ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์

พระพุทธสิหิงค์
ประวัติพระพุทธสิหิงค์

ประวัติพระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้เรียบเรียงไว้หลายท่าน
เรื่องตำนานหรือประวัติพระพุทธสิหิงค์ ได้มีท่านผู้เรียบเรียงไว้แล้วหลายท่าน เช่น พระโพธิรังสี ปราชญ์แห่งเมืองเชียงใหม่ ได้เขียนเป็นภาษามคธ ราว พ.ศ.๑๙๖๐ และบรรยายเรื่องราว จนมาถึง พ.ศ.๒๔๕๔ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยา ดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนิพนธ์ต่อจากพระโพธิรังสี มาจนถึงสมัย หลวงบริบาลบุรีภัณฑ์ ได้เรียบเรียงใหม่เป็นตำนานย่อ และกล่าวข้อวิจารณ์ในทางโบราณคดี

ส่วนที่ผู้เขียนได้นำกล่าวมานี้ได้อ้างถึง"ตำนานพระพุทธสิหิงค์" ของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ เขียนขึ้นเนื่องด้วยได้มีการรวบรวมข้อเท็จจริง ที่ท่านผู้รู้ทั้งหลายเหล่านั้นได้ค้นคว้าแล้วมาเรียบเรียงไว้ให้เป็นตำนาน ที่อ่านง่าย เพื่อความสะดวกและเข้าใจแก่ผู้ที่เลื่อมใสศรัทธาทั่วไป ...ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ พระพุทธรูปปางต่างๆ

พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่กษัตริย์ลังกาได้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.๗๐๐ ได้อัญเชิญเข้ามาสู่ประเทศสยาม ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฉะนั้น จึงต้องนับว่า พระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศสยามอย่างแท้จริง แต่ในเมืองไทย พระพุทธรูปที่ทรงพระนามว่าพระพุทธสิหิงค์นั้นมีอยู่ ๓ องค์ ๓ แห่ง คือ

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ ประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ ประดิษฐานในหอพระพุทธสิหิงค์ ข้างศาลากลาง จ.นครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๑ เป็นพระพุทธรูปปางนั่งขัดสมาธิสูง ๙๖ ซม. หน้าตักกว้าง ๖๖ ซม. หล่อด้วยสัมฤทธิ์ ปิดทองคำเปลว พระสรีระได้สัดส่วนและงดงามที่สุดจะหา พระพุทธโบราณในเมืองไทยที่งดงาม และได้สัดส่วนเทียมพระพุทธสิหิงค์องค์นี้มิได้เลย ตามตำนานกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ องค์นี้ศิลปะสุโขทัยประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ กรุงเทพมหานคร

พระพุทธสิหิงค์ เมืองนครศรีธรรมราช
พระพุทธสิหิงค์ เมืองนครศรีธรรมราช

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๒ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์ในกรุงเทพฯ และเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระพุทธรูปที่งดงามมาก องค์นี้ศิลปะเชียงแสน

พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร หล่อด้วยสัมฤทธิ์ปิดทองคำเปลว หนักตักกว้าง ๔๐ นิ้ว ศิลปะเชียงแสนรุ่นแรก ปัจจุบันประดิษฐานในวิหารลายคำ วัดพระสิงห์ จ.เชียงใหม่

พระพุทธสิหิงค์ องค์ที่ ๓ เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราช มีความสำคัญคู่กับพระพุทธสิหิงค์เมืองเชียงใหม่ และกรุงเทพมหานคร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร แบบขนมต้ม มีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน หล่อด้วยสัมฤทธ์ ปิดทอง หน้าตักกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว นับเป็นพระพุทธรูปสำคัญ คู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล ประดิษฐานอยู่ในบุษบกไม้ ณ หอพระ ระหว่างศาลกับศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช องค์นี้ศิลปะศรีวิชัย

พระพุทธสิหิงค์ทั้ง ๓ องค์ ๓ สมัย ๓ ภาค สร้างในสมัยเดียวกัน ผู้สร้างคือ มหากษัตริย์ลังกา ๓ พระองค์ ทรงสร้างเมื่อ พ.ศ.๗๐๐

ตำนานของพระโพธิรังสีกล่าวว่าพระพุทธสิหิงค์ เป็นพระพุทธรูปที่ เจ้าลังกา ๓ พระองค์ ได้ร่วมพระทัยกันพร้อมด้วยพระอรหันต์ใน เกาะลังกาสร้างขึ้นราว พ.ศ.๗๐๐ โดยหมายจะให้ได้พระพุทธรูปเหมือนองค์พระพุทธเจ้าจริงๆ ถึงกับตำนานกล่าวว่า พญานาคซึ่งเคยเห็นองค์พระพุทธเจ้ามาแปลงกายให้ดูเป็นตัวอย่าง

มาถึงสมัยพ่อขุนรามคำแหง (พ.ศ.๑๘๒๐-๑๘๖๐) มีพระภิกษุลังการ เข้าสู่ประเทศสยาม พ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทราบกิติศัพท์เลื่องชื่อ ว่าเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มีพุทธลักษณะที่งดงาม พ่อขุนรามคำแหง จึงทรงขอให้พระเจ้าศรีธรรมโศกราช แต่งทูตเชิญพระสาส์นไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากเจ้ากรุงลังกา

เนื่องด้วยว่าเป็นเมืองที่มีการติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ซึ่งก็ได้ตามพระราชประสงค์ อัญเชิญมาประดิษฐานที่นครศรีธรรมราช จัดงานพิธีสมโภชใหญ่โตเป็นเวลา ๗ วัน พระเจ้าศรีธรรมโศกราชได้ให้ช่างท้องถิ่นจำลองไว้บูชา ๑ องค์ โดยกล่าวไว้ว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับ พระพุทธสิหิงค์ถึงนครศรีธรรมราช ด้วยพระองค์เอง แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ กรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์กรุงสุโขทัยทุกพระองค์ได้ทรงเคารพบูชาพระพุทธสิหิงค์ตลอดมา

พระพุทธสิหิงค์ ปี 2517 ในหลวงเททอง
 พระบูชาพระพุทธสิหิงค์ ปี 2517 นครศรีธรรมราช ในหลวงเททอง

พระพุทธสิหิงค์ ที่ประดิษฐานอยู่ที่นครศรีธรรมราชนี้ มีลักษณะ ตามแบบสกุลช่างท้องถิ่น เรียกว่า แบบขนมต้ม คือมีพระพักตร์กลม อมยิ้ม พระอุระอวบอ้วน ประทับนั่งในท่าขัดสมาธิเพชร ชายสังฆาฏิสั้นระดับพระถัน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของ ชาวนครศรีธรรมราชเป็นพระพุทธรูปที่มีพระรูป และสัดส่วนที่งดงามมาก

ครั้งเมื่อได้ตั้งกรุงศรีอยุธยาขึ้น ทางสุโขทัยอ่อนกำลังลง สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ เจ้ากรุงศรีอยุธยา ได้สุโขทัยไว้ในอำนาจเมื่อปี พ.ศ.๑๙๒๐ พญาไสยลือไทย เจ้ากรุงสุโขทัย ถูกลดตำแหน่งเป็นเจ้าประเทศราช ลงมาครองพิษณุโลก จึงได้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ มาประดิษฐานไว้ที่พิษณุโลกด้วย เมื่อพระยาไสยลือไทย สิ้นพระชนม์ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ก็ทรงโปรดให้เชิญพระพุทธสิหิงค์โดยมาทางเรือลงมาไว้ที่กรุงศรีอยุธยา

เมื่อทางกรุงศรีอยุธยาได้กรุงสุโขทัยไว้ในอำนาจแล้ว ได้จัดแบ่งการปกครอง ออกเป็นสองมณฑลคือเมืองตาก, สวรรคโลก กับพิษณุโลก เป็นมณฑลสอง ให้เจ้านายในราชวงศ์พระร่วงปกครอง พระยาธิษฐิระ ผู้ครองกำแพงเพชรนั้นปรากฏว่า ราชบุตรเลี้ยงของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ปรารถนาจะได้พระพุทธสิหิงค์ไปประดิษฐานไว้เมืองกำแพงเพชร จึงให้มเหสีผู้เป็นมารดาตนขอพระพุทธรูปองค์หนึ่ง แล้วติดสินบนขุนพุทธบาลผู้รักษาพระ เลือกพระพุทธสิหิงค์ส่งไป

เรื่องมีต่อว่า ใน พ.ศ.๑๙๓๑ นี้เองมีพระภิกษุรูปหนึ่งในเมืองกำแพงเพชรปั้นรูปจำลองพระพุทธสิหิงค์ด้วยขี้ผึ้ง และนำพระพุทธรูปจำลองนี้ไปเชียงราย เมื่อเจ้ามหาพรหมผู้ครองนครเชียงรายได้เห็นจึงชวนเจ้ากือนา พี่ชายผู้ครองนครเชียงใหม่ยกกองทัพไปกำแพงเพชรและ ขู่ขอพระพุทธสิหิงค์ พระยาธิษฐิระต้องยอมยกพระพุทธสิหิงค์ให้ไป พระพุทธสิหิงค์จึงได้ไปประดิษฐานอยู่เชียงราย ในปี พ.ศ.๑๙๓๑

พอถึง พ.ศ.๑๙๕๐ เชียงใหม่กับเชียงรายเกิดรบกัน เชียงรายแพ้ เจ้าแสนเมืองมาเจ้านครเชียงใหม่ก็อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานอยู่เชียงใหม่ราว ๒๕๕ ปี เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตีเมืองเชียงใหม่ได้ใน พ.ศ.๒๒๐๕ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานไว้ ณ วัดพระศรีสรรเพชรกรุงศรีอยุธยา ครั้นเมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งที่ ๒ เชียงใหม่เป็นพวกพ้องพม่า จึงสามารถอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์กลับไปเชียงใหม่ได้เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๐

มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเชียงใหม่ได้รวมอยู่กับคนไทยแล้ว พม่ายกกองทัพมาล้อมเชียงใหม่ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระอนุชาธิราชกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ยกกองทัพไปขับไล่กองทัพพม่าพ้นเมืองเชียงใหม่ สมเด็จพระกรมพระราชวังบวรฯ จึงได้ทรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มากรุงเทพฯ (พ.ศ.๒๓๓๔) ประดิษฐานในพระที่นั่งพุทไธศวรรย์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานอยู่จนถึงปัจจุบัน โดยนัยนี้ นับว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปสำคัญคู่บ้านคู่เมืองของสยามประเทศ มาตั้งแต่ต้นประวัติกาล

ผู้แต่งตำนานคือพระโพธิรังสี ได้พรรณนาอานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ไว้เป็นอันมาก มีข้อที่น่าฟังตอนหนึ่งกล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์หามีชีวิตได้ก็จริง แต่มีอิทธานุภาพด้วยเหตุ ๓ ประการ คือ อธิษฐานพละของพระอรหันต์ อธิษฐานพละของเจ้าลังกาหลายพระองค์ และศาสนพละของพระพุทธเจ้า" ซึ่งหมายความว่ากำลังใจของพระอรหันต์ และกำลังใจของเจ้าลังกาพร้อมทั้งกำลังแห่งพระพุทธศาสนา กระทำให้พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ทรงอานุภาพ

อีกตอนหนึ่งพระโพธิรังสี กล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์เมื่อประทับอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งดวงประทีปชัชวาล เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่"

ในส่วนของพลตรีหลวงวิจิตรวาทการ ผู้ซึ่งได้รวบรวมตำนาน พระพุทธสิหิงค์เองมีความเชื่อมั่นในอานุภาพ ของพระพุทธสิหิงค์อยู่มาก "อย่างน้อยก็สามารถบำบัดทุกข์ร้อนในใจให้เหือดหาย ผู้ใดมีความทุกข์ร้อนในใจท้อถอยหมดมานะด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ถ้าได้มาจุดธูปเทียนบูชาและนั่งนิ่งๆ มองดูพระองค์สัก ๑๐ นาที ความทุกข์ร้อนในใจจะหายไป ดวงจิตที่เหี่ยวแห้งจะกลับมาสดชื่น หัวใจที่ท้อถอยหมดมานะจะกลับเข้มแข็งมีความมานะพยายาม ดวงจิตที่หวาดกลัวจะกลับกล้าหาญ ดวงจิตที่เกียจคร้านจะกลับขยัน ผู้ที่หมดหวังจะกลับมีความหวัง"

คุณานุภาพของพระพุทธสิหิงค์ดังกล่าวมานี้ กระทำให้ท่านเชื่อเหตุผลของ พระโพธิรังสีว่าอธิษฐานพละ คือกำลังใจของพระอรหันต์ และเจ้าลังกาผู้สร้างพระพุทธสิหิงค์ได้เข้าไปอยู่ในองค์พระพุทธสิ หิงค์พร้อมทั้งศาสนพละของพระพุทธเจ้า และข้อที่พระโพธิรังสีกล่าวว่า "พระพุทธสิหิงค์ประทับอยู่ใดก็เหมือนพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ ที่นั้น"

ข้อนี้ก็สมจริง ใครที่ได้เห็น พระพุทธเจ้าแม้แต่ยังมิได้ฟังธรรมเทศนาเลย ก็มีความสบายใจในทันทีที่ได้เห็นผู้ใดที่ได้เห็น พระพุทธสิหิงค์ย่อมได้รับผลอย่างเดียวกัน พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เคารพสักการะบูชาของ องค์พระมหากษัตริย์ ของประชาชนชาวสยามมาเป็นเวลาช้านาน จึงกล่าวได้ว่าพระพุทธสิหิงค์เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของสยามประเทศเลยทีเดียว
ที่มา...พระเครื่องคมชัดลึก
 




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (88379)
ไหนๆ เรื่องมันก็ผ่านมานานมากแล้ว ก็ขอพูดนิดนึงนะครับ ในฐานะผมเป็นชาวนครศรีธณรมราช ไม่ทราบว่าข้อเท็จจริงนั้นเป็นอย่างไร แต่ที่ผมถูกสอนมาจากนครศรีธณรมราช คือ เจ้าเมืองนครไปอัญเชิญมาจาก ลังกา แต่เรื่องได้รู้ถึงเจ้าเมืองทางภาคกลาง เขาอยากได้ไปสักการะเอง ทางเจ้าเมืองนครจึงออกอุบายว่าขอสร้างองค์จำลองไว้บูชาสักหนึ่ง สร้างเสร็จเจ้าเมืองนครก็เอาองค์จำลองนั่นแหละส่งให้ทางเจ้าเมืองทางภาคกลาง...เพราะของดีใครเขาจะให้กันง่าย ๆ ละใช่ไหมครับ...แต่จริงเท็จอย่างไรผมก็ไม่ทราบนะครับ ^_^
ผู้แสดงความคิดเห็น คนคอน วันที่ตอบ 2009-09-15 14:31:06


ความคิดเห็นที่ 2 (88381)
ไม่มีการจัดเรียงข้อมูลที่ถูกระเบียบเอาเรื่องมาปนกันไปทั่วอยากให้ผู้จัดทำเรียบเรียงใหม่ด้วย
ผู้แสดงความคิดเห็น คนลำปาง วันที่ตอบ 2009-09-15 17:01:19


ความคิดเห็นที่ 3 (106781)
พระที่เราอยากได้ที่สุด
ผู้แสดงความคิดเห็น คนประจวบ วันที่ตอบ 2010-03-21 19:20:06


ความคิดเห็นที่ 4 (135121)

ใช่ๆ จัดไม่ถูกระเบียบเลย อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่นะ - -

ผู้แสดงความคิดเห็น ฝ้าย วันที่ตอบ 2010-08-10 07:41:39


ความคิดเห็นที่ 5 (147383)

พระพุทธสิหิงค์มีอายุเท่าใหร่ครับ

 

 

ผู้แสดงความคิดเห็น ซัมซุง วันที่ตอบ 2011-03-20 23:10:11


ความคิดเห็นที่ 6 (150544)
ได้ความรู้มากเลยครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น ดีมากลครับ วันที่ตอบ 2012-01-04 09:55:58


ความคิดเห็นที่ 7 (153113)

 ที่วัดบ้านผมก็มีครับ วัดโคกยาง อ เหนือคลอง  จ  กระบี่  เข้ามาเยี่ยมชมกันได้ครับ ไม่มีไนประวัติ เข้ามาสการะบูชากันได้นะครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น อธิพงษ์ วันที่ตอบ 2014-08-02 15:59:38


ความคิดเห็นที่ 8 (153544)

 ที่วัดอินทคีรี อำเภอ พรหมคีรี จ.นครศรีธรรมราชก็มีครับ ชาวบ้านแถวนั้นเขาบอกว่าของแท้เหมือนกันครับ ช่วยให้ผู้รู้ไปพิสูทร์หน่อยครับ

ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กข้างวัด วันที่ตอบ 2014-09-26 01:17:33


ความคิดเห็นที่ 9 (156773)

 ในเมื่อกล่าวว่า  พระพุทธสิงหิงค์  สร้างที่ลังกา   แล้วทำไม ทั้ง 3 องค์ที่พบในประเทศไทย  จึงมีศิลปะแบบท้องถิ่น  ที่ กรุงเทพเป็นศิลปะสุโขทัย  ที่เชียงใหม่เป็นศิลปะเชียงแสน  ที่นครศรีธรรมราชเป็นศิลปะแบบศรีวิชัย   ในเมื่อสร้างที่ลังกาทำไมไม่พบศิลปะแบบลังกา       แต่กลับพบเป็นศิลปะท้องถิ่นทั้งหมด  แต่หากจะพิจารณาแล้ว  ศิลปะศรีวิชัย กับลังกานั้นใกล้เคียงกันที่สุด เพราะติดต่อค้าขายแลกเปลี่ยนกันตลอด  แต่ฉะนั้นก็ตามในนครศรีธรรมราชและหลายจังหวัดในภาคใต้  ที่เป็นดินแดนของอาณาจักรนครศรีธรรมราชเดิมนั้นก็มีพระพุทธสิงหิงค์ที่เล่าลือว่าเป็นองค์จริงอยู่หลายแห่ง  หากต้องการตรวจสอบว่าองค์ไหนเป็นองค์จริงจากลังกา  ก็ต้องพิสูจน์ว่าเป็นศิลปะจากที่ไหน แลมีอายุการสร้างเท่าใด  แต่ทั้งนี้ไม่ว่าองค์ไหนจะสร้างก่อนหรือหลังไม่ได้มีความสำคัญเท่ากับศัทธาที่ชาวพุทธมีให้หรอกครับ  แต่ที่อยากทราบเพราะต้องการรู้ประวัติศาสตร์ที่แท้จริงมากกว่าตำนานที่เล่าลือกัน  

ผู้แสดงความคิดเห็น หนึ่ง วันที่ตอบ 2015-09-29 12:20:32


ความคิดเห็นที่ 10 (159357)

 องค์ที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรค์เป็นองค์จริงที่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทอัญเชิญมาไว้ที่พราะที่นั่งพุทธไธสวรรค์ค่ะ ส่วนองค์จำลองที่วัดพระสิงค์และที่วัดมหาธาตุนครศรีธรรมราชก็เป็นองค์จำลองวิทยากรที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติบอกที่ใต้ฐานองค์จำลองจะเขียนชื่อ"พระพุทธสิหิงค์"เอาไว้

 

ผู้แสดงความคิดเห็น อรทิพย์ เทสสิริ วันที่ตอบ 2016-07-10 16:06:14


ความคิดเห็นที่ 11 (175415)

 "พระพุทธสิหิงค์เมื่อประทับอยู่ ณ ที่ใด ย่อมทรงทำให้พระพุทธศาสนารุ่งเรืองดั่งดวงประทีปชัชวาล เหมือนหนึ่งว่าพระพุทธเจ้ายังทรงพระชนม์ชีพอยู่"

 

ผู้แสดงความคิดเห็น Bird วันที่ตอบ 2018-03-12 03:10:27



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล