ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์

หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน

หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสนรุ่นแรก ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารของวัดท่าถนน ตลาดบางโพ อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ วัดท่าถนนเดิมชื่อวัดวังเตาหม้อ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

ประวัติหลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย สมัยเชียงแสนรุ่นแรก หลวงพ่อเพชร ประดิษฐานในพระวิหารของวัดท่าถนน ประวัติหลวงพ่อเพชร กล่าวว่า ปี พ.ศ.2436
 หลวงพ่อด้วง เจ้าอาวาสวัดหนองไม้ อำเภอหนองโพ ซึ่งเป็นอำเภอเมืองปัจจุบัน จังหวัดอุตรดิตถ์ ได้เดินทางผ่านวัดร้างแห่งหนึ่งเป็นวัดโบราณ พบจอมปลวกขนาดใหญ่แห่งหนึ่งรูปร่างรูปแหลมผิดกลับจอมปลวกทั่วไป จึงได้เอาไม้เคาะปลายแหลมที่เป็นยอดของจอมปลวกนั้นจนดินหลุดออก เห็นเกศพระพุทธรูปโผล่ออกมา หลวงพ่อด้วงจึงสั่งให้พระและลูกศิษย์วัดที่ร่วมเดินทางไปด้วยช่วยกันขุดดิน จอมปลวกออก ก็พบพระพุทธรูปขนาดค่อนข้างใหญ่ ฝังอยู่ในจอมปลวกแห่งนั้น จึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นั้นไปไว้ที่วัดหนอนไม้

ต่อมาหลวงพ่อด้วงเห็นว่า วัดหนอนไม้ไม่มีพระอุโบสถที่จะประดิษฐานพระพุทธรูปได้อย่างเหมาะสม ประกอบกับมีประชาชนที่ทราบข่าวพระพุทธรูปองค์นี้ ได้มากราบไหว้บูชาสักการะเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้น ยังอาจมีปัญหาเรื่องโจรผู้ร้าย จึงพิจารณาเห็นว่า หากเชิญพระพุทธรูปองค์นี้ไปประดิษฐานที่วัดวังเตาหม้อ (คือวัดท่าถนนในปัจจุบัน) ซึ่งมีหลวงพ่อเพชรเป็นเจ้าอาวาสอยู่ วัดแห่งนี้มีพระอุโบสถ และตั้งอยู่ในที่ชุมนุมชน สะดวกแก่การไปนมัสการของประชาชน ท่านจึงได้อัญเชิญพระพุทธรูปไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อ ประกอบกับเป็นพระพุทธรูปประทับ(นั่ง)ขัดสมาธิเพชร คนทั่วไปจึงเรียกกันว่า " หลวงพ่อเพชร "

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2443 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร ได้มีการรวบรวมพระพุทธรูปที่เก่าแก่และสวยงาม ที่อยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ มาประดิษฐานไว้ที่วัดเหล่านี้ พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร มีพุทธลักษณะงาม ก็ได้รับเลือกสรรให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดเบญจมบพิตร พร้อมกับพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ จากทั่วราชอาณาจักร การที่ต้องนำหลวงพ่อเพชรไปจากวัดลังเต้าหม้อทำให้เจ้าอาวาสเสียใจมาก จึงได้ออกจากวัดธุดงค์ไปในที่ต่าง ๆ สุดท้ายได้มรณภาพบนภูเขาในป่า บ้านนาตารอด ตำบลบ้านด่าน อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์

ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2453 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้โปรดเกล้า ฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร กลับคืนไปประดิษฐานไว้ที่วัดวังเตาหม้อตามคำขอของชาวเมืองอุตรดิตถ์ เมื่อปี พ.ศ. 2473 พระครูธรรมกิจจาภิบาล ร่วมกับประชาชนชาวเมืองอุตรดิตถ์ได้ช่วยกันสร้างพระวิหารขึ้นใหม่ และอัญเชิญพระพุทธรูปหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ในพระวิหาร เพื่อให้ประชาชนได้เข้ามาสักการะบูชาได้สะดวก

พระพุทธรูปหลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก ที่เรียกกันว่าพระพุทธรูปเชียงแสนสิงห์หนึ่ง หล่อด้วยทองสำริดพระพุทธรูปปาง ปางมารวิชัย ชายสังฆาฎิสั้น ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร หน้าตักกว้าง 32 นิ้ว สูง 41 นิ้ว มีพุทธลักษณะงามมาก หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน ชาวอุตรดิตถ์ถือเป็นพระพุทธรูปสำคัญประจำเมือง มีงานนมัสการประจำปีในวันกลางเดือนสี่ของทุกปี
ภาพ/ข้อมูล : ธรรมะไทย
ภาพ/ข้อมูล : หอมรดกไทย




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (89011)
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร ประวัติหลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง เป็นพระพุทธรูปมีพระพุทธลักษณะที่งดงามและทรงพุทธานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์องค์หนึ่งของประเทศไทย ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ในพระอุโบสถ วัดท่าหลวง(พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง นอกจากจะเป็นพระพุทธรูปที่สวยงามทรงรูปศิลป์แล้วพระพุทธลักษณะองค์หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรก หล่อด้วยโลหะสำริด ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ซ้ายสังฆาฎิสั้นเหนือพระอุระ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๖ นิ้ว สูง ๓ ศอก ๓ นิ้ว ที่ที่ประทับนั่งนบฐานที่มีรูปบัวคว่ำบัวหงายรอบรับ สร้างในระหว่างปีพุทธศักราช ๑๖๖๐ ถึง ๑๘๘๐ สร้างมาแล้วประมาณ ๘๘๒ ปี หลวงพ่อเพชรยังเป็นพระพุทธรูปทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์ ด้วยกิตติศัพท์นานัปประการเมื่อใครได้ไปเที่ยวเมืองพิจิตรจะต้องไปนมัสการหลวงพ่อเพชร เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ที่ว่าหลวงพ่อเพชรทรงอานุภาพอันศักดิ์สิทธิ์นั้น เนื่องจากมีประชาชนที่นับถืออย่างมาก เมื่อใครมีเรื่องเดือดร้อน เช่น ของหาย หรือมีความทุกข์ยากที่จะบนบานศาลกล่าวขออำนาจ"หลวงพ่อเพชร"ให้ช่วยปกป้องรักษา หรือปัดเป่าความทุกข์ยากให้หมดไป เดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ก็จะช่วยทุกรายเมื่อผู้นั้นพ้นทุกข์ก็จะนำหัวหมู เป็ด ไก่ ขนม ไปถวายแด่"หลวงพ่อเพชร"ที่พระอุโบสถกลิ่นธูปและควันเทียนจะไม่ขาดระยะ ชาวพิจิตรทุกผู้ทุกนาม ต่างให้ความเคารพนับถืออย่างสูงต่อพระองค์หลวงพ่อเพชร ทั้งยังเป็นมิ่งขวัญศูนย์รวมใจของชาวพิจิตร พลังแห่งความนัยถือ พุทธานุภาพของหลวงพ่อเพชรจะไม่จางหายไปจากหัวใจของชาวพุทธ ประวัติการสร้าง หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง ยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชัดแน่นอน เพียงแต่มีตำนานเล่าขานกันสืบมาตั้งแต่ครั้งบรรพกาลว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เกิดขบถจอมทองเมืองเชียงใหม่ กองทัพกรุงศรีอยุธยาจึงได้ไปปราบปรามจองทอง เมื่อเดินทัพมาถึงเมืองพิจิตร แม่ทัพก็ได้สั่งให้หยุดพักรี้พลที่เมืองพิจิตร ซึ่งทางเจ้าเมืองพิจิตรก็ได้ให้การต้อนรับปฏิสันถารเป็นอย่างดี ซึ่งสร้างความประทับใจให้แก่กองทัพเป็นอย่างยิ่ง เมื่อกองทัพกรุงศรีอยุธยาหายเหนื่อยแล้ว จึงออกเดินทางจากเมืองพิจิตร แต่ก่อนที่จะจากกันเจ้าเมืองพิจิตรได้ไปปรารภกับแม่ทัพว่า ถ้าปราบขบถเสร็จเรียบร้อยดีแล้วขอให้หา พระพุทธรูปงาม ๆ มาฝากสักองค์หนึ่ง ฝ่ายทางแม่ทัพเห็นว่าเรื่องนี้ไม่ยุ่งยากนัก จึงรับปากว่าจะหามาให้ตามความต้องการ หลังจากนั้นก็มุ่งสู่จอมทอง เมื่อไปถึงได้ปราบขบถจอมทองจนราบคาบ ก่อนเดินทางกลับกรุงศรีอยุธยาก็นึกถึงคำร้องของเจ้าเมืองพิจิตร จึงอัญเชิญหลวงพ่อเพชรจากจอมทองมาด้วย โดยประดิษฐานบนแพลูกบวบล่องมาตามลำน้ำแม่ปิง เมื่อมาถึงเมืองกำแพงเพชรก้ได้ฝากหลวงพ่อเพชรไว้กับเจ้าเมืองกำแพงเพชร ต่อมาเมื่อเจ้าเมืองพิจิตรทราบข่าวจึงพร้อมด้วยชาวเมืองพิจิตรเป็นจำนวนมาก ได้อัญเชิญองค์หลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ ที่วัดนครชุม (เมืองพิจิตรเก่า) ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรซึ่งนำความชื่นชมโสมนัสมาสู่ชาวพิจิตรเป็นอย่างมาก จนกระทั่งถึงปีพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕มีพระราชประสงค์จะหาพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามเพื่อนำไปไว้ที่วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร เจ้าพระศรีสุริยศักดิ์ สหมุเทศาภิบาล มณฑลพิษณุโลก จึงได้สั่งให้หระยาเทพาธิบดี (อิ่ม) เจ้าเมืองพิจิตร ขณะนั้นแสวงหาพระพุทธรูปที่สวยงามตามพระราชประสงค์ เมื่อได้รับคำสั่งดังนั้นพระยาเทพาธิบดีจึงออกตรวจดูพระพุทธรูปทั่ว ๆ ไปในเมืองพิจิตร ก็พบว่าองค์หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามตามพระราชประสงค์ และเพื่อสะดวกในการขนย้าย จึงได้จ้างชาวณวนคนหนึ่งชื่ออาง ทำการทะล่วงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรการทะลวงหุ่นดินนั้นก็เพื่อต้องการให้น้ำหนักเบา แล้วนำขึ้นเกวียนมาลงเรือชะล่า มีปรำลากจูงด้วยเรือพาย และเมื่อมาถึงเมืองพิษณุโลกก็เทียบท่าอยู่หน้าวัดพระศรีมหาธาตุหลังจากนั้นเจ้าเมืองพิจิตร พระยาเทพาธิบดี ก็ได้ไปกราบเรียนสมุหเทศาภิบาลว่า ได้นำองค์หลวงพ่อเพชรมาถึงเมืองพิษณุโลกแล้ว และกราบเรียนต่อไปว่า การนำหลวงพ่อเพชรมาครั้งนี้ชาวเมืองพิจิตรทุกคนมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอันมาก เพราะเสียดายในองค์หลวงพ่อเพชรในฐานะที่เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่เดิม เมื่อได้ทราบดังนั้น สมุหเทศาภิบาลจึงได้โปรดทราบตรวจดูพระพุทธรูปก็เห็นว่างดงานจริง ๆ ดังคำบอกเล่าของเจ้าเมืองพิจิตร แต่มีขนาดองค์ใหญ่โตเกินไป อีกประการหนึ่งก็เห็นว่าเป็นการทำลายจิตใจของชาวเมืองพิจิตรจึงได้สั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำกลับไปไว้ที่เมืองพิจิตรตามเดิมการนำเอาหลวงพ่อเพชรกลับมายังเมืองพิจิตรคราวนี้นั้น ไม่ได้นำไปไว้ที่อุโบสถที่วัดนครชุมเหมือนเดิม แต่นำมาไว้ที่วัดท่าหลวง โดยทำปรำคลุมไว้เป็นการชั่วคราว เมื่อประชาชนรู้ข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรกลับมาที่เมืองพิจิตรต่างก็พากันมาปิดทองนมัสการอยู่ที่วัดท่าหลวง จึงได้ปรึกษาหารือกันจะแห่แหนหลวงพ่อเพชรกับไปวัดนครชุมอย่างเดิมส่วนราษฎรทางเมืองใหม่เห็นว่า เมืองพิจิตรได้ย้ายมาตั้งใหม่แล้ว หลวงพ่อเพชรก็ควรจะอยู่เป็นมิ่งขวัญของชาวเมืองใหม่ด้วย จึงไม่ยินยอมให้ชาวเมืองเก่านำกลับไปวัดนครชุมเหตุการณ์ตอนนี้มีผู้เล่าขานว่า ขนาดเกิดการยื้อแย่งกัน และถึงขั้นการเตรียมอาวุธเข้าประหัตประหารกัน เดือดร้อนถึงพระธรรมทัสสีมุนีวงศ์ (เอี่ยม) เจ้าคณะจังหวัดพิจิตรในขณะนั้น ต้องออกห้ามทัพด้วยเดชะบารมีขององค์หลวงพ่อเพชร ประกอบกับชาวเมืองพิจิตรเคารพนับถือท่านมาก ศึกครั้งนั้นจึงยุติลง และได้ชี้แจงว่าจะหล่อหลวงพ่อเพชรจำลองเท่ากับขนาดองค์จริงเพื่อนำกลับไปให้ชาวเมืองเก่าแทนองค์หลวงพ่อเพชรองค์จริง ส่วนหลวงพ่อเพชรองค์จริงนั้นขอให้ประดิษฐานไว้ที่วัดท่าหลวงซึ่งท่านเป็นเจ้าโอวาสอยู่ และถ้าชาวเมืองเก่าจะมานมัสการก็ไม่ไกลเกินไปนัก ชาวเมืองพิจิตรก็เชื่อฟังแต่โดยดีไม่มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้น หลวงพ่อเพชร จึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวงตราบเท่าทุกวันนี้อีกเหตุกรณ์หนึ่งที่หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวงได้ประดิษฐานที่วัดท่าหลวงนั้น มีคนเล่าสืบต่อกันมาว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะอัญเชิญพระพุทธชินราชจากวัดศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร ซึ่งพระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ พระองค์จึงมีพระกระแสรับสั่งให้สืบหาพระพุทธรูปที่มีลักษณะที่งดงามสมควรที่จะนำไปแทนพระพุทธชินราชได้ จึงมีคำสั่งให้เจ้าเมืองพิจิตรนำองค์หลวงพ่อเพชรไปยังเมืองพิษณุโลก ข่าวการที่ราชการจะนำ องค์"หลวงพ่อเพชร"ไปล่วงรู้ไปถึงประชาชน ต่างพากันเสียดายและหวงแหนองค์หลวงพ่อเพชรเป็นอันมาก จึงได้คบคิดกับนายอาง ซึ่งเป็นชาวญวนจัดการทะลวงหุ่นดินภายในองค์หลวงพ่อเพชรออก เพื่อให้น้ำหนักเบาสะดวกในการขนย้าย เมื่อจัดการทะลวงหุ่นดินออกแล้วก็ช่วยกันย้ายองค์หลวงพ่อเพชรไปซ่อนไว้ในป่า และเคลื่อนย้ายไปเรื่อย ๆ มิได้หยุดหย่อนข่าวการนำองค์หลวงพ่อเพชรเคลื่อนย้าย หาได้พ้นการติดตามและค้นหาของเจ้าหน้าที่ทางบ้านเมือง ผลที่สุดก็ใช้อำนาจบังคับให้นำองค์ หลวงพ่อเพชร มาจากเมืองเก่า และได้นำมาพักไว้ชั่วคราวที่วัดท่าหลวง เพื่อรอการนำไปยังเมืองพิษณุโลกชาวเมืองพิษณุโลกก็เช่นเดียวกันกับชาวเมืองพิจิตร เมื่อทางราชการจะนำองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราชไปจากพวกเขา ต่างก็พากันหวงแหนโศกเศร้าเสียใจ ร้องให้กันทั่งเมือง เป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก ทานเจ้าคุณสมุหเทศาภิบาล จึงไดนำความเรื่องนี้ขึ้นกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อพระองค์ทรงทราบก็เห็นใจชาวเมืองพิษณุโลก จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้ระงับการนำพระพุทธชินราชไปกรุงเทพฯ โดยจะหล่อพระพุทธชินราชจำลองประดิษฐานในพระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรแทน เมื่อหลวงพ่อพุทธชินราชไม่ได้เคลื่อนย้ายไปกรุงเทพฯ หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวงจึงประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวง อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร จนกระทั่งปัจจุบันนี้
ผู้แสดงความคิดเห็น ไม่ประสงจะลงนาม วันที่ตอบ 2009-11-27 17:16:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล