ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย article

เสือ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย

เขี้ยวเสือ หลวงพ่อปาน (พระครูพิพัฒนิโรธกิจ) หรือหลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส(บางเหี้ย) ต.คลองด่าน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ เครื่องรางของขลังชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมและเป็นที่สนใจใคร่รู้อย่างยิ่งของนักนิยมสะสมพระเครื่อง เครื่องรางของขลังตั้งแต่ในอดีตจนถึงทุกวันนี้ก็คือ “เสือ” ของ หลวงพ่อปาน วัดมงคลโคธาวาส หรือที่ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า วัดบางเหี้ย อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ

รูปหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ผู้สร้างเสืออันโด่งดัง
รูปหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ผู้สร้างเสืออันโด่งดัง

ประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย หลวงพ่อปาน ท่านเป็นชาวบางบ่อ ท่านเกิดที่ตำบลบางเหี้ย จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อปี พ.ศ. 2368 บิดามีเชื้อจีน มารดาเป็นคนไทยชื่อ ตาล อาชีพทำป่าจาก ครอบครัวของท่านอยู่ที่หมู่บ้านโคกเศรษฐี มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน ท่านเป็นบุตรคนที่ 3 เมื่อตอนเป็นเด็ก บิดามารดาได้นำไปฝากไว้กับท่านเจ้าคุณศรีสากยะบุตร เจ้าอาวาสวัดอรุณราชวราราม (วัดแจ้ง) เพื่อให้เรียนหนังสือไทย ต่อมาไม่นานเจ้าคุณได้ให้บรรพชาเป็นสามเณร ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๐ ปี อายุครบบวช ท่านก็ได้บรรพชาอุปสมบทเป็นพระภิกษุอยู่ที่ วัดอรุณราชวรารามนั่นเอง ภายหลังได้ย้ายมาจำพรรษาที่วัดบางเหี้ยนอก ปัจจุบัน เรียกว่าวัดมงคลโคธาวาส โดยมีพระที่เป็นสหายสนิทตามมาด้วยองค์หนึ่งชื่อ หลวงพ่อเรือน หลังออกพรรษาท่านและพระเรือนเริ่มออกธุดงค์ไปสถานที่ต่างๆ (ป่าเขา) พรรษาต่อๆ มาเริ่มมากขึ้นจนกระทั่งออกธุดงค์ครั้งละเป็นร้อยรูป

ต่อมาท่านได้ไปเรียนวิปัสสนากับพระอาจารย์ที่วัดสมถะ จังหวัดชลบุรี ด้วยหลวงพ่อปาน เป็นพระภิกษุที่ปฏิบัติธรรมวินัยเคร่งครัด กิจของสงฆ์หลวงพ่อปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่งคือนำ พระสงฆ์ออกบิณฑบาตทุก ๆ เช้า นอกจากเจ็บป่วยไป ไม่แล้วท่านปฏิบัติเป็นประจำทุกวัน อีกประการหนึ่ง คือนำพระสงฆ์สวดมนต์เช้าเย็นที่หอสวดมนต์เป็นประจำทุกวัน และสวดมนต์เป็นคัมภีร์หรือผูกเป็นเล่มเป็นวัน ๆ ไป กระทั่งสวดปาฏิโมกข์ เหตุดังนี้ในสมัยนั้น พระลูกวัดของท่านจึงสวดมนต์เก่งมาก ด้านสาธารณประโยชน์ หลวงพ่อปาน เป็นผู้นำในการสร้างถนนจากคลองด่านไปบางเพรียง ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสไปวัดสว่างอารมณ์ ถนนจากวัดมงคลโคธาวาสจรดคลองนางหงษ์ ถนนแต่ละสายปัจจุบันได้พัฒนาเป็นถนนถาวรและใช้สัญจร ไปมาจนถึงทุกวันนี้ ด้านความศักดิ์สิทธิ์อภินิหารของหลวงพ่อปาน นั้นเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปเป็นพระอาจารย์ ที่มีญาณแก่กล้าชื่อเสียงโด่งดังในสมัยรัชกาลที่ 5 เครื่องรางของขลัง ของท่านเป็นที่เลื่อมใสศรัทธามากและสืบ เสาะหากันจนทุกวันนี้ ท่านคร่ำเคร่งทางวิปัสสนามากและ ธุดงค์อยู่เสมอ ด้วยคุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่งของหลวงพ่อที่ได้ประกอบขึ้นไว้ แต่ครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ ราษฎรในตำบลใกล้เคียง กระทั่งต่างอำเภอและต่างจังหวัดพากันเคารพนับถือและรำลึก ถึงหลวงพ่ออย่างไม่ เสื่อมคลาย

ด้านสมณศักดิ์ หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น "พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ" หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ยท่านมรณภาพเมื่อ วันที่ 29 สิงหาคม 2453 เวลา 4 ทุ่ม 45 นาที เมื่อหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ท่านถึงมรณภาพไปแล้วจึงร่วมกันประกอบพิธีนมัสการรูปหล่อของหลวงพ่อปาน รูปหล่อดั้งเดิมของท่าน ปัจจุบัน อยู่ที่มณฑปวัดมงคลโคธาวาส อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย
พุทธคุณเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน สุดยอดของเครื่องรางของขลัง เป็นที่ต้องการของหลายๆคนเพราะ เสือของท่านมีประสบการณ์ในทางมหาอำนาจ และคงกระพันชาตรียอดเยี่ยม หรือจะใช้ในทางเมตตามหานิยมค้าขายของก็ดีเยี่ยม เสือหลวงพ่อปาน เป็นภูมิปัญญาพระเกจิอาจารย์ไทยมาแต่โบราณกาล อันดับหนึ่ง คือ "เสือ" หลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย อ.คลองด่าน จ.สมุทรปราการ เรื่องราวของท่านมีปรากฏอยู่ในพระราชนิพนธ์ เสด็จประพาส มณฑลปราจิณ ใน รัชกาลที่ ๕ ว่า...หลวงพ่อปาน ได้ทูลเกล้าฯ ถวาย "เสือ" โดยถวายพระพรว่า ที่แกะเป็นรูป "เสือ" ก็เพราะเสือเป็นสัตว์ปราดเปรียว ฉลาด ว่องไว เฉียบขาด มีตบะและอำนาจ สามารถใช้ตาสะกดสัตว์อื่นให้อยู่ในอำนาจได้ การที่ทำเครื่องรางรูป "เสือ" มิใช่จะสนับสนุนให้คนเป็นโจรผู้ร้าย เพียงแต่ต้องการเอาลักษณะเด่นของเสือจริงในป่ามาเป็นตัวอย่างเท่านั้น...ล้น เกล้าฯ ร.๕ ได้ฟังก็ทรงพอพระราชหฤทัยมาก จึงพระราชทานผ้าไตร ผ้ากราบแก่ หลวงพ่อปาน และต่อมาได้พระราชทานสมณศักดิ์เป็น พระครูพิพัฒน์นิโรธกิจ

วิธีดูเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน
รูปแบบของ เสือหลวงพ่อปาน ที่แท้นั้นว่ากันว่าต้องเป็น เขี้ยวโปร่งฟ้า ตาลูกเต๋า ยันต์กอหญ้า หน้าเหมือนแมว ภาพเสือหลวงพ่อปาน ที่เห็นนี้เป็นชิ้นสุดยอดที่ได้คัดเลือกมาให้ชม ประเภท เห็นกันเป็นครั้งแรก  ตามนโยบายที่วางไว้ และสำคัญที่สุดคือ เป็น "เสือแท้" ในรอบหลายปีที่วนเข้ามาให้นักเล่นได้มีสิทธิ์ครอบครองกันเสือหลวงพ่อปาน ตัวนี้ครั้งแรกที่ได้เห็น ยังอยู่ในมือนักนิยมพระท่านหนึ่งซึ่งได้เลี่ยมจับขอบทองเอาไว้ ทำให้เห็นทรวดทรงตัวเสือไม่ค่อยถนัดนัก ภายหลังเมื่อมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกันแล้ว เจ้าของใหม่ได้แกะทองที่เลี่ยมเอาไว้ออกเพื่อเอาท่านใส่ตลับทองคำ ตอนนี้เองที่ทำให้เห็นตัวจริงองค์จริงของท่าน ซึ่งทำไมท่านจึงมีลักษณะดังนั้น เสือหลวงพ่อปาน ตัวนี้เป็นเสือที่ถูกแกะขึ้น ภายใต้ศัพท์ที่นักเล่นเรียกหา คือ เสือเขี้ยวซีก ก็ด้วยเหตุที่ "เขี้ยวเสือ" เป็นวัตถุอาถรรพณ์ และเสือจริงสมัยก่อน รวมทั้งสมัยนี้เป็นที่รู้กันว่าหาได้ยากยิ่ง เสือหน้าแมวหลวงพ่อปาน สือรุ่นแรกจึงมักใช้วัสดุเท่าที่มี ซึ่งจำกัดมาก หาได้เท่าไรก็ให้หลวงพ่อลงจาร หรือทำให้เท่านั้น การแกะเสือยุคแรกๆ ศิษย์ผู้อยู่ใกล้ตัวหลวงพ่อ เมื่อได้เขี้ยวเสือมา จึงมักแบ่งเขี้ยวออกเป็นสองส่วนแล้วจึงให้ช่างแกะเป็นตัวเสือให้

  อีกกรณีหนึ่งคือประเภทได้เขี้ยวเสือมา แต่เป็นเขี้ยวชำรุด หรือบิ่นแตก ด้วยเชื่อว่าตัวเสือเจ้าของเขี้ยวค่อนข้างดุ ขบกัดฉีกกินเหยื่อต่างๆ มานับไม่ถ้วน หรืออาจกัดทำร้ายกันเอง ทำให้เขี้ยวเสือหักกร่อน ข้างหนึ่งดี อีกข้างบิ่น สูงยาวไม่เท่ากัน เมื่อถึงมือช่าง จึงมักถูกแต่งทิ้ง ด้านที่อาจบิ่นหรือชำรุดออกไป ดังนั้นในยุคแรกๆ ของการแกะเสือ จึงมักเจอ เสือเขี้ยวซีก กันบ่อยครั้งต่อมาเมื่อ เสือหลวงพ่อปาน เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง บรรดาเจ้าสัว นายหัว คุณท่าน ต่างก็จ้างคนสืบหาเขี้ยวเสือที่ค่อนข้างใหญ่และงาม นำมาให้ช่างแกะ บรรดาลูกศิษย์วัดต่างส่งข่าวหาเขี้ยวกัน เพื่อนำมาแกะเป็นวัตถุมงคล รูปเสือ กันอย่างกว้างขวาง จนมีเรื่องเล่าว่า ค่าตัวของเสือหลวงพ่อปานสมัยนั้น (เมื่อร้อยปีมาแล้ว) มีราคาตั้งแต่ ๑ บาท ๒ บาท จนถึง ๓ บาท นั่นคือราคาที่แพงที่สุดแต่ก็มีเรื่องเล่า (อีก) ที่ว่า มีคหบดีท่านหนึ่งให้ราคาเสือถึง ๕ บาท เพื่อให้ช่างหาเขี้ยวและนำมาแกะเป็นตัวเสือ

 เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ของหนุ่ม มรดกไทย เป็น เขี้ยวเสือ ชนิดโปร่งฟ้าเต็มเขี้ยว ขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย
เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ของหนุ่ม มรดกไทย
เป็น เขี้ยวเสือ ชนิดโปร่งฟ้าเต็มเขี้ยว ขนาดเล็กเท่าปลายนิ้วก้อย

ราคาเสือหลวงพ่อปาน ซึ่งเป็นเครื่องรางที่ได้รับความนิยมมากแต่โบราณทำให้เป็นที่ต้องการกันมาก ราคาเขี้ยวเสือหลวงพ่อปาน อยู่ในหลักหมื่นจนถึงหลักแสนปลายๆ ดังนั้น เสือหลวงพ่อปาน เมื่อก่อนจะมาถึงมือของ หลวงพ่อปาน ก็มีราคาค่าตัวสูงอยู่แล้ว เมื่อท่านเมตตา ประสิทธิประสาท ปลุกเสกคาถาอาคมให้ และมอบเสือให้ศิษย์ รวมทั้งผู้เคารพศรัทธาในตัวท่านแล้ว เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จึงมีราคาค่านิยมสูงมาก มาตั้งแต่สมัยนั้น เรื่องที่จะได้ "เสือ" ราคาถูกๆ จึงไม่มีมาตั้งแต่สมัยเก่าก่อนแล้ว มาถึงทุกวันนี้ เมื่อต่างรู้ว่าใครมี เสือหลวงพ่อปาน ราคาค่าตัวจึงถูกประมูล และผู้ที่มีไว้ครอบครองส่วนใหญ่ต้องให้ราคาค่อนข้างสูงกว่าปกติทั่วไป จึงจะได้สิทธิครอบครองเสือจริง ส่วนที่ได้ราคาถูก หรือมีด้วยเสือเช่นกัน มักเป็น เสือหิว เสือโหย เสียเป็นส่วนใหญ่ เสือลักษณะนี้ แค่ได้ยินชื่อ ท่านทั้งหลายก็คงไม่คิดอยากจะเอาไว้ใกล้ตัว ลักษณะเป็นอย่างไร เดี๋ยวว่ากันต่อ พระคาถาปลุกเสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย พระคาถาบูชาหลวงพ่อปาน วัดคลองด่าน(บางเหี้ย)

ค่าเขี้ยวเสือ ค่าโกลนขึ้นรูปเสือ แม้มีราคามากแล้ว แต่ขั้นตอนการได้เสือยุ่งยากกว่ามาก ด้วยท่านกว่าจะทำเสือ ลงจารเสือ ปลุกเสกสำเร็จ จิปาถะ ฯลฯ ก็ต้องผ่านพิธีกรรมหลายขั้นตอน เสือหลวงพ่อปาน ตัวที่ท่านกำลังเห็นอยู่นี้ เมื่อจำเป็นจะต้องใช้เขี้ยวซีกแล้ว ทราบว่าต้องให้ช่างคนหนึ่งแกะสลักให้ ในบรรดาช่างที่มีฝีมือ อาทิ ช่างฟัก ช่างชม ช่างนิล ช่างมาก และช่างมา อาจจะเป็นคนเดียวกันก็ได้ ช่างแกะเขี้ยวซีก ผู้มีความเก่งกล้าสามารถมากท่านหนึ่ง แม้จะจำชื่อท่านไม่ได้ แต่จำฝีมือท่านได้แม่น ด้วยส่วนใหญ่ท่านจะแกะแบบ เสือนิยม นั่งหุบปาก ตาเนื้อ รวมความแล้วเป็นแบบ เสือหน้าแมวแต่ดุ ด้วยเนื้อที่น้อย จำกัดลักษณะ จึงมักทิ้งเนื้อที่ใต้ฐานเสือนั่งเอาไว้ เพราะไม่มีเนื้อที่เหลือไว้ให้หลวงพ่อลงเหล็กจารอักขระยันต์ใต้ฐานล่างได้ แต่เพราะความเป็นช่างผู้มากด้วยประสบการณ์ และเป็นเรื่องต้องทราบ ด้วยหลวงพ่อปานต้องลงอักขระเลขยันต์ในการสร้างเสือขึ้นมาทุกครั้ง นายช่างท่านนี้จึงมักจะเหลือพื้นที่ใต้เสือนั่ง ฝั่งซ้าย-ขวาเอาไว้ เพื่อให้หลวงพ่อมีเนื้อที่ลงอักขระเลขยันต์ได้ตามสูตร

 ดังนั้น เสือหลวงพ่อปาน เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ฝีมือชั้นเชิงช่างและสิ่งที่เหลือ ลายมือหลวงพ่อในเสือหลวงพ่อปาน จึงเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การเก็บรักษาดูแลเป็นอย่างยิ่ง เรื่องสูตรจารตัว “เสือ” ของหลวงพ่อปาน ตามสูตรท่านลงแบบ ยันต์ตรีนิสิงเห คือตัวเลขต่างๆ ที่เห็นในภาพรวมทั้ง ยันต์กอหญ้า ยันต์ฤษีเลื่องลือ เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย ที่เห็นในภาพนี้ เป็น ยันต์นะปถมัง ยันต์สูตรนี้เมื่อเรียนจบแล้ว ยังต้องรู้ว่า ลงแล้วดีอย่างไร ในหนังสือของ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เขียนเรื่องนี้ไว้ว่า

ในบุราณคัมภีร์ ท่านได้วางแบบนะอักขรวิเศษต่างๆ ไว้มาก ดังที่ท่านเรียกกันว่า นะ ๑๐๘ แต่แท้ที่จริง บรรดานะอักขรวิเศษเหล่านั้น ท่านแยกออกมาจากสูตรปถมังทั้งนั้น เป็นแต่ผิดเพี้ยนรูปกันไปและคาถาที่ปลุกเสก ก็ต่างออกไป ตามแต่ความมุ่งหมายของชื่อนะเหล่านั้น เช่น เป็นนะทางคงกระพัน ถ้าเป็นเมตตาก็เสกด้วยคาถาบทที่ว่าด้วยเมตตา แต่ปัญหาสำคัญในการที่จะเขียนนะอักขรวิเศษเหล่านั้น จำเป็นจะต้องเขียนขึ้นจากสูตรปถมังพินธุทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นนะเช่นไร ชนิดใดก็ตามการลงเบื้องแรกจำต้องเริ่มจาก พินธุ ทัณฑะ เภทะ อังกุ สิระ เป็นลำดับกันไป และเมื่อสำเร็จเป็นรูปนะแล้ว จึงค่อยปลุกเสกตามคาถา ที่พึงปรารถนาจะให้เป็นไป เพราะเหตุที่สูตรปถมังพินธุ เป็นรากเง่าใหญ่ของการลงนะทั้งปวง จึงได้มีคำพังเพยของปราชญ์โบราณท่านกล่าวไว้ว่า “ปถมังพินธุ ผู้ใดได้เรียนแล้วนะมิต้องพักขอก็มาเอง” ด้วยเหตุนี้ จึงไม่ต้องสงสัยว่าทำไม เสือหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย จึงมีค่านิยมสูงนักข่าวพระเครื่อง "เพชร ท่าพระจันทร์" ที่มา...หนังสือพิมพ์คมชัดลึก




ข่าวพระเครื่อง ข่าววงการพระเครื่อง มีข่าวมาบอก

งานประกวดพระเครื่อง 24 ก.ค. 65 ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
ข่าวงานประกวดพระเครื่อง 6 ตุลาคม 2562 จ.กำแพงเพชร
งานประกวดพระเครื่อง 29 ก.ย.62 เมืองโคราช นครราชสีมา
ขอเชิญร่วมงานสมโภช ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ประจำปี 2562
งานประกวดพระเครื่อง 4 ก.พ.61 ห้างเดอะมอลล์ จ.นครราชสีมา
งานประกวดพระเครื่อง 11 ก.พ. 61 ท้องถิ่น จ.นครศรีธรรมราช
ห้างพระเครื่อง SC พลาซ่าสายใต้ใหม่ จัดงานประกวดพระเครื่อง
งานประกวด 3 กันยายน 2560 ชมรมพระเครื่องเทสโกโลตัส ปิ่นเกล้า
งานประกวดพระเครื่อง 27 สิงหาคม 2560 ตำรวจสามพราน
แจ้งข่าวงานประกวดพระเครื่อง 23 กรกฎาคม 2560 ศูนย์ราชการ
งานประกวดพระเครื่อง 2 เมษายน 2560 จ.ประจวบคีรีขันธ์
มหกรรมประกวดพระเครื่อง 19 มี.ค.60 ร.ร.สุรนารีวิทยา จ.นครราชสีมา
การประกวดพระเครื่อง 26 มี.ค.60 พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย
งานประกวดพระเครื่อง 5 มี.ค.60 ชมรมพระเครื่องจังหวัดราชบุรี
งานประกวดพระเครื่อง 26 ก.พ.60 ชมรมพระเครื่องจังหวัดน่าน
งานประกวดพระเครื่อง 12 ก.พ.2560 โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
งานประกวดพระเครื่อง 19 ก.พ.60 กองบิน 46 จ.พิษณุโลก
งานประกวดพระเครื่องท้องถิ่น 15 ม.ค.2560 จ.สมุทรปราการ
งานประกวดพระเครื่อง เมืองพัทยา จ.ชลบุรี 4 ธ.ค.2559
รายการประกวดพระเครื่อง จ.ลำปาง วันที่ 26-27 พฤศจิกายน 2559
งานประกวดพระเครื่อง 21 สิงหาคม 2559 จ.เชียงใหม่ โรงแรมโลตัส
รายการประกวดพระเครื่อง 31 ก.ค.2559 จ.นครสวรรค์ (ท้องถิ่น)
งานประกวดพระเครื่อง 24 ก.ค.59 ทั่วประเทศครั้งยิ่งใหญ่ จ.ขอนแก่น
งานอนุรักษ์พระเครื่อง 16-17 กรกฏาคม 2559 พิษณุโลก Thai Amulet News
สังคมพระเครื่องเมืองใต้ คอลัมนิสต์โดย เกียรตินคร บูรณะ100ปี
งานประกวด 5 มิถุนายน 2559 สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย
งานประกวดพระเครื่อง 22 พ.ค.59 ตำรวจภูธรภาค9 ราชภัฏสงขลา
งานประกวดพระเครื่อง 8 พ.ค. 2559 Amulet contest in Thailand
บุญมหาสงกรานต์ 59 ณ วัดเจดีย์ (ไอ้ไข่) ต.ฉลอง อ.สิชล นครศรี
งานประกวดพระเครื่อง 3กรกฎาคม2559 โรงแรมทวินโลตัส นครศรี
งานประกวดพระเครื่อง ลูกปัดทวารวดีศรีวิชัย 30 เม.ย. 1พ.ค.59
งานประกวดพระเครื่อง 20 มีนาคม 2559 จ.นครราชสีมา
ฟังบรรยายเจาะลึก สัมผัสพระเบญจภาคี สุดยอดปรารถนานักสะสม
งานประกวดพระเครื่อง 3 เมษายน 2559 ห้างเซ็นทรัลพลาซ่าพิษณุโลก
งานประกวดพระเครื่อง 13 มีนาคม 2559 วัดห้วยมงคล จ.ประจวบ
งานประกวดพระเครื่อง 12 มิถุนายน 2559 จังหวัดสุราษฎร์ธานี
งานประกวดพระ 27 มีนาคม 2559 ชมรมพระเครื่องจังหวัดตรัง
นิตยสารพระท่าพระจันทร์ จัดงานประกวดอนุรักษ์ 28 ก.พ.2559
งานประกวดพระเครื่อง 21 ก.พ.59 ชมรมอนุรักษ์พระเครื่องลำปาง
งานประกวดพระเครื่อง 31 มกราคม 2559 จ.อุตรดิตถ์ Uttaradit
งานประกวดพระเครื่อง 24 ม.ค.59 TOT ศูนย์ราชการ(โซนบี)
งานประกวดพระเครื่อง 20 ธันวาคม 2558 จังหวัดสุโขทัย
งานประกวดพระเครื่อง 17 มกราคม 2559 นิตยสารพระเครื่อง
ตารางงานประกวด 29 พ.ย.2558 ชมรมพระเครื่องจังหวัดระยอง
งานประกวดพระเครื่อง 22 พ.ย.58 ท้องถิ่น จ.ลำพูน Amulet Contest
งานประกวดพระเครื่อง 1พ.ย.58 ชมรมพระเครื่องจังหวัดชลบุรี
แจ้งข่าวงานประกวดพระเครื่อง 8 พ.ย.58 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
ชมรมพระเครื่องจังหวัดเพชรบุรีและวัดตาลกง งานประกวดพระเครื่อง
สำหรับท่านที่ต้องการตรวจเช็คพระเครื่อง ออกใบรับรองพระแท้
รายการประกวดพระเครื่อง 18ต.ค.58 สมาคมพระเครื่องพัทยา
งานประกวดพระเครื่อง 4ต.ค.58 ชมรมนักข่าวและช่างภาพพระเครื่อง
งานประกวดพระเครื่องท้องถิ่น วิทยาลัยธาตุพนม จ.นครพนม 20ก.ย.
งานสมโภชศาลหลักเมือง นครศรีธรรมราช วันที่ 1-5 สิงหาคม ปี2558
งานประกวดพระ 30 ส.ค.58 โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน
งานประกวดพระ 23 ส.ค.58 จ.เชียงใหม่ นิตยสารพระเมืองเหนือ
งานประกวดพระเครื่องท้องถิ่น 2 ส.ค.58 ม.ราชภัฏมหาสารคาม
งานประกวดพระเครื่อง 30 ก.ค.58 โรงแรมพูลแมน คิงเพาเวอร์
งานประกวดพระเครื่อง 26 ก.ค.58 ศูนย์ราชการ โดย จปร.รุ่น25
งานประกวดพระเครื่อง 14จังหวัดภาคใต้ 25 ตุลาคม 2558 จ.พัทลุง
งานประกวดพระเครื่อง 12 ก.ค.58 จ.ขอนแก่น ตำรวจภูธรภาค4
ปฏิทินข่าวงานประกวดพระ 21 มิถุนายน 2558 ณ ศูนย์ราชการ
งานประกวดพระเครื่อง 3 พฤษภาคม 2558 จ.จันทบุรี
งานประกวดพระเครื่อง ไบเทคบางนาBitec 31พ.ค.2558
รายการงานประกวดพระเครื่อง 17 พ.ค.58 ศิษย์เก่าอำนวยศิลป์
งานประกวดพระเครื่อง จ.สกลนครครั้งที่2 13-14 มิถุนายน2558
ถอดรหัสธรรมจากพระเครื่อง แข่งขันประกวดการอนุรักษ์พระเครื่อง
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อเกษม เขมจิตโต รุ่นสร้างบารมี วัดชะเมา
หลวงพ่อท้วง คุณุตฺตโร สำนักสงฆ์คลองแคว ละสังขารแล้ว
พ่อท่านเสือเล็ก หิรัญโญ วัดควนซาง ละสังขารแล้วด้วยโรคชรา
งานประกวดพระ ณ ราชตฤณมัยสมาคม(สนามม้านางเลิ้ง) 1ก.พ.58
งานประกวดพระเครื่อง 18 ม.ค.58 จังหวัดสมุทรปราการ AmuletNews
งานมหกรรมการประกวดพระเครื่อง กองบิน46พิษณุโลก 25 ม.ค.58
งานประกวดพระเครื่อง จ.ลำปาง ท้องถิ่นภาคเหนือ 18ม.ค.2558
ชมรมพระเครื่องเมืองพิจิตร จัดงานประกวดพระ 25 ธันวาคม 57
สมาคมพระเครื่องเมืองพัทยา เชิญร่วมงานประกวดพระ 21ธ.ค.57
งานประกวดพระเครื่อง จังหวัดสุโขทัย 14 ธ.ค.57 รายการแต่ละโต๊ะ
ตลาดพระเครื่องเมืองหล่มสัก เปิดให้บริการแล้วสำหรับผู้นิยมศึกษา
รายการพระเครื่องที่มีการประกวด 16พ.ย.57จังหวัดสุรินทร์
งานประกวดพระเครื่องจังหวัดนครสวรรค์ 2 พ.ย.2557
งานประกวดพระเครื่องสามพราน 30 พ.ย.2557 เมืองนครปฐม
งานประกวดพระเครื่อง เมืองจันทบุรี 23 พฤศจิกายน 57 amulet news
งานประกวดพระเครื่อง เมืองลพบุรี 9 พ.ย.2557 Amulet contest
งานประกวดพระเครื่อง จังหวัดชัยภูมิ 26 ตุลาคม 2557 Amulet Contest
เหรียญหลวงปู่บัว ถามโก วัดศรีบูรพาราม รุ่นแรก ปี2523 จ.ตราด
งานประกวดพระเครื่อง 28 กันยายน 2557 ทีโอที สำนักงานใหญ่
งานประกวดพระเครื่อง 10 สิงหาคม 2557 จังหวัดอุตรดิตถ์(ท้องถิ่น)
ข่าวพระเครื่องพระเจ้าตากสินมหาราช ศูนย์การทหารม้าค่ายอดิศร
พระเครื่องวัตถุมงคลหลวงพ่อโปร่ง โชติโก วัดถ้ำพรุตะเคียน รุ่นซื้อที่ดิน
งานประกวดพระเครื่อง ไบเทคบางนา 14 กันยายน 2557 งานใหญ่
พระกริ่งใหญ่ วัดแจ้ง ที่รฤกแห่งพระอาราม190ปีพระปรางค์วัดอรุณฯ
เหรียญหลวงพ่อประเทือง รุ่นแรก สิริวโร วัดสาลีโขภิตาราม อย่าพลาด
ข่าวการจัดสร้างวัตถุมงคล พระผงพรายกุมารมหาเทพ เจริญพร บารมี
งานประกวดพระเครื่อง 27กรกฎาคม 57 ม.ธรรมศาสตร์(ศูนย์รังสิต)
ตำรวจภูธรภาค7 จัดงานประกวดพระเครื่อง 17สิงหาคม2557
รูปเหมือนปั้มเศรษฐีรุ่น1 หลวงพ่อสนองชาติ วัดเย็นสนิทธรรมาราม
พญาราชสีห์หลวงปู่เขียว วัดห้วยเงาะ จ.ปัตตานี ข่าวพระใหม่วันนี้
งานประกวดพระเครื่องพระบูชาวันอาทิตย์ที่ 6 กรกฎาคม 2557
เหรียญ8รอบ 96ปี หลวงปู่เสนาะ ปัญญาวโร วัดบางคาง จ.ปราจีนบุรี
เหรียญเสมาหลวงพ่อมนัส รุ่นคชสารให้ลาภ สำนักกรรมฐานฟื้นฟูจิต



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล