ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๕) โดย อ.เล็ก พลูโต article

จากศิลาจารึกทั้งสอง ไม่ว่าพระเจ้ากรุงศรีวิชัย หรือ พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช น่าจะเป็นองค์เดียวกัน เพราะได้กล่าวสรรเสริญพระราชาธิราชพระองค์นี้ ว่า “มีความงามอันเป็นเสน่ห์ ประดุจดังดวงจันทร์” เหมือนกัน มีพระบรมเดชานุภาพ ประดุจพระอาทิตย์ และพระจันทร์ เหมือนกัน”

ต่างกันที่ ศิลาจารึก หลักที่ ๒๓ กล่าวว่า พระองค์ทรงสืบเชิ้อสายมาจากราชวงศ์ “ไศเลนทร” ส่วนศิลาจารึก หลักที่ ๒๔ กล่าวว่า พระองค์ทรงสืบเชื้อสายมาจาก พระราชวงศ์ “ปทุมวงศ์” หรือ “ปัทมวงศ์”

เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ก็เกิดคำถามขึ้นมาทันใดว่า เมื่อขัดแย้งกันอย่างนี้แล้ว เป็นอันว่า พระราชาธิราชที่กล่าวไว้ในศิลาจารึกทั้งสอง และเชื่อว่าเป็นองค์เดียวกันนี้ สืบเชื้อสายมาจากราชวงศ์ใดกันแน่ เพราะชื่อของราชวงศ์นั้น แตกต่างกันเหลือเกิน ทั้งสองชื่อไม่น่าจะเป็นราชวงศ์เดียวกันเป็นแน่

มาถึงตรงนี้ ก็ขอให้ความกระจ่าง เกี่ยวกับราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยกันก่อน ว่าปฐมกษัตริย์ต้นราชวงศ์  ที่ปกครองอาณาจักรศรีวิชัยนั้น คือใคร เป็นปฐมบรมกษัตริย์ต้นราชวงศ์ใด

จากข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี เชื่อแน่ว่า ราชวงศ์ที่ปกครองอาณาจักรศรีวิชัย ในช่วงระยะเวลา ๔๐๐ ปีแรกของการสถาปนาอาณาจักร คือ ราชวงศ์ไศเลนทร ที่ปรากฎทั้งในตำนาน ที่เล่าต่อกันมา ที่เรียกว่า “มุขปาฐะ” และ มีการบันทึกเอาไว้ในศิลาจารึก

และตำนานที่ว่านี้ ขอเน้นให้ทราบกันชัด ๆ ว่า เป็นตำนานที่เกี่ยวข้องกับ อาณาจักรศรีวิชัยในดินแดนสยาม และอาจจะครอบคลุมไปถึงพื้นที่ติดต่อกันไปจนจรดทะเล ที่เรียกว่า แหลมมาลายู เท่านั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องไปถึงดินแดนที่ไกลออกไป คือ หมู่เกาะชวา เป็นร้อย ๆ เกาะ เพราะศูนย์อำนาจการควบคุมในบางช่วงไม่อาจครอบคลุมไปถึง หมู่เกาะเหล่านั้นจึงมีผู้นำปกครองกันเอง โดยที่อาณาจักรศรีวิชัยนั้น มีรัฐที่อยู่ในความปกครองดูแล หรือ เจริญสัมพันธไมตรีในด้านการเมือง เศรษฐกิจการค้า กระจัดกระจายกันออกไป ถึง ๑๕ รัฐ มีศูนย์กลางอำนาจเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ อันเป็นการปกครองในรูปแบบ สมาพันธรัฐ หรือ สหพันธรัฐ มากกว่าอาณาจักร ดังได้กล่าวไว้แล้ว

สรุปความตามที่เล่ามา  นครตามพรลิงค์  (อ่านว่า ตาม – พระ- ลิง) ซึ่งต่อมาคือ กรุงศรีธรรมโศก หรือ เมือง ๑๒ นักษัตร์ และมาเป็น ศิริธรรมราชนคร ในสมัยสุโขทัย หรือ ปัจจุบันก็คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช มีประวัติความเป็นมา แบ่งออกเป็น ๒ ยุค คือ

๑. ยุคก่อนที่จะมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เรื่องราวต่าง ๆ ที่สืบทราบกันมา จะเป็นคำบอกเล่าจากปากต่อปาก (มุขปาฐะ) จากรุ่นสู่รุ่น

๒. ยุคที่มีการจดบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร มีเอกสารหนังสืออ้างอิง ซึ่งมีปรากฏย้อนหลังไปถึงปี พ.ศ. ๑๖๐๐

ตำนานเมืองนครศรีธรรมราช แบ่งออกเป็น ๒ ฉบับ คือ ฉบับฝ่ายวัง กับ ฉบับฝ่ายวัด ซึ่งทั้ง ๒ ฉบับนี้ มีชื่อตำนาน และเป้าหมายต่างกัน หากเนื้อหารายละเอียดปะปนใกล้เคียงกัน

เมืองนครศรีธรรมราชในยุคแรก มีชื่อเรียกว่า เมืองตามพรลิงค์ ซึ่งแปลว่า เมืองที่นับถือลัทธิพราหมณ์ฮินดูเป็นหลัก ซึ่งคงเริ่มเกิดขึ้นภายหลังพุทธศตวรรษที่ ๕ – ๖ ในยุคแรกที่ชาวอินเดีย เข้ามาในดินแดนแถบนี้ไม่นานนัก

เมืองตามพรลิงค์ยุคแรก ตั้งขึ้นที่บ้านท่าเรือ มีคลองท่าเรือเป็นสายน้ำกว้าง เรือใบเดินทะเลสามารถแล่นเข้ามาจอดได้ถึงที่ตั้งของเมืองอย่างสะดวก  จึงเรียกกันเป็นที่รู้จักว่า เมืองท่าเรือ เป็นเมืองที่มีลักษณะเป็นเมืองท่าสำคัญ มีตลาดทางการค้าจากนานาชาติ และไม่มีป้อมประตูเมือง หรือ กำแพงรายล้อมนคร นับเป็นเมืองยุคแรกเริ่ม ที่ไม่มีสงครามใหญ่กับเพื่อนบ้าน และเป็นศูนย์กลางทางการเดินเรือในแถบภูมิภาคนี้ ทั้งควบคุมเมืองท่าสองฝั่งทะเล

ต่อมาเมื่อ อาณาจักรทะเลใต้ หรือ แคว้นศรีวิชัย บนเกาะสุมาตราเจริญขึ้น  ได้แผ่อำนาจทางเรือ มาทางแหลมมลายูตอนบน ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๕ เมืองท่าเรือป้องกันตัวเองไม่ได้ แคว้นตามพรลิงค์จึงต้องย้ายที่ตั้งเมือง เลื่อนขึ้นไปทางเหนือ แต่ยังยึดมั่นบนสันทรายเดิม มีชื่อใหม่ว่า เมืองพระเวียง และได้สร้างป้อม คู ประตูเมือง กำแพงพระนคร ไว้อย่างมั่นคงแข็งแรง จนพวกศรีวิชัยยึดเอาเมืองได้ยาก การสู้รบขับเคี่ยวของชาวศรีวิชัย กับ ตามพรลิงค์ มีมาโดยตลอด และเมืองพระเวียง ได้อยู่เป็นเอกราชมาจนถึงพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ครั้งอิทธิพลทางศาสนาของลัทธิลังกาวงศ์ แผ่ขยายเข้ามาในดินแดนนี้ ทั้งได้รับความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างมาก จึงมีการขยาย และตั้งเมืองขึ้นมาใหม่ ให้มีขนาดใหญ่โตกว้างขวางกว่าเดิม แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า ศิริธรรมราชนคร หรือ นครศรีธรรมราช จวบจนถึงปัจจุบันนี้

เมื่อครั้งขยายเมือง ได้มีการสร้างพระบรมธาตุเจดีย์ และวัดมหาธาตุ เป็นวัดประจำเมือง อันถือเป็นยุคที่เมืองตามพรลิงค์ เจริญรุ่งเรืองสูงสุด ทั้งแผ่ขยายราชอาณาจักรไปตลอดแหลมมลายู

ความเจริญรุ่งเรืองของนครศรีธรรมราช  มีอำนาจสูงสุดในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ – ๑๘ ได้ขยายอาณาเขต ขับไล่ชาวแคว้นศรีวิชัยถอยร่นลงไป ทั้งจัดตั้งเมืองขึ้นเป็น ๑๒ เมือง หรือ เมือง ๑๒ นักษัตร์ ให้เป็นเมืองบริวาร คอยปกป้องเขตแคว้น และ เป็นแหล่งรายได้จากภาษี รวมถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทำให้นครศรีธรรมราชมั่งคั่ง เจริญรุ่งเรืองที่สุดในคาบสมุทรนี้ จนมีการทำตราประจำเมืองนครศรีธรรมราช เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ อันถือเป็นศูนย์กลาง เปล่งรัศมี และมีเมือง ๑๒ นักษัตร์ล้อมรอบ ตามสัญลักษณ์ของจักรราศี ซึ่งมีความหมาย ดังนี้

๑.       เมืองสายบุรี ปีชวด ถือ ตราหนู

๒.     เมืองปัตตานี ปีฉลู ถือ ตราวัว

๓.      เมืองกะลันตัน ปีขาล ถือ ตราเสือ

๔.      เมืองปะหัง ปีเถาะ ถือ ตรากระต่าย

๕.      เมืองไทรบุรี ปีมะโรง ถือ ตรางูใหญ่

๖.       เมืองพัทลุง ปีมะเส็ง ถือ ตรางูเล็ก

๗.      เมืองตรัง ปีมะเมีย ถือ ตราม้า

๘.      เมืองชุมพร ปีมะแม ถือ ตราแพะ

๙.       เมืองไชย (เมืองบันไทยสมอ) ปีวอก ถือ ตราลิง

๑๐.   เมืองท่าทอง (เมืองสะอุเลา) ปีระกา ถือ ตราไก่

๑๑.   เมืองตะกั่วป่า – ถลาง ปีจอ ถือ ตราสุนัข

๑๒.เมืองกระบุรี ปีกุน ถือ ตราสุกร

ส่วนรูปพระบรมธาตุเจดีย์  มีรัศมีเปล่งแสงประกายนั้น หมายถึง แคว้นนครศรีธรรมราช อันมี พระเจ้าศรีธรรมโศกราช เป็นเจ้าผู้ครองนคร  ได้ทรงสถาปนาพระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อันเป็นสิ่งสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง ไว้ให้เป็นเสมือนศูนย์กลาง ศูนย์รวมแห่งความศรัทธา เพื่อให้เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพสักการะแก่ชาวเมืองทั้งปวง

พระอาทิตย์รัศมี มีความหมายถึง พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า จะสุกสว่างรุ่งเรืองเจิดจ้า เป็นแสงส่องนำทางชีวิตแก่มวลมนุษย์ และอยู่เป็นนิรันดรดุจดวงอาทิตย์

จากข้อมูลที่กล่าวมา  ทำให้เข้าใจถึงจินตนาการของผู้สร้างวัตถุต่าง ๆ ที่ต้องการสื่อให้เห็นเอกลักษณ์ของนครตามพรลิงค์อันยิ่งใหญ่ มาสู่นครศรีธรรมราชอันรุ่งเรือง  ในรูปลักษณ์ของดวงตราที่มีรูปนักษัตร์ทั้ง ๑๒ รายล้อม หากแต่ขาดการอธิบายถึงความหมาย ความเป็นมา จนเกิดความข้องใจแก่ผู้พบเห็น ถึงที่มา และความเป็นไปของนครตามพรลิงค์ สู่เมืองนครศรีธรรมราช และความสัมพันธ์กับรูปลักษณ์ ๑๒ นักษัตร

www.sereechai.com




บทความ ข่าวสารองค์พ่อจตุคาม

ผ้ายันต์กู้วิกฤต องค์พ่อ"จตุคามรามเทพ"
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑) “โหราศาสตร์” พิธีกรรม article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๒) ปาฏิหาริย์ ณ วัดนางพระยา article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๓) ดวงเมืองนครศรีธรรมราช article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๔) รอมาตั้งพันปี article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๕) เผาดวงชะตาเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๖) พิธีกรรมต่างๆ article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๘) ตอกหัวใจสมุทร ฝังหัวใจเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๙) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๐)พิธีกรรมประติมากรรม article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๑) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๒) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๓) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (7) เทพชุมนุมตัดชัย article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๔)อาณาจักรตามพรลิงค์ article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๖) โดย อ.เล็ก พลูโต article
พิธีกรรม จำนวนสร้าง ฤกษ์ยาม อาถรรพ์เเห่งเหรียญเเสตมป์ปี 30 article
ลับสุดยอดถอดรหัสขี้ผึ้งศรีวิชัยปี30 article
ถอดรหัสผ้า ยันต์นาคราช article
ลับสุดยอดกับผ้ายันต์ราหูจร article
ใครว่าไม่มีพระสงฆ์ปลุกเสกในปี30 - ดูยอดพระคาถาบูชาองค์พ่อจตุคามฯ article
เหรียญแสตมป์ ปี30 พิมพ์มีหู
เหรียญแสตมป์ ปี30 แยกบล็อก article
เหรียญปิดตาพังพระกาฬ ปี32 สุดยอดแห่งเหรียญสายจตุคามรามเทพ
พระราหูโพธิสัตว์ (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต article
เปิดตำนาน เปิดใจ สัมพันธ์ ทองสมัคร article
สัมพันธ์ ทองสมัคร อีกหนึ่งตำนาน...จตุคามฯ ปี ๓๐ article
เมื่อ...จตุคามฯ"ประทับยืน" article
อ.มนตรี จันทพันธ์ ผู้ออกแบบจตุคามฯปี ๓๐ ตัวจริง article
หลอกพระ - โกงเทวดา ผลกรรมจะตามสนอง article
ผู้ตัดไม้ตะเคียนทอง ปี2530 article