการค้นหา"

สารานุกรมออนไลน์อย่างวิกีพีเดีย อธิบายถึงคาถาชินบัญชรว่า "พระคาถาชินบัญชร (ข้อมูล) (อ่านว่า ชินะ- ชินนะบันชอน) เป็นหนึ่งในบทสวดมนต์ที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยนิยมสวดมากที่สุด สันนิษฐานว่าพระเถระชาวล้านนาเป็นผู้แต่งขึ้น และเป็นพระคาถาสำคัญในพิธีกรรมตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏหลักฐานในพระราชพิธีจักรพรรดิราชาธิราช ต่อมาได้ปรับปรุงแก้ไขให้สมบูรณ์ขึ้นโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี วัดระฆังโฆสิตาราม สมเด็จพระพุฒาจารย์องค์ที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ (สมัยรัชกาลที่ 4) บทสวด ชินบัญชรนี้ยังพบในประเทศพม่าและ ศรีลังกาอีกด้วย

การหัดสวด พระคาถาชินบัญชรควรจะเริ่มสวดในวันพฤหัสบดีซึ่งถือเป็นวันครูและให้ เตรียมดอกไม้ 3 สี หรือดอกบัว 9 ดอก หรือดอกมะลิ 1 กำ จุดธูป 3, 5 ถึง 9 ดอก เทียน 2 เล่ม จากนั้นให้จุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยโดยการตั้งนโม 3 จบ ต่อด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ จากนั้นตั้งจิตนึกถึงสมเด็จโต..."

คาถาชินบัญชร ? คาถาชินบัญชร มีความเป็นมาอย่างไร

นิตยสารศิลปวัฒนธรรมเคยตอบคำถามเรื่อง คาถาชินบัญชร ไปแล้วครั้งหนึ่งเมื่อเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2530 ในบทความชื่อ "ประวัติคาถาชินบัญชร" โดยคัดย่อจากหนังสือ "ประวัติคาถาชินบัญชร" ของ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ขณะมีสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร

โดยสมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงเขียนคำอธิบายไว้ว่า "คาถาชินบัญชรนี้ นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ ได้เคยนำมาขอให้แปลเพื่อพิมพ์ในหนังสือประวัติของเจ้าพระคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหมฺรํสี) ครั้งหนึ่งเมื่อนานปีมาแล้ว แต่ก็ยังสงสัยในถ้อยคำและประโยคหลายแห่ง เพราะไม่อาจจับความได้ ทั้งเมื่อได้พบหลายฉบับจากหลายสำนักเข้า ก็ได้พบคำที่ผิดเพี้ยนบ้างเกือบทุกฉบับ ไม่อาจตัดสินได้ว่าที่ถูกเป็นอย่างไร ได้เคยนึกสงสัยมานานแล้วว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯได้เรียบเรียงขึ้นเอง หรือได้ต้นฉบับมาจากไหน

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีผู้นำหนังสือมาเล่มหนึ่ง เป็นหนังสือขนาดเล็กพิมพ์ในประเทศศรีลังกา ชื่อหนังสือ The Mirror of the Dhamma (กระจกธรรม) โดยพระนารทมหาเถระและพระกัสสปเถระ ฉบับที่ได้มานี้พิมพ์เมื่อ พ.ศ.2504 (ของลังกา ตรงกับ พ.ศ. 2503) ค.ศ.1961เป็นแบบหนังสือคู่มือธรรมที่ใช้สวดและปฏิบัติเป็นประจำได้ เริ่มตั้งแต่ นโม พุทธํ ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ คำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบูชา คำสมาธิภาวนาต่างๆ บทสวดมี พาหุ ชินบัญชร มงคลสูตร รตนสูตร เป็นต้น ตัวบาลีพิมพ์ด้วยอักษรสีหลและอักษรโรมัน มีคำแปลเป็นภาษาอังกฤษ ...

(ซ้าย) หนังสือสำหรับสวดพระปริตต์ ชื่อว่าปิรุวาณาโปตวะหันเส (กลาง) เทพนาถะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคาถาชินบัญชร (ขวา) ศิลปวัฒนธรรม เดือนมีนาคม 2552
(ซ้าย) หนังสือสำหรับสวดพระปริตต์ ชื่อว่าปิรุวาณาโปตวะหันเส (กลาง) เทพนาถะผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับคาถาชินบัญชร (ขวา) ศิลปวัฒนธรรม เดือนมีนาคม 2552



เมื่อได้อ่าน ชินบัญชรในหนังสือนี้แล้ว ก็ได้พบคำและประโยคที่เคยสงสัยในฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ซึ่งจับความได้หายข้องใจ จึงได้คิดว่าจะคัดฉบับลังกามาพิมพ์เพื่อผู้ที่ต้องการทราบจะได้อ่านพิจารณา และคิดปรับปรุงฉบับที่สวดกันในเมืองไทย อนุวัตร ฉบับลังกาเฉพาะที่เห็นว่าสมควรจะปรับปรุงด้วย

ชินบัญชรทั้งสองฉบับนี้ เมื่อเทียบกันแล้วก็รู้สึกว่า ต้นฉบับเดิมนั้นเป็นอันเดียวกันแน่ ฉบับ ลังกานั้นมี 22 บท ส่วนฉบับที่สวดกันในเมืองไทย มี 14 บท ก็คือ 14 บทข้างต้นของฉบับลังกานั่นเอง เพราะความเดียวกัน ถ้อยคำก็เป็นอันเดียวกันโดยมาก ส่วนคำอธิษฐานท้ายบทที่ 14 ของฉบับที่สวดกันในเมืองไทย ย่อตัดมาอย่างรวบรัดดีมาก คาถาบทที่ 9 ของฉบับไทย บรรทัดที่ 2 น่าจะเกินไป แต่จะคงไว้ก็ได้ ส่วนคาถาบทที่ 12 และ 13 สับบรรทัดกัน เมื่อแก้ใหม่ตามฉบับที่ปรับปรุงแล้วนี้ จะถูกลำดับดี”

คาถาชินบัญชรที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฒโน) ได้ให้จัดพิมพ์ขึ้นเมื่อ พ.ศ.2518 นั้น  พิมพ์ ทั้งฉบับลังกาและฉบับที่สวดกันในเมืองไทย พร้อมคำแปลของทั้ง 2 ฉบับ จึงนับว่าเป็นการให้ความรู้ใหม่เกี่ยวกับความเป็นมาของคาถาชินบัญชร อันเป็นที่นับถือทั่วไปของคนไทย และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการนำเอาคาถาชินบัญชรฉบับลังกามาพิมพ์เผยแพร่ให้ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในเมืองไทย..."

ชินบัญชรไทย - ชินบัญชร(ศรี) ลังกา
นิตยสาร ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนมีนาคมนี้ นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับคาถาชินบัญชรอีกครั้ง ในบทความชื่อ "เล่าเรื่องเมือง (ศรี) ลังกา คาถาชินบัญชรมาจากไหน?" โดยลังกากุมาร-ผู้เขียนชาวไทยที่ไปศึกษาอยู่ที่ประเทศศรีลังกา โดยระบุว่าคาถานี้มีกำเนิดจากลังกา

การกำเนิดขึ้นของชินบัญชรคาถามี ผลสืบทอดต่อมาจากการสวดปริตต์-การสวดเพื่อดับทุกข์เข็ญของประเทศชาติประชาชน โดยเริ่มครั้งแรกในสมัยอาณาจักรอนุราธปุระตอนกลาง ตรงกับสมัยพระเจ้าอุปติสสะที่ 1 (พ.ศ.908-949) ในสมัยนั้นการสวดปริตต์เป็นที่นิยมแพร่หลาย คณะพระเถระได้แต่งคัมภีร์สำหรับสวดปริตต์โดยรวบรวมพระสูตรจากพระไตรปิฎก ที่เหมาะสมจะเป็นบทสวดเรียกว่า "จตุภาณวารบาลี"

ในยุคอาณาจักรต่อ มาการสวดปริตต์เป็นที่นิยมสูงสุด โดยเฉพาะประเพณีสวดพระปริตต์ตลอดคืนจนถึงเช้า ขณะที่เนื้อหาในพระสูตรจำนวน 22 บท ที่กำหนดไว้ในคัมภีร์คงไม่เพียงพอกับเวลาอันยาวนาน จึงเพิ่มพระสูตรขึ้นให้เหมาะสมกับระยะเวลาที่สวด ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ "มหาชินปัญชระ" บทสวดว่าด้วยการเชิญพระพุทธเจ้าทั้งปวงและพระมหาสาวกมาประดิษฐานทั่ว สรรพางค์กาย นิยมสวดเพื่อคุ้มครองป้องกันภยันตราย

ที่มาคาถาชินบัญชร
แต่ก็ยังไม่สามารถระบุชัดเจนได้ว่า คาถาชินบัญชรเกิดมีขึ้นยุคใด นักปราชญ์ส่วนใหญ่ต่างมีข้อสันนิษฐานที่แตกต่างกัน หากแต่ละท่านเห็นสอดคล้องกันว่าคาถาชินบัญชรได้รับคติความเชื่อมาจากลัทธิ มหายานแบบตันตระ ส่วนผู้เขียน (ลังกากุมาร) อธิบายเรื่องนี้ไว้อย่างละเอียดในบทความค้นคว้าชิ้นนี้ของท่าน

นอกจากจะเปรียบเทียบคาถาชินบัญชรฉบับลังกากับฉบับสมเด็จพระพุฒาจารย์โต อย่างคำต่อคำ บทต่อบทแล้ว ผู้เขียนยังได้เสนอคาถาจุลชินบัญชรไว้สำหรับผู้สนใจด้วย

ได้รู้จักเข้าใจที่มาที่ไปของ"คาถาชินบัญชร"ในระดับหนึ่ง ส่วนที่เหลือและคำถามที่อยากเชิญชวนท่านผู้อ่านคิดกันต่อว่า เช่นนี้แล้วความนิยมศรัทธาต่อคาถาชินบัญชรของพุทธศาสนิกชนศรีลังกาเหมือน หรือแตกต่างจากพุทธศาสนิกชนไทยอย่างไร คาถาชินบัญชร มีสถานะเป็นพระสูตรประเภทใด เพื่อศาสนกิจใด

ทั้งหลายทั้งปวงนี้ขอได้โปรดอ่านในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ฉบับเดือนมีนาคมนี้ เพราะลังกากุมารได้อรรถาธิบายให้เห็นว่า ฤทธานุภาพ และพุทธานุภาพ ของพระคาถาชินบัญชร เป็นไปตามเหตุปัจจัยของสภาพแวดล้อม และคติความเชื่อของสังคมพุทธนั้นๆ เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้
โดย วิภา จิรภาไพศาล wipha_chi@yahoo.com ที่มา...matichon.co.th




ข่าวพระสงฆ์ ข่าวพระพุทธศาสนา

หลวงปู่หงษ์ พรหมปัญโญ สุสานทุ่งมน ละสังขารแล้ว
วัดธาตุน้อย อ.ช้างกลาง จ.นครศรีธรรมราช จัดบรรพชาสามเณร
งานเททองหล่อพระปัจเจกพุทธเจ้า ณ วัดพุทธโมกข์ จ.สกลนคร
หลวงปู่สุภา กันตสีโล ละสังขารแล้วอย่างสงบ
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ มรณภาพแล้ว
พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า ละสังขารแล้ว
หลวงพ่อเขียน วัดกระทิง เขาคิชฌกูฏ มรณภาพแล้ว
หลวงปู่ขุ้ย วัดซับตะเคียนมรณภาพแล้ว
หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง ท่านละสังขารแล้ว
งานสัปดาห์ส่งเสริมพระพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลวิสาขบูชา
หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด ละสังขารแล้ว
หลวงปู่ผ่าน ปัญญาปทีโป วัดป่าปทีปปุญญาราม มรณะภาพแล้ว
สมเด็จพระสังฆราช ทรงประทานพระพรปีใหม่ พุทธศักราช 2554
หอจดหมายเหตุพุทธทาสกทม. สอนวิปัสสนาอานาปานสติ
ไหว้พระเสริมมงคลยล “เมืองลี้”
โลกธรรม 8 หมายถึง
คอลัมน์ คำพระ
หลวงปู่สีหา วัดหนองบัวลำภู มรณะภาพ
มาฆบูชา แห่ผ้าขึ้นธาตุนานาชาติ ที่เมืองนคร 2553
อัญเชิญ คัมภีร์พระพุทธศาสนาโบราณ อายุกว่า 2,000 ปี
พิธีฉลองอายุ ครูบาเจ้าเทือง นาถสีโล วัดบ้านเด่นสะหรีศรีเมืองแกน
พระครูสันตินนทคุณ วัดปลายแหลมสุวรรณาราม มรณภาพแล้ว
ครูบาดวงดี สุภัทโท วัดท่าจำปี มรณะภาพแล้ว
หลวงปู่จักร ปิยธมฺโม วัดถ้ำเขารังไก่ มรณภาพแล้ว
วัดบ้านน้อยท่าทอง จังหวัดพิษณุโลก ขอเชิญคณะผู้มีจิตศรัทธา
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร จ.นครพนม
เคลื่อนย้าย พระอุโบสถ 500ตัน ครั้งแรกของโลก
หลวงปู่เจือ วัดกลางบางแก้ว มรณภาพแล้ว
พระพรปีใหม่ ๒๕๕๓ สมเด็จพระสังฆราช
พระจริยานิเทศก์ กำลังสำคัญคณะสงฆ์
150 ปี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์แรกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ จัดสร้าง พระแผนที่ประเทศไทย
จริยาพระสังฆาธิการ article
วัดพัฒนาตัวอย่าง และ อุทยานการศึกษาในวัด ที่มีผลงานดีเด่น
สมเด็จพระญาณวโรดม วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร มรณภาพแล้ว
เจออุโมงค์ใต้อุโบสถ วัดบางจาก เก่าแก่200ปี
ศรัทธา ความหมาย หมายถึง
เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค การปกครองคณะสงฆ์
พัฒนาระบบสารสนเทศ ในการเก็บข้อมูลพระสงฆ์ วัด และศาสนสถาน
วัดแค-วัดกุมารทอง จ.สุพรรณบุรี ทำบุญอุทิศให้ศพทารก
ครูบาอริยชาติ อริยจิตโต วัดพระธาตุแสงแก้วโพธิญาณ สร้าง“ครูบาศรีวิชัย” องค์ใหญ่ที่สุดในโลก
หลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ ทำบุญวันเกิด ครบรอบ 86 ปี
แม่กองธรรมสนามหลวง ลดสนามสอบลง ส่งผู้แทนคุมเข้ม
เร่งจัดหาพื้นที่ป่าจัดตั้ง พุทธอุทยาน
บูรณะองค์พระธาตุดอยสุเทพ วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร
บูรณะปรับปรุง องค์พระปฐมเจดีย์ คาดว่าแล้วเสร็จปลายปี 53
หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ วัดเขาแหลม มรณภาพแล้วอย่างสงบ
สร้างเจดีย์บูรพาจารย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและอัฐิธาตุ
มรภ.สวนดุสิต ศูนย์ตรัง ร่วมโครงการจริยธรรมนำไทย
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดดีเด่น ประจำปี 2552
วิธีการดูพระแท้ ตำราดูพระ
พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งพระสังฆาธิการ 16 รูป
งานฉลองสมโภช พระบรมธาตุธรรมเจดีย์
ถวายวิทยาลัยศรีโสภณ ให้มจร.
เชิญลูกศิษย์ร่วมทำบุญ หลวงพ่อหวล วัดพุทไธศวรรย์ ครบ 80 ปี
ขอเชิญร่วมปฏิบัติภาวนาธรรม ตามแนวสติปัฏฐาน 4
หลวงปู่อ่อนสา สุขกาโล ละสังขาร
เปิดการฝึกอบรมหลักสูตร วิชาการเทศนา
พระอาจารย์บุญเลิศ เตชะปุญโญ วัดปราโมทย์ ทำพิธี ลอยเคราะห์ตัดกรรมรับโชค
วิทยานิพนธ์มหาจุฬาฯ อยู่ในเกณฑ์ดีมีคุณภาพ
โครงการปฏิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติ เจ้าหน้าที่ของรัฐ
วัดห้วยมงคล จัดพิธีทอดผ้าป่า หลวงปู่ทวด 62 วัด
จัดตั้งโรงเรียนการกุศลในวัด สังกัดคณะกรรมการการศึกษาเอกชน
โครงการทุนเล่าเรียนหลวงสำหรับพระสงฆ์ไทย เพื่อสนับสนุนพระภิกษุและสามเณร
งานปิดทองไหว้พระ หลวงพ่อโตวัดป่าเลไลยก์
จัดทอด ผ้าป่าสามัคคีมหากุศล ช่วยเด็กพิการ
ทอดผ้าป่าสามัคคี วัดภูพานอุดมธรรม สร้างกุฏิพิพิธภัณฑ์
ไหว้พระ9วัด เที่ยวชัยนาท ขอพร หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ตลาดน้ำหน้าวัดตะเคียน หลวงพ่อแย้มอุปถัมภ์
บุญกิริยาวัตถุ 10 ประการ บ่อเกิดแห่ง บุญ
ช่วยเหลือพระสงฆ์ ในพื้นที่ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้
มติมหาเถรสมาคม หนุนโครงการเครือข่ายพระสงฆ์เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ
จัดงานฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุ และพระอรหันตธาตุ จ.นครพนม
สำรวจเงินค่าผาติกรรมย้อนหลัง 10 ปี กรณีมี พระนำเงินค่าผาติกรรมไปใช้
พระงดออกบิณฑบาต ในพื้นที่เสี่ยงภัย
พระเล่นไฮไฟว์ กรณี"พระเล่นอินเตอร์เน็ต"สนทนากับผู้หญิง
หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง มรณภาพแล้ว
โครงการธรรมโอสถ ผู้สูงวัยไร้ปัญหาสุขภาพ
การนำร่องกิจกรรม วัดปลอดบุหรี่
จัดสร้างพิพิธภัณฑ์ 3 บูรพาจารย์
ศูนย์คุณธรรม จัด"โครงการพัฒนาแหล่งเรียนรู้อาชีวะธรรม"
การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
วัดบ้านน้อยท่าทอง จัดพิธีเททอง หล่อพระประธาน
ศูนย์ปฏิบัติธรรมจังหวัดร้อยเอ็ด จัดโครงการปฏิบัติธรรม
สร้างเครือข่ายพระวิทยากร ส่งเสริมศีลธรรม เด็ก-เยาวชน
ติวเข้มสัมมนา พระธรรมทูตสายต่างประเทศทั่วโลก
งานสมโภชหิรัญบัฏ-เครื่องยศสมณศักดิ์ ถวายมุทิตาสักการะแด่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์
ผู้ว่าราชการจังหวัด พาเข้าวัดวันอาทิตย์
หลวงพ่อทวด รุ่นเสาร์ 5 ปี52 ย้อนยุควัตถุมงคลอาจารย์นอง
หลวงปู่ทองสุข สัมปันโน วัดโพธิ์ชัยนิมิต มรณภาพแล้วอย่างสงบ
การกรวดน้ำ จุดประสงค์คืออะไร
อุปสมบทช่วยชาติ บรรเทาปัญหาภัยเศรษฐกิจ
วัดเจ็ดเสมียน จ.ราชบุรี
วัดหัวลำโพง กำหนดทำพิธีถวายรางวัลและทุนการศึกษา
พระภิกษุปฏิบัติงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ความสุขที่แท้จริง ของมนุษย์ คืออะไร สำคัญอย่างไร ???
สุขภาพพระสงฆ์
พระพรหมสุธี วัดสระเกศ เททองหล่อระฆังทิพยมหามงคล
มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่งเสริมคุณธรรมนิสิตนักศึกษา



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล