ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

ขุนพันธรักษ์ราชเดช 
พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

ประวัติ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
ประวัติขุนพันธรักษ์ราชเดช หรือชื่อที่ชาวบ้านเรียกกันคือ ขุนพันธ์ ท่านขุน นายตำรวจร่างเล็กที่มีหัวใจเด็ดเดี่ยว เลือดเนื้อและวิญญาญของท่านคือ ผู้พิทักษ์สันติราษฏร์ พลตำรวจตรี ขุนพันธรักษ์ราชเดช มีชื่อเดิมว่า บุตร พันธรักษ์ เกิดเมื่อวัดที่ 18 กุมภาพันธ์ 2446 ที่บ้านอ้ายเขียว หมู่ที่ 5 ตำบลดอนตะโก อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นบุตรของนายอ้วน นางทองจันทร์ พันธรักษ์

ขุนพันธรักษ์ราชเดช เริ่มเรียนหนังสือครั้งแรกกับบิดา ตั้งแต่ ก ข ก กา ไปจนจบ พออ่านสมุดข่อยได้บ้างจึงได้เข้าเรียนที่วัดอ้ายเขียวกับอาจารย์ปานซึ่งเป็นสมภาร และอาจารย์นามสมภารรูปต่อมา และที่วัดอ้ายเขียวนี้เองท่านได้เรียนกับครูฆราวาสคนหนึ่งด้วย ชื่อนายหีด เป็นชาวอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ซึ่งอาจารย์ปานได้พามาอยู่ที่วัดนี้ เป็นผู้ที่มีความรู้ ใครๆ เรียกกันว่าหลวงหีด นายหีดได้สอนหนังสือไทยแบบใหม่ให้ คือ ใช้แบบเรียนเร็ว เล่ม 1-2-3 จนท่านขุนมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่ในเกณฑ์ดี หลังจากนั้นท่านจึงเข้าสู่การศึกษาระบบโรงเรียน โดยเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดสวนป่าน อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช เนื่องจากท่านมีความรู้ในวิชาเลขและหนังสืออยู่แล้วก่อนที่จะเข้าโรงเรียน ดังนั้นเมื่อเข้าเรียนในชั้นประถมปีที่ 1 ได้ 1 วัน ทางโรงเรียนก็เลื่อนชั้นให้เรียนในชั้นประถมปีที่ 2 และวันรุ่งขึ้นก็เลื่อนชั้นให้เรียนชั้นประถมปีที่ 3 เป็นอันว่าท่านเข้าโรงเรียนได้เพียง 3 วัน ได้เลื่อนชั้นถึง 3 ครั้ง เมื่อครั้งเรียนชั้นประถมปีที่ 3 โรงเรียนบ้านสวนป่าน มีพระภิกษุอินทร์ รัตนวิจิตร เป็นผู้สอน เรียนอยู่ประมาณ 2 เดือน โรงเรียนนั้นก็ถูกยุบ ท่านจึงเข้าเรียนในชั้นเดิม ที่โรงเรียนวัดพระนคร ตำบลพระเสื้อเมือง (ปัจจุบันคือตำบลในเมือง) อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช มีครูเพิ่ม ณ นคร เป็นครูประจำชั้น เรียนจบชั้นประถมปีที่ 3 ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดของโรงเรียน ในปี พ.ศ.2456 ได้เข้าเรียนต่อชั้นมัธยมปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดท่าโพธิ์ (โรงเรียนเบจมราชูทิศในปัจจุบัน) พอเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้ไม่กี่เดือนก็ต้องออกจากโรงเรียนเพราะป่วยเป็นโรคคุดทะราด ต้องพักรักษาตัวปีกว่า เมื่อหายจึงคิดจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนเดิมแต่ปรากฏว่าเพื่อนๆ ที่เคยเรียนด้วยกันเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 2 และปีที่ 3 แล้ว จึงเปลี่ยนใจเดินทางเข้าไปศึกษาที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ.2459 โดยไปอยู่กับพระปลัดพลับ บุณยเกียรติ ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้า ที่วัดส้มเกลี้ยง (วัดราชผาติการาม) ได้เรียนอยู่ที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตรในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ขณะเรียนที่โรงเรียนนี้ได้เรียนวิชามวย ยูโด และยิมนาสติกจากครูหลายคน เช่น ครูย้อย ครูศิริ ครูนก ครูมณี จนมีความชำนาญพอสมควร ท่านสอบไล่ได้ชั้นมัธยมปีที่ 8 ในปี พ.ศ.2467 ต่อมาในปี 2468 จึงได้เข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยตำรวจห้วยจระเข้ จังหวัดนครปฐม ขณะที่เรียนได้เป็นครูมวยไทยด้วย เรียนอยู่ 5 ปี สำเร็จหลักสูตรในปี พ.ศ.2472

หลังจากจบการศึกษาแล้ว ทางราชการได้แต่งตั้งให้ไปรับราชการในตำแหน่งนักเรียนทำการนายร้อย ที่กองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ในปี พ.ศ.2473 เป็นนักเรียนทำการอยู่ 6 เดือน ได้เลื่อนยศเป็นว่าที่ร้อยตรี ต่อมาในปี พ.ศ.2474 ได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับหมวดที่กองเมืองจังหวัดพัทลุง ที่พัทลุงนี่เองท่านได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่ จนเป็นที่รู้จักและยอมรับในวงราชการและคนทั่วไป โดยการปราบปรามผู้ร้ายสำคัญของจังหวัดพัทลุง คือ เสือสัง หรือเสือพุ่ม ซึ่งเป็นเสือร้ายที่แหกคุกมาจากเมืองตรัง ขุนพันธรักษ์ราชเดชเล่าว่า เสือสังนี้มีร่างกายใหญ่โต ดุร้าย และมีอิทธิพลมาก มาอยู่ในความปกครองของกำนันตำบลป่าพยอม อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง นอกจากนั้นแล้วยังมีคนใหญ่คนโตหลายคนให้ความอุ้มชูเสือสัง จึงทำให้เป็นการยากที่จะปราบได้ แต่ท่านก็สามารถปรามเสือสังได้ในปีแรกที่ย้ายมารับราชการ โดยท่านไปปราบร่วมกับ พลตำรวจเผือก ด้วงชู มี นายขี้ครั่ง เหรียญขำ เป็นคนนำทาง การปราบปรามเสือสังครั้งนี้ทำให้ชื่อเสียงของท่านโด่งดังมาก ตอนนั้นจเรพระยาศรีสุรเสนา ไปตรวจราชการตำรวจที่พัทลุงพอดี ผู้ปราบเสือสังจึงได้รับความดีความชอบ คือ ว่าที่ร้อยตำรวจตรีบิตร์ พันธรักษ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นร้อยตำรวจตรี พลตำรวจเผือก ชูด้วง เป็นสิบตรี และนายขี้ครั่ง ได้รับรางวัล 400 บาท หลังจากนั้นมาอีก 1 ปี ท่านก็ได้ปราบผู้ร้ายสำคัญอื่นๆ 16 คน เช่น เสือเมือง เสือทอง เสือย้อย เป็นต้น ด้วยความดีความชอบ จึงได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช" และในปี พ.ศ.2478 ได้รับเลื่อนยศเป็นนายร้อยตำรวจโท และในปีนี้ได้อุปสมบทที่วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยมีท่านเจ้าคุณรัตนธัชมุนี (แบน) เป็นพระอุปัชฌาย์ บวชอยู่ได้ 1 พรรษา จึงลาสิกขา

ประวัติ ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช
 ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช

  ในปี พ.ศ.2479 ขุนพันธรักษ์ราชเดชท่านได้ย้ายไปเป็นหัวหน้ากองตรวจ ประจำกองบังคับการตำรวจภูธรมณฑลนครศรีธรรมราช ประจำจังหวัดสงขลา ได้ปราบโจรผู้ร้ายหลายคน การปราบโจรครั้งสำคัญและทำให้ท่านมีชื่อเสียงมากคือ การปราบผู้ร้ายทางการเมืองมีนราธิวาส ในปี     พ.ศ.2481 หัวหน้าโจรชื่อ " อะแวสะดอตาเละ " นัยว่าเป็นผู้ที่อยู่ยงคงกระพัน เที่ยวปล้นฆ่าเฉพาะคนไทยเท่านั้น ในที่สุดก็ถูกขุนพันธ์ฯ จับได้ ท่านจึงได้รับฉายาจากชาวไทยมุสลิมว่า " รายอกะจ ิ" และได้เลื่อนยศเป็นร้อยตำรวจเอกในปีนั้นเอง
      พ.ศ.2482 ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดชได้ย้ายมาเป็นผู้บังคับกองเมืองพัทลุง ปี พ.ศ.2485 ย้ายเป็นรองผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้ปราบปรามโจรหลายราย รายสำคัญ คือ เสือสาย และเสือเอิบ หลังจากนั้นขุนพันธ์ฯ ได้ย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดในภาคอื่น คือ ในปี พ.ศ.2486 ได้ย้ายไปเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่จังหวัดพิจิตร ได้ปฏิบัติหน้าที่มีความดีความชอบเรื่อยมา และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายมากมาย ที่สำคัญคือการปราบ เสือโน้ม หรืออาจารย์โน้ม จึงได้รับพระราชทานยศเป็นพันตำรวจตรี พ.ศ.2489 ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดชัยนาท ได้ปะทะและปราบปรามเสือร้ายหลายคน เช่น เสือฝ้าย เสือย่อง เสือผ่อน เสือครึ้ม เสือปลั่ง เสือใบ เสืออ้วน เสือดำ เสือไหว เสือมเหศวร เป็นต้น กรมตำรวจได้พิจารณาเห็นว่า ผู้ร้ายในเขตจังหวัดชัยนาทและสุพรรณบุรีชุกชุมมากขึ้นทุกวันยากแก่การปราบปรามให้สิ้นซาก จึงได้ตั้งกองปราบพเศษขึ้น โดยคัดเลือกเอาเฉพาะนายตำรวจที่มีฝีมือในการปราบปรามรวมได้ 1 กองพัน แต่งตั้งให้ พ.ต.ต.สวัสดิ์ กันเขตต์ เป็นผู้อำนวยการกองปราบ และ พ.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นรองผู้อำนวยการ กองปราบพิเศษได้ประชุมนายตำรวจที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2489 เพื่อวางแผนกำจัดเสือฝ้าย แต่แผนล้มเหลว ผู้ร้ายรู้ตัวเสียก่อน ขุนพันธ์ฯ ได้รับคำสั่งด่วนให้สกัดโจรผู้ร้ายที่จะแตกเข้ามาจังหวัดชัยนาท ครั้งนั้นขุนพันธ์ฯ ใช้ดาบเป็นอาวุธคู่มือแทนที่จะใช้ปืนยาว ดาบนั้นถุงผ้าแดงสวมทั้งฝักและด้าม คนทั้งหลายจึงขนานนามท่านว่า "ขุนพันธ์ดาบแดง" ฝีมือขุนพันธ์ฯ เป็นที่ครั่นคร้ามของพวกมิจฉาชีพทั่วไป แม้แต่เสือฝ้ายเองก็เคยติดสินบนท่านถึง 2000 บาท เพื่อไม่ให้ปราบปราม แต่ขุนพันธ์ฯ ไม่สนใจ คงปฏิบัติหน้าที่อย่างดีจนปราบปรามได้สำเร็จ ท่านอยู่ชัยนาท 3 ปี ปราบปรามเสือร้ายต่างๆ สงบลง แล้วได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรที่อยุธยา อยู่ได้ประมาณ 4เดือนเศษก็เกิดโจรผู้ร้ายชุกชมที่กำแพงเพชร ตอนนั้นเป็นระยะเปลี่ยนอธิบดีกรมตำรวจ และขุนพันธ์ฯ ก็ถูกใส่ร้ายจากเพื่อนร่วมอาชีพว่าเป็นโจรผู้ร้าย พล.ร.ต.หลวงสังวรยุทธกิจ อธิบดีกรมตำรวจยังเชื่อมั่นว่าขุนพันธ์ฯ เป็นคนดี จึงโทรเลขให้ไปพบด่วน และแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อ พ.ศ.2490 ขุนพันธ์ฯ ได้ปรับปรุงการตำรวจภูธรของเมืองนี้ให้มีสมรรถภาพขึ้น และได้ปราบปรามโจรผู้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญคือ เสือไกร กับ เสือวัน แห่งอำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร ทำให้ฝีมือการปราบปรามของขุนพันธ์ฯยิ่งลือกระฉ่อนไปไกล

ต่อมาในปี พ.ศ.2491 ทางจังหวัดพัทลุงมีโจรผู้ร้ายกำเริบชุกชุมขึ้นอีก ราษฎรชาวพัทลุงนึกถึงขุนพันธ์ฯ นายตำรวจมือปราบ เพราะเคยประจักษ์ฝีมือมาแล้ว จึงเข้าชื่อกันทำหนังสือร้องเรียนต่ออธิบดีกรมตำรวจ ผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรขอตัวขุนพันธ์ฯกลับพัทลุงเพื่อช่วยปราบปรามโจรผู้ร้าย กรมตำรวจอนุมัติตามคำร้องขอ ขุนพันธ์ฯ จึงได้ย้ายมาเป็นผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดพัทลุงอีกวาระหนึ่ง ได้ปราบปรามเสือร้ายที่สำคัญๆสิ้นชื่อไปหลายคน ผู้ร้ายบางรายก็หนีออกนอกเขตพัทลุงไปอยู่เสียที่อื่น นอกจากงานด้านปราบปรามซึ่งเป็นงานที่ท่านถนัดและสร้างชื่อเสียงให้ท่านเป็นพิเศษแล้ว ท่านยังได้พัฒนาเมืองพัทลุงให้เป็นเมืองท่องเที่ยว โดยปรับปรุงชายทะเลตำบลลำปำให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยว และให้มีตำรวจคอยตรวจตรารักษาความปลอดภัยแก่ผู้โดยสารถรไฟที่เข้าออกเมืองพัทลุง ทำให้เมืองพัทลุงในสมัยที่ท่านเป็นผู้กำกับการตำรวจ มีความสงบสุขน่าอยู่ขึ้นมาก ตำรวจที่ทำหน้าที่ดังกล่าวได้เลิกไปเมื่อกรมตำรวจจัดตั้งกองตำรวจรถไฟขึ้น ด้วยความดีความชอบในหน้าที่ราชการ ท่านจึงได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพันตำรวจโทในปี พ.ศ.2493 ท่านอยู่พัทลุงได้ 2 ปีเศษ จนถึง พ.ศ.2494 จึงได้รับการแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งรองผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 จังหวัดนครศรีธรรมราช จนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2503 จึงดำรงตำแหน่งผู้บังคับการตำรวจภูธรเขต 8 และได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็นพลตำรวจตรี จนกระทั่งเกษียณอายุในปี พ.ศ.2507 ...เหรียญขุนพันธ์ มือปราบสิบทิศ

ตลอดชีวิตรับราชการ พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ได้สร้างเกียรติประวัติในตำแหน่งหน้าที่มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกียรติประวัติในการปราบปรามโจรผู้ร้ายคนสำคัญๆ ของจังหวัดต่างๆ ที่ท่านไปประจำอยู่ จนเป็นที่เลื่องลือของคนทั่วไปและเป็นคนที่ครั่นคร้ามของโจรก๊กต่างๆ นับได้ว่าท่านเป็นนายตำรวจมือปราบคนสำคัญคนหนึ่งของเมืองไทย และด้วยฝีมือในการปราบปรามนี้เองทำให้ท่านได้รับการเลื่อนยศและตำแหน่งสูงขึ้นเป็นลำดับมา แม้เกษียณแล้วท่านก็ยังสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติบ้านเมืองเสมอมา เช่น ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครศรีธรรมราช สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ ในสมัยเลือกตั้งปี พ.ศ.2516 เป็นต้น

พล.ต.ต.ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช
พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช

   นอกจากเกียรติคุณทั้งในและนอกตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าวมาแล้ว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดช ยังมีคุณสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งควรกล่าวถึงคือ เป็นนักวิชาการที่สำคัญคนหนึ่ง ท่านเป็นทั้งนักอ่านและนักเขียน ได้เขียนเรื่องราวต่างๆ ลงพิมพ์ในหนังสือและวารสารต่างๆ หลายเรื่อง ขุนพันธ์ฯ เป็นคนหนึ่งที่มีความสนใจในเรื่องไสยศาสตร์อยู่มาก เรื่องที่เขียนส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อทางไสยศาสตร์คาถา-อาคมนอกจากนั้นก็มีเรื่องเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ทั้งประวัติบุคคลและสถานที่ ตำนานท้องถิ่นมวย และเรื่องเกี่ยวกับประสบการณ์ของตนเอง ข้อเขียนต่างๆของท่าน เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ในภาคใต้ สองเกลอ ช้างเผือกงาดำ หัวล้านนอกครู ศิษย์เจ้าคุณ มวยไทย เชื่อเครื่อง กรุงชิง เป็นต้น โดยเฉพาะเรื่องกรุงชิงนั้น ท่านเล่าว่าเป็นเรื่องที่ท่านเขียนทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบันตามพระบรมราชโองการ และต่อมามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานีได้ขออนุญาตนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ใน " รูสมิแล " วารสารของมหาวิทยลัยปีที่ 6 ฉบับที่ 3 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม พ.ศ.2526 งานเขียนของท่านส่วนมากจะลงพิมพ์ใน สารนครศรีธรรมราช หนังสืองานเดือนสิบวิชชา (วารสารทางวิชาการของวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช) รูสมิแล (วารสารทางวิชาการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์) และหนังสือที่ระลึกในโอกาสต่างๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานต่างๆ ในด้านชีวิตครอบครัว ขุนพันธ์รักษ์ราชเดชมีภรรยาคนแรกชื่อเฉลา ตอนนั้นท่านมีอายุได้ประมาณ 30 ปี ขณะที่รับราชการอยู่ที่จังหวัดพัทลุง มีบุตรด้วยกัน 8 คน ต่อมาภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงได้ภรรยาใหม่ชื่อสมสมัย มีบุตรด้วยกัน 4 คน

พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เสียชีวิตเมื่อคืนวันที่ 5 ก.ค.2549


          พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช เสียชีวิตเมื่อคืนวันที่ 5 ก.ค.2549 ด้วยโรคชรา สิริอายุ 108 ปี ขณะนี้ศพตั้งสวดพระอภิธรรมอยู่ที่วัดพระมหาธาตุฯ จ.นครศรีธรรมราช สร้างความอาลัยให้แก่ญาติมิตรและลูกศิษย์ลูกหา ปิดฉากชีวิตวีรบุรุษพริกขี้หนู ฆราวาสจอมขมังเวทที่เลื่องชื่อ

อ้างอิง..http://www.csd.go.th/news/rajchadach/
เครื่องรางของขลัง ขุนพันธรักษ์ราชเดช
อ้างอิง : หนังสือ " วัดดอนศาลา " โดย ธีระทัศน์ ยิ่งดำนุ่น จำเริญ เขมานุวงศ์ พ.ศ.2532




ประวัติพระเกจิอาจารย์ ประวัติพระคณาจารย์ พระเครื่องพระเกจิ

ประวัติหลวงพ่อบุญมี โฆสธัมโม วัดเภาเคือง รวมข้อมูลพระเครื่อง
ประวัติพ่อท่านลอย กุสโร วัดชายคลอง ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อเปรม ติสสโร วัดวิหารสูง มะกอกใต้ จังหวัดพัทลุง
ประวัติหลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน ท่าแซะ จ.ชุมพร
ประวัติหลวงปู่จันทร์ ฐิตาจาโร วัดซับน้อย อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
ประวัติหลวงพ่อคง วัดธรรมโฆษณ์ จ.สงขลา
ประวัติหลวงพ่อเหลื่อม วัดนาท่อม พระเครื่องและวัตถุมงคลหายากเมืองพัทลุง
ประวัติพระครูพนังศีลวิสุทธิพุทธภักดี วัดศาลาแก้ว นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อแดง วัดโทตรี จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด จ.นครปฐม
ประวัติหลวงพ่อแฉล้ม ฉันทวัณโณ วัดกระโดงทอง จ.อยุธยา
ประวัติหลวงพ่อซวง อภโย วัดชีปะขาว จ.สิงห์บุรี
ประวัติพ่อท่านท้วง สำนักสงฆ์คลองแคว จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติหลวงพ่อชุบ วัดวังกระแจะ จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงปู่แผ้ว ปวโร วัดประชาราษฎร์บำรุง (วัดรางหมัน)
ประวัติหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ วัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา
ประวัติ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ เหยียบน้ำทะเลจืด
ประวัติ พระอาจารย์ทองเฒ่า วัดเขาอ้อ จ.พัทลุง article
ประวัติพ่อท่านไข่ วาจาสิทธิ์ วัดลำนาว จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดสวนขัน เทวดาเมืองคอน
ประวัติ พ่อท่านนวล ปริสุทโธ วัดไสหร้า (วัดประดิษฐาราม)
ประวัติ พ่อท่านเอื้อม กตปุญโญ วัดบางเนียน ละสังขารแล้ว
ประวัติหลวงพ่อจาด พระครูสิทธิสารคุณ วัดบางกระเบา
ประวัติ พระครูสุนทรดิตถคณี (นาค โชติพโล) วัดดินดอน
ประวัติพ่อท่านหีต ปภังกโร วัดเผียน(คีรีรัตนาราม) นครศรีธรรมราช
ประวัติ พ่อท่านเขียว กิตติคุโณ วัดห้วยเงาะ
ประวัติ หลวงปู่เสาร์ ธัมมจาโร วัดบูรพาเกิ้งใต้ จ.มหาสารคาม
ประวัติ หลวงพ่อแสง ธัมมสโร วัดในเตา
ประวัติหลวงพ่อตัด ปวโร วัดชายนา จ.เพชรบุรี
ประวัติ พระอาจารย์ศรีเงิน อาภาธโร วัดดอนศาลา article
ประวัติหลวงพ่อยิด จันทสุวัณโน วัดหนองจอก
ประวัติหลวงปู่ทวด วัดควนวิเศษ
ประวัติ หลวงพ่อโสธร วัดโสธรวรารามวรวิหาร article
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร
ประวัติหลวงพ่อสาคร มนุญโญ วัดหนองกรับ จ.ระยอง
ประวัติหลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง จ.อุบลราชธานี
ประวัติ หลวงปู่แพงตา เขมิโย วัดประดู่วีรธรรม จ.นครพนม
ประวัติ หลวงปู่ถิน สารานุโม วัดบ้านดงเมืองน้อย
ประวัติหลวงปู่ทิม วัดพระขาว จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ หลวงปู่แฟ้บ สุภัทโท วัดป่าดงหวาย จ.สกลนคร
ประวัติ พระอุปัชฌาย์กรัก วัดอัมพวัน
ประวัติ หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี (พระครูโกวิทสมุทรคุณ)
ประวัติ หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง
ประวัติ พระอาจารย์หรีด วัดปาโมกข์
ประวัติพระอาจารย์ประสูติ ปิยธัมโม วัดในเตา
ประวัติหลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
ประวัติ หลวงพ่อมุ่ย วัดป่าระกำเหนือ
พ่อท่านจันทร์ ประวัติ หลวงพ่อจันทร์ สุเมโธ วัดทุ่งเฟื้อ article
ประวัติหลวงปู่เขียว วัดหรงบล จ.นครศรีธรรมราช article
ประวัติหลวงพ่อปลอด ติสฺสโร วัดนาเขลียง article
ประวัติ หลวงพ่อคง วัดบ้านสวน พระครูพิพัฒน์สิริธร (คง สิริมโต)
หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
ประวัติพระอาจารย์เอียด วัดดอนศาลา จ.พัทลุง รวมพระเครื่องและวัตถุมงคล article
ประวัติพระอาจารย์นำ ชินวโร วัดดอนศาลา(นำ แก้วจันทร์) article
ประวัติ พ่อท่านคลิ้ง จันทสิริ วัดถลุงทอง
ประวัติพ่อท่านแก่น วัดทุ่งหล่อ รวมพระเครื่องและวัตถุมงคล article
ประวัติ อาจารย์นอง วัดทรายขาว พระครูธรรมกิจโกศล article
ประวัติ พระอาจารย์ทิม ธัมมธโร วัดช้างให้ (พระครูวิสัยโสภณ ทิม)



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (106227)

เด็ด

ผู้แสดงความคิดเห็น จิมมี่ วันที่ตอบ 2010-01-18 13:16:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล