ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ

พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ
พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ

พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ กรุงเทพมหานคร ที่ "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จะกล่าวถึงในฉบับนี้ เป็นพระพิมพ์เก่าแก่ที่มีความเหมือนกับ "พระสมเด็จ" อันลือชื่อที่สร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นเนื้อมวลสารหรือพิมพ์ทรง แม้กระทั่งอายุการสร้างก็คงจะไม่ด้อยไปกว่ากันมากนัก อาจเนื่องด้วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชเจ้า (สุก ไก่เถื่อน) ซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักและเคารพเลื่อมใสของพุทธศาสนิก ชนทั่วประเทศ และยังมีกิตติศัพท์เป็นที่เลื่องลือในด้านพุทธาคมเป็นเลิศในสมัย และยังเป็นพระอาจารย์ผู้ประสิทธิ์ประสาทวิชาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้จัดสร้างพระเครื่อง ในอดีตเรียกว่าเป็นที่นิยมสูงรองๆ จากพระสมเด็จทีเดียวครับผม

พระสมเด็จอรหัง ใช้ปูนเปลือกหอยเป็นมวลสารหลัก ในการสร้างเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม ส่วนผสมอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกัน เช่นเศษอาหารที่ฉัน วัสดุบูชาและผงอิทธิเจ จะผิดกันตรงสัดส่วนของมวลสารแต่ละชนิดที่นำมาผสมกันเท่านั้น ร่องรอยการสลายตัวและหดตัวก็จะเหมือนกัน ด้วยมวลสารและอายุขององค์พระใกล้เคียงกัน แต่เนื้อขององค์พระของ พระสมเด็จอรหังจะมี 2 สี คือ เนื้อขาวและเนื้อแดง สันนิษฐานว่าอาจจะมีการผสมปูนกินหมากหรือพิมเสนเข้าไป เมื่อผสมกับปูนเปลือกหอยทำให้เนื้อมวลสารกลายเป็นสีแดง

"พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ" เป็นพระเนื้อผง รูปสี่เหลี่ยมชิ้นฟัก องค์พระประธานประทับนั่ง แสดงปางสมาธิ บนฐานสามชั้น และมีซุ้มครอบแก้วเช่นเดียวกับพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม แต่จะมีพุทธลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะคือ แม่พิมพ์เป็นแม่พิมพ์ที่ใช้แผ่นหินอ่อนปิดทั้ง 4 ด้าน เมื่อกดพิมพ์เป็นที่เรียบร้อยก็จะเปิดแผ่นหินอ่อนและถอดองค์พระออกจากแม่ พิมพ์ ไม่ต้องมีการตอกตัด จึงปรากฏเส้นขอบนูนทะลักขึ้นมาทั้ง 4 ด้าน อันเป็นเอกลักษณ์สำคัญประการหนึ่ง เส้นซุ้มครอบแก้วเป็นเส้นเล็กและบาง พระเกศเป็นเส้นเล็ก คม และยาว พระพักตร์กลม พระกรรณทั้งสองข้างเป็นเส้นเล็กนูนและคม ข้างขวาขององค์พระจะชิดพระพักตร์มากกว่าข้างซ้าย ลำพระศอเป็นเส้นคม พระอุระเป็นรูปตัววี (V) มีเส้นอังสะ 2 เส้น คมและชัดเจนมาก พระพาหาเป็นรูปวงกลม ไม่มีหักศอก และพระเพลามีลักษณะคล้ายเรือสำปั้น

พระสมเด็จอรหัง แบ่งแยกพิมพ์ได้ทั้งหมด 8 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น เนื้อขาว พิมพ์ฐานคู่ เนื้อขาว พิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น เกศอุ เนื้อขาว พิมพ์เล็ก มีประภามณฑล เนื้อขาว พิมพ์เล็ก ไม่มีประภามณฑล เนื้อขาว พิมพ์ชิ้นฟัก เนื้อขาว พิมพ์ใหญ่ ฐานสามชั้น เนื้อแดง และพิมพ์ฐานคู่เนื้อแดง พระสมเด็จอรหัง ทุกพิมพ์จะมีพิมพ์ด้านหลังเหมือนกันคือ มีรอยเหล็กจารลึกลงไปในเนื้อว่า "อรหัง" และพื้นผิวจะปรากฏรอยเหี่ยวย่นและการยุบตัวของเนื้อพระคล้ายเส้นพรายน้ำ หรือกาบหมาก ลักษณะเหมือนนำกาบหมากมากดเพื่อให้เนื้อแน่นมองดูคล้าย "หลังกาบหมาก" เว้นแต่เพียงพิมพ์เดียวคือ พระสมเด็จอรหัง พิมพ์ชิ้นฟัก เนื้อขาว พิมพ์ด้านหลังจะเป็นพื้นเรียบธรรมดา

พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราชสุก กรุงเทพมหานคร เป็นพระพิมพ์เก่าแก่ที่น่าสนใจสะสมพิมพ์หนึ่ง ซึ่งสนนราคา ณ ปัจจุบัน ยังพอเช่าหาได้อยู่ แต่ของปลอมก็ค่อนข้างมาก ต้องพิจารณาให้ละเอียดครับผม ข่าวพระเครื่อง พันธุ์แท้พระเครื่อง ราม วัชรประดิษฐ์


พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ

พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ สมเด็จพระสังฆราชสุก (สุก ญาณสังวโร)
แทน ท่าพระจันทร์ สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เนื่องจากมีผู้อ่านอยากจะได้เขียนถึงพระเนื้อผงแบบพระสมเด็จฯ ที่พระเกจิอาจารย์ต่างๆ ท่านได้สร้างไว้นอกเหนือจากพระที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้สร้างไว้ ในวันนี้ผมก็จะเริ่มจาก พระสมเด็จอรหัง ซึ่งเชื่อกันว่าสมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวโร) สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงสร้างไว้ สมเด็จพระสังฆราช สุก เดิมท่านอยู่ที่วัดพลับ (วัดราชสิทธาราม) ครั้งสุดท้ายท่านได้รับพระราชทานสถาปนาให้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ลำดับที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แล้วย้ายมาประทับที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และที่วัดนี้เองซึ่งท่านได้แจกพระสมเด็จอรหังและบรรจุกรุไว้ส่วนหนึ่ง สันนิษฐานว่าพระสมเด็จอรหังท่านได้สร้างไว้ตั้งแต่เมื่อยังดำรงตำแหน่งเป็น สมเด็จพระราชาคณะอยู่ที่วัดพลับ ประมาณปี พ.ศ.2360-2363

พระสมเด็จอรหัง เป็นพระสมเด็จเนื้อผง รูปทรงแบบสี่แหลี่ยมชิ้นฟัก มีด้วยกันหลายพิมพ์ เช่น พิมพ์สังฆาฏิ พิมพ์ฐานคู่ พิมพ์เกศอุ พิมพ์เล็กมีประภามณฑล และพิมพ์เล็กไม่มีประภามณฑล ที่ด้านหลังของพระมักมีการจารอักขระเป็นตัวหนังสือขอม คำว่า "อรหัง" และอีกส่วนหนึ่งที่ใช้ตราปั้มเป็นคำว่า "อรหัง" ก็มี มักเรียกหลังแบบนี้ว่า หลังตั้งโต๊ะกัง เนื่องจากลักษณะการปั้มด้านหลังคล้ายกับตราประทับเลยก็มีบ้างเป็นส่วนน้อย และพระสมเด็จอรหังนี้ เนื่องจากพระส่วนใหญ่ด้านหลังมีคำว่า "อรหัง" จึงนิยมเรียกกันจนติดปากว่า "สมเด็จ อรหัง"

พระสมเด็จอรหัง เนื้อส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อผงปูนขาว เนื้อพระจะแตกต่างกันบ้าง เช่น เป็นแบบเนื้อขาวออกหยาบมีเม็ดทราย แบบขาวละเอียดมีเม็ดทราย แบบเนื้อขาวละเอียด และมีแบบเนื้ออกสีแดงเรื่อๆ เนื้อนี้มักเป็นแบบเนื้อหยาบมีทราย พระสมเด็จอรหัง ส่วนใหญ่แจกที่วัดมหาธาตุฯ และพบบรรจุกรุในองค์พระเจดีย์ที่วัดมหาธาตุ พระที่พบที่วัดมหาธาตุเป็นพระเนื้อสีขาวที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังจาร ต่อมามีผู้พบพระแบบเดียวกันที่วัดสร้อยทองอีก ซึ่งพบบรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ แต่พระที่พบมักเป็นพระแบบเนื้อสีแดง และที่ด้านหลังมักเป็นแบบหลังโต๊ะกังเป็นส่วนใหญ่ มีพบเป็นแบบเนื้อขาวบ้างแต่น้อยมาก และพระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นมักเป็นพระเนื้อหยาบกว่าที่พบที่วัดมหาธาตุฯ มีบางท่านให้ข้อคิดเห็นว่า พระที่พบที่วัดสร้อยทองนั้นอาจจะเป็นพระที่สร้างขึ้นมาภายหลังก็อาจเป็นได้

พระสมเด็จอรหัง วัดมหาธาตุ ของท่าน สมเด็จพระสังฆราชสุก จะมีทั้งที่บรรจุกรุและไม่ได้บรรจุกรุ พระที่ไม่ได้บรรจุกรุบางองค์พบมีการลงรักไว้แต่เดิมก็มี เป็นพระสมเด็จอีกตระกูลหนึ่งที่ได้รับความนิยมมาแต่ในอดีต ปัจจุบันสนนราคาก็สูงพอสมควรอยู่ที่หลักแสนถึงหลายๆ แสนครับ แต่ก็หาพระแท้ๆ ยากเช่นกัน ในวันนี้ผมก็ได้นำรูปพระสมเด็จ อรหัง พิมพ์สังฆาฏิ มาให้ชมกันทั้งด้านหน้าและด้านหลังครับ พระสมเด็จอรหังพิมพ์เล็ก สังฆราชไก่เถื่อน ข่าวพระเครื่อง

ด้วยความจริงใจ แทน ท่าพระจันทร์
ที่มา...หนังสือพิมพ์ข่าวสด







แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล