ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




สร้างหลักเมืองนครทำไม

หลักเมืองนคร ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช
หลักเมืองนคร ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช

ทำไมต้องสร้างหลักเมืองนคร ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ หลายคนคงสงสัย สร้างหลักเมืองนครทำไม แล้วทำไมคนถึงให้ความสนใจกับ"หลักเมืองนคร" เป็นอันมากทั้งๆที่เกือบทุกจังหวัดก็มีศาลหลักเมืองทั่วประเทศ แต่ผู้คนทั้งจากในประเทยไทยเกือบทุกจังหวัด และคนต่างประเทศจำนวนมาก ต่างก็มากราบไหว้สักการะศาลหลักเมืองนครนี้ เนื่องจากอิทธิปาฏิหาริย์ ขององค์จตุคามรามเทพ ที่สถิต ณ เสาหลักเมือง

สร้างหลักเมืองนครทำไม : ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เมืองนครศรีธรรมราชเคยมีชื่อว่า กรุงศรีธรรมโศกหรือกรุงตามพรลิงค์แต่ตำนานไทยเหนือเรียกว่า เมืองศิริธรรมนคร กรุงศรีธรรมโศก สร้างขึ้นเมื่อใดไม่มีหลักฐานแน่นอน คงทราบข้อความจากคัมภีย์เก่าแก่ของชาวอินเดียสมัยต้นพุทธกาลเรียกว่า เมืองท่าตมะลีบ้าง เมืองท่ากมะลีบ้าง จนกระทั่งในราว พ.ศ. 1150 จดหมายเหตุจีนกล่าวถึง เซียะโท้วก๊ก แปลว่า ประเทศดินแดง ซึ่งจักรพรรดิจีนส่งราชทูตเดินทางมาติดต่อทางพระราชไมตรี ต่อมาภิกษุจีนผู้คงแก่เรียนมีชื่อว่า หลวงจีนอี้จิง เดิน ทางไปศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศอินเดียใน พ.ศ. 1214 ได้แวะมาศึกษาภาษาสันสกฤตที่เมืองโฟชิ จึงทราบว่าบ้านเมืองทั้งหลายในคาบสมุทรภาคใต้ รวมตัวกันจัดตั้งเป็นสหพันธรัฐที่มีอำนาจทางทะเล หลวงจีนอี้จิง จึงขนานนามว่า “ประเทศทั้ง 10 แห่งทะเลใต้” หรือที่รู้จักกันในชื่อ “อาณาจักรศรีวิชัย”
     นักประวัติศาสตร์ถกเถียงกันมากใน เรื่องที่ตั้งเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย จนถึงทุกวันนี้ก็ยังหาข้อยุติไม่ได้ แต่เมื่อ พ.ศ.1710 ศิลาจารึกหลักที่ 35 พบที่บ้านคงแม่นางเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กล่าวถึงการแผ่ขยายอำนาจของพระเจ้ากรุงศรีธรรมโศก ขึ้นไปครอบครองดินแดนในแถบภาคกลางของประเทศไทย ต่อจากนั้นดินแดนแถบนี้กลับตกเป็นเมืองขึ้นของเขมร ครั้นใน พ.ศ. 1773 ศิลาจารึกพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช กล่าวว่าพระองค์ทรงกอบกู้อิสรภาพกรุงตามพรลิงค์กลับคืนมาได้ ภายหลังจากพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้ว อนุชาของพระองค์เสวยราชสมบัติ ตำนานกล่าวว่า
 
     “พญาจันทราภาณุผู้น้องเป็นพระยา แทนพญาจันทรภาณุเป็นพระยาอยู่ได้ 7 ปี เกิดไข้ยมบนลงทั้งเมืองคนตายวินาศประลัย พญาจันทรภาณุ พญาพงศาสุราหะอนุชา และมหาเถรสัจจานุเทพ กับคอรบครัวลงเรือหนีไข้ยมบน ไข้ก็ตามลงเรือ พญาและลูกเมียตายสิ้น พระมหาเถรสัจจานุเทพก็ตาย เมืองนครทิ้งร้างเป็นป่ารังโรมอยู่หึงนาน”

     หลักฐานเท่าที่หยิบยกขึ้น มาอ้างอิงแสดงให้เห็นว่า กรุงศรีธรรมโศก หรือ กรุงตามพรลิงค์ หรือ เมืองนครศรีธรรมราช เคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรศรีวิชัย แล้วล่มสลายไปเมื่อครั้งเกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นเมื่อราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 ถูกทิ้งร้างจมอยู่กลางป่าอยู่เป็นเวลานานจนกระทั่งพวกเจ้าไทยลงมาปกครองและ พื้นฟูบูรณาการบ้านเมืองขึ้นใหม่ ดังปรากฏเรื่องราวอยู่ในตำนานพระธาตุนครศรีธรรมราช

     ไม่มีใครทราบว่าในการฟื้นฟู บูรณาการกรุงศรีธรรมโศก และพระมหาธาตุเจดีย์ ขึ้นใหม่ในครั้งนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลังหรือความเป็นมาแท้จริงอย่างไร คงทราบความจากตำนานแต่เพียงว่า พระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงศรีอยุธยาทรงโปรดให้มีตรามาเกณฑ์ผู้คนสร้างเมือง นครศรีธรรมราช และพระธาตุจนสำเร็จเสร็จสิ้นในสมัยขุนอินทราราเป็นเจ้าเมือง ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระศรีมหาราชา จนกระทั้งชาวนครศรีธรรมราชผู้หนึ่งสนใจศึกษาวิชาโหราศาสตร์ ได้ค้นคว้าพบดวงชะตาเมืองนครศรีธรรมราชเก่า จดบันทึกไว้ในสมุดข่อยในหอสมุดแห่งชาติ จึงนำมาตีพิมพ์เผยแพร่ว่า เมืองนครศรีธรรมราชเก่าสถาปนาขึ้นเมื่อวันพฤหัส แรม 12 ค่ำ เดือน 3 ปี เถาะ จุลศักราช 649 ตรงกับ พ.ศ. 1830

พิธีกรรมยุคแรก ตอนเริ่มสร้างศาลหลักเมือง
พิธีกรรมยุคแรก ตอนเริ่มสร้างศาลหลักเมือง

     เมื่อพลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช และพลตำรวจโทสรรเพชญ ธรรมาธิกุล ตรวจสอบรูปดวงชะตาเห็นว่ากรุงศรีธรรมโศกและดินแดนภาคใต้ถูกสาป ทำให้รู้ว่า"ทำไมต้องสร้างหลักเมืองนคร" จึงร่วมกันหาทางแก้ไข รายงานให้คณะกรรมการจัดสร้างสิ่งมีค่าทางประวัติศาสตร์เมืองนครศรีธรรมราชทราบ ต่างเห็นพ้องต้องกันว่าควรสร้าง"หลักเมืองนครศรีธรรมราช"ขึ้น เพื่อล้างมนตราอาถรรพณ์แห่งคำสาปใน พ.ศ. 2530 จตุคามรามเทพ




หลักเมืองนครศรีธรรมราช

ศาล"หลักเมืองนครศรีธรรมราช"
พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างศาลหลักเมืองนคร
จุดแรกเริ่มองค์ จตุคาม-รามเทพ



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล