ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article

หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว
หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว

ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว จ.สุพรรณบุรี
หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว "วัดสำปะซิว" สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๕๗ ยุคสมัยประวัติศาสตร์ หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยทราวดี อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี วัดสำปะซิว สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๕๗ ยุคสมัยประวัติศาสตร์ (อยุธยาตอนต้น) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๑๘๖๐ ตามประวัติตำนานที่ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าขานต่อๆ กันมาว่า เดิมสถานที่แห่งนี้เป็นวัดร้าง ต่อมากองทัพไทยในองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ได้มาหยุดพักทัพเพื่อตรวจสอบบัญชีจำนวนทหารในกองทัพว่ามีจำนวนทหารที่สูญหาย จากการทำศึกเท่าใด และมีจำนวนทหารเหลืออยู่เท่าใด ในสมัยนั้นเรียกสถานที่แห่งนี้ว่า สางบัญชี ...
ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปปางต่างๆ ต่อมาได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดร้างแห่งนี้ขึ้น จึงตั้งชื่อวัดแห่งนี้ว่า วัดสางบัญชี เนื่องจากสาเหตุอันใดไม่ทราบ ได้ทำให้การเรียกชื่อวัดแห่งนี้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม จากชื่อว่า วัดสางบัญชี เป็น วัดสำปะซิว มาจนถึงทุกวันนี้

พระพุทธรูปหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว 
พระพุทธรูปหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว

ในอดีตได้มีการขุดพบพระบูชาศิลปะลพบุรีอยู่หลายครั้ง ทางทิศใต้ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว ต่อมาภายหลัง นายดี ซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ทางเหนือของวัดสำปะซิว ขุดที่ดินในบริเวณริมรั้วบ้าน ก็ได้พบ พระเครื่องเนื้อดินเผา ขึ้นมาจำนวนมา นอกจากนี้ยังพบ พระซุ้มนครโกษา และ พระนารายณ์ทรงปืน อีกด้วย ซึ่งศิลปะพิมพ์ทรงคล้ายกับพระที่พบทาง จ.ลพบุรี สาเหตุที่เรียกกันว่า พระกรุวัดสำปะซิว นั้น เพราะเมื่อมีผู้ถามว่าเป็นพระที่ไหน ชาวบ้านก็มักจะตอบว่า พระสำปะซิว ก็เลยเรียกกันมาติดปากว่า พระกรุวัดสำปะซิว เนื่องจากใกล้เคียงบริเวณนั้นมี วัดสำปะซิว ตั้งอยู่

หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยทราวดี 

จากการสังเกตดูการขุดพบพระ มักจะพบตามบริเวณพื้นดิน ไม่ปรากฏเจดีย์ หรือโบราณสถานอื่นใดเลย ซึ่งอาจจะผุพังเสียหายไปนานแล้ว สันนิษฐานว่าบริเวณนี้น่าจะเป็นที่ชุมชนมาตั้งแต่สมัยลพบุรี เพราะพบพระบูชาเป็นสมัยลพบุรีแทบทั้งสิ้น ต่อมาก็พบพระเครื่องท่ามะปรางและพระซุ้มนครโกษาอีกซึ่งอายุของพระเครื่องก็น่าจะอยู่ในราวสมัยสุโขทัยตอนปลาย อย่างไรก็ตามในจำนวนพระพุทธรูปที่ขุดพบทั้งหมด มีอยู่องค์หนึ่งที่ไม่ตกไปอยู่ในมือของนักค้าวัตถุมงคล แต่หากยังถูกเก็บรักษาไว้ที่วัดเป็นอย่างดีคือ หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ ได้ถูกค้นพบเมื่อพ.ศ.๒๔๙๕ ปีมะโรง โดย นายส่ง สุจินตวงษ์ นำมาถวายวัดสำปะซิว โดยมี พระครูสุวรรณคุณสาร (หลวงพ่อเต๋ย) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในยุคนั้น ครั้งนั้นเป็นที่แตกตื่นฮือฮากันอย่างมาก แก่ผู้ที่รู้ข่าว และได้มาพบเห็นพากันมาบูชาสักการะจำนวนมาก คนเก่าคนแก่ในครั้งนั้นเล่าให้ฟังว่า "ใครมากราบไหว้บูชาขอปรารถนาในสิ่งใด สำเร็จในสิ่งนั้น สมดังชื่อหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ ซึ่งมีความหมายแปลว่า สำเร็จ สมหวัง สมปรารถนา" หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ สันนิษฐานว่าอยู่ในสมัยทราวดี อายุกว่า ๑,๐๐๐ ปี หล่อด้วยนวโลหะเนื้อทองสัมฤทธิ์โบราณ ประกอบด้วยทองมงคล ๙ ประการ

ครั้นโบราณกาล ถือธรรมเนียมประเพณีปฏิบัติ เมื่อจะหล่อพระพุทธรูปครั้งใด ต้องประกอบพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์และยิ่งใหญ่ ถือเป็นประเพณีของพระราชามหากษัตริย์ จะเป็นผู้นำสร้าง ซึ่งประชาชนคนธรรมดาไม่สามารถกระทำได้เอง เพราะเป็นเรื่องสำคัญที่ยิ่งใหญ่ ใครที่ได้เข้ามาสักการะหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ มักพูดทำนองเสียงเดียวกันว่า เข้มขลังศักดิ์สิทธิ์ มีความงดงามแบบโบราณบรรพกาล ยิ่งด้วยกว่านั้นเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะปางพุทธรูปที่พิเศษแปลก อัศจรรย์กว่าพระพุทธรูปปางใดๆ ในสยามประเทศ ซึ่งมีให้เห็นไม่ปรากฏบ่อยนัก ที่จะมีพระพุทธรูปปางเช่นนี้ ด้วยว่าลักษณะของหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์นั่งอย่างสง่างามบนฐานแท่นบัลลังก์บัว คว่ำบัวหงาย ขัดสมาธิเพชร พระบาทซ้อนพระบาท ซึ่งหมายถึงลักษณะอันงดงาม มั่นคง แข็งแกร่ง ดุจดังเพชร ในขณะที่พระกรขวายกขึ้น พระหัตถ์ขวาแผ่ประทานพร พระกรซ้ายยกขึ้น พระหัตถ์ซ้ายแผ่ให้พรมงคล ด้วยพุทธลักษณะที่งดงามและมีอายุเก่าแก่ในสมัยที่ หลวงพ่อเต๋ย มีชีวิตอยู่นั้น มีนักค้าวัตถุมงคลติดต่อขอเช่าในราคาสูงถึง ๑๖ ล้านบาท แต่หลวงพ่อไม่ให้ จากนั้นอีกประมาณ ๑ สัปดาห์ ปรากฏว่า มีคนร้ายใช้ความพยายามมาโจรกรรม โดยวางยานอนนหลับพระทั้งวัดแต่ด้วยความศักด์สิทธิ์ของ หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ ทำให้โจรไม่สามารถเคลื่อนย้ายพระได้ จากนั้นคณะกรรมการวัดได้สร้างกรงปิดไว้ และจะเปิดให้พุทธศาสนิกชนกราบไหว้ขอพรได้เฉพาะช่วงเทศกาลสำคัญๆ เท่าน้น

พระมหาอนันต์ กุสลาลงกาโร เป็นเจ้าอาวาสบอกว่า ในช่วง เทศกาลตรุษจีน ปีนี้ นับเป็นครั้งแรกในรอบ ๕๐ กว่าปี ที่จะเปิดให้สาธุชนได้ชมพระบารมี และสักการบูชา ขอพร หลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ สัทธิการิยะปุคคละ บุคคลใดชายก็ดี หญิงก็ตาม สาธุชนทั้งปวง มีโอกาสมาสักการบูชากราบไหว้ จักเป็นมงคลแก่ตัว เป็นบุญ เป็นวาสนา เป็นบารมี เป็นมหาโชค มหาลาภ อันยิ่งใหญ่ไพศาล สุดจะพรรณนา เพราะเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอีกองค์หนึ่งของเมืองสุวรรณภูมิ แห่งลุ่มแม่น้ำท่าจีน วัดสำปะซิว

พุทธศาสนิกชนสอบถามเส้นทางไป วัดสำปะซิว หมู่ ๓ ต.สนามชัย อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี ได้ที่โทร.๐-๓๕๕๔-๖๔๔๔, ๐๘-๖๓๓๘-๐๙๐๙, ๐๘-๓๕๕๘-๘๓๘๓

๓ ชั่วโมงไหว้พระ ๙ วัด  สำหรับพุทธศาสนิชนที่เดินทางไปไหว้พระใน จ.สุพรรณบุรี นั้น การท่องเที่ยว จ.สุพรรณบุรี ร่วมกับวัดสำคัญ ๙ แห่ง จัดเส้นทาง ๓ ชั่วโมงสามารถไหว้พระได้ ๙ วัดในเมืองสุพรรณบุรี เริ่มจากวัดแรก คือ ๑.พระวัดศรีรัตนมหาธาตุ มงคลแห่งชีวิต กับการสักการะกรุพระผงเมืองสุพรรณมีพระพุทธรูปหินทราย ๒๗๙ องค์ พระเครื่องและองค์พระปรางค์สร้างสมัยอู่ทอง 

 ๒.พระวัดแค มงคลแห่งชีวิตกับการสัมผัสมนตรา มหาเวทอันศักดิ์สิทธิ์ ตามรอยเณรแก้ว ขอพรหลวงปู่คงนั่งพญาต่อยักษ์ ๓.พระวัดสารภี มงคลแห่งความประเสริฐกว่าพรเทวดาทั้งปวง

 ๔.วัดพระลอย มงคลแห่งปาฏิหาริย์บุญบารมี พระนาคปรกสมัยลพบุรี อายุกว่า ๘๐๐ ปี ๕.วัดหน่อพุทธางกูร มงคลแห่งสายตา ชมการทุ่มเทจิตวิญญาณแห่งศิลปะเพื่อเป็นพุทธบูชา ๖.วัดพระนอน มงคลแห่งการได้นมัสการพุทธลักษณะนอนหงาย ที่ไม่มีที่ใดในประเทศ

 ๗.วัดพิหารแดง มงคลแห่งมนต์ขลัง พลังพระประธานอายุกว่า ๗๐๐ กว่าปี  ๘.วัดชีสุขเกษม มงคลแห่งมนต์ขลังพลังอันศักดิ์สิทธิ์พระศิลาทรายอายุนับพันปี และ ๙.วัดสว่างอารมณ์ มงคลแห่งการได้สักการะอริยสงฆ์ผู้ประพฤติดีปฏิบัติชอบ

 ติดต่อรายละเอียด หรือสอบถามเส้นทางเพิ่มเติมได้ที่โทร.๐๘-๑๔๐๓-๙๐๔๐
เรื่อง - ภาพ... "ไตรเทพ ไกรงู"
ที่มา...http://www.komchadluek.net/




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล