ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๔)อาณาจักรตามพรลิงค์ article

ก่อนมาเป็น"นครศรีธรรมราช"นครอันงามสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม นครศรีธรรมราชมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์มาอย่างยาวนาน นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้คนยังอาศัยถ้ำเป็นแหล่งพักพิง ล่าสัตว์ และหาพืชผลเป็นอาหาร กระทั่งรวมกันเป็นชุมชนเกษตรกรรมยุคแรกเริ่ม แล้วพัฒนามาเป็นบ้านเมืองที่เจริญรุ่งเรือง ด้วยบริเวณที่ตั้ง เป็นท่าเรือสำหรับขนถ่ายสินค้า มีชื่อว่า "ตามพรลิงค์"

นับตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ เป็นต้นมา ชาวอินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ และโรมัน เดินเรือมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียตะวันออกไกลได้แล้ว ด้วยเหตุนี้ คาบสมุทรมลายู จึงกลายเป็นจุดศูนย์กลางเส้นทางเดินเรือ จากฝ่ายตะวันตก อันได้แก่ อินเดีย เปอร์เซีย อาหรับ และโรมัน ฝ่ายตะวันออกได้แก่ จีน เวียดนาม จามปา และ เจนละ

เรือสินค้ามักแวะพักเพื่อขนถ่ายสินค้า หรือ หาเสบียงอาหาร

เอกสารของอินเดียที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่พบ คือ มิลินทปัญหา ซึ่งเขียนขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ เรียกเมืองท่าที่สำคัญแห่งหนึ่ง อันอยู่ในเขตจังหวัดนครศรีธรรมราชปัจจุบันว่า ตมะลิง ตามพรลิงค์  ตมลิงคาม  และ ตามพรลิงเกศวร

แต่ทาง พงศาวดารลังกา เรียกเมืองนี้ว่า ตัมพรัฏฐะ ชวกะ สิริธรรมนคร และศรีธรรมราช ส่วน พ่อค้าอาหรับ จากตะวันออกกลาง เรียกดินแดนแห่งนี้ว่า ซาบากะ หรือ ซาบัก

จนราวพุทธศตวรรษที่ ๙ – ๑๐ จึงเริ่มมี เอกสารจีน กล่าวถึงดินแดนแห่งนี้ว่า ตั้งมาหลิ่ง ตันมาลิง โฮลิง โพลิง

นักโบราณคดีสันนิษฐานว่า ศูนย์กลาง ของอาณาจักรตามพรลิงค์ในยุคแรก น่าจะตั้งอยู่ในบริเวณที่เรียกกันว่า เมืองท่าเรือ บนสันทรายบริเวณปากอ่าวนครศรีธรรมราช ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง

เนื่องเพราะเป็นบริเวณที่มีร่องรอยการตั้งถิ่นฐาน สืบเนื่องมาแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ทั้งมีการขุดค้นพบเครื่องมือหินขัด กลองมโหระทึก เทวสถาน และโบราณวัตถุในศาสนาพราหมณ์ ตลอดจนพระพุทธรูป อีกทั้งบริเวณนี้ ยังเป็นจุดที่มีลำน้ำ (คลองท่าเรือ) ไหลออกทะเล ซึ่งในอดีตแล้วน่าจะเป็นร่องน้ำลึก ที่เรือเดินทะเลสามารถแล่นเข้ามาจอดได้ทั้งยังมีการพบเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์ถังและซ้องเครื่องสังคโลกสมัยสุโขทัยและเงินตราต่างชาติที่ใช้เป็นสื่อกลางในการค้าขายแลกเปลี่ยนในซากเรือบรรทุกสินค้าที่จมอยู่บริเวณปากอ่าวและในลำคลองแห่งนี้หลายลำด้วยกัน

ตามพรลิงค์ได้เจริญเติบโต เป็นศูนย์กลางการค้าขาย สำคัญแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ไม่เพียงแต่จะมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเท่านั้น การพบปะของชนชาติต่างวัฒนธรรมอย่างไม่ขาดสาย ได้ถ่ายทอดวิทยาการสู่ชนพื้นเมือง โดยเฉพาะเมื่อชาวอินเดียที่เข้าในยุคแรก ๆ ในราวพุทธศตวรรษที่ ได้นำอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์  เข้ามาสู่อาณาจักรตามพรลิงค์ และบริเวณใกล้เคียง ตลอดจนความเจริญรุ่งเรือง ทั้งในด้านอักษรศาสตร์ การปกครอง ศาสนา และพิธีกรรม

หลักฐานอันแสดงถึง อิทธิพลของศาสนาพราหมณ์นอกเหนือจากสถาปัตยกรรม และสระน้ำโบราณ ที่สร้างขึ้นตามคติพราหมณ์แล้ว ยังมีศิลาจารึก และประติมากรรมรูปเคารพเนื่องในศาสนาพราหมณ์ อีกเป็นจำนวนมาก

ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔- ๑๖ อาณาจักรศรีวิชัย  มีอำนาจปกครองเหนือดินแดนแถบนี้ ส่งผลให้ พุทธศาสนานิกายมหายาน แพร่หลายเข้ามา โดยมีศูนย์กลางที่สำคัญอยู่ที่ เมือง ครหิ ไชยา และแผ่อิทธิพลลงมา แถบแคว้นตามพรลิงค์จนตลอดคาบสมุทรมลายู

ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘ อำนาจทางการเมืองการปกครอง ของแคว้นตามพรลิงค์สูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากการที่ผู้ครองแคว้น ตั้งตนเป็นกษัตริย์ทรงนาม พระเจ้าศรีธรรมโศกราชและสถาปนาราชวงศ์ ปทุมวงศ์ หรือ ปัทมวงศ์ ขึ้น แผ่อิทธิพลเหนือหัวเมืองต่าง ๆ ทั่วคาบสมุทรภาคใต้

อย่างไรก็ตาม จากจารึกหลักที่ ๒๔ หรือ จารึกพระเจ้าจันทรภาณุ ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๑๘ พระเจ้าจันทรภาณุ ก็คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช

คำแปลจากจารึกหลักที่ ๒๔ มีความว่า

"พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ ทรงพระราชสมภพ เพื่อยังประชาชน ที่ถูกชนชาติต่ำช้าปกครองมาแล้วให้สว่างรุ่งเรือง ทรงประพฤติประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนา พระองค์สืบพระวงศ์มาจากพระวงศ์อันรุ่งเรือง คือ ปทุมวงศ์ พระองค์ทรงมีรูปร่างเหมือนพระกามะ อันมีรูปงามราวกับพระจันทร์ ทรงฉลาดในนิติศาสตร์เสมือนด้วยพระเจ้าธรรมาโศกราชเป็นหัวหน้าของพระราชวงศ์...ทรงพระนามว่าศรีธรรมราชศรีรีสวสฺติ

พระเจ้าผู้ปกครองเมืองตามพรลิงค์ เป็นผู้อุปถัมภ์ตระกูลปทุมวงศ์ พระหัตถ์ของพระองค์มีฤทธิ์อำนาจมาก...ด้วยอานุภาพแห่งบุญกุศล ซึ่งพระองค์ได้ทำต่อมนุษย์ทั้งปวงทรงเดชานุภาพประดุจพระอาทิตย์ พระจันทร์ และมีพระเกียรติอันเลื่องลือในโลกทรงพระนามจันทรภาณุศรีธรรมราช เมื่อกลียุค 4332..."

อย่างไรก็ตาม จารึกหลักที่ ๒๓ หรือ จารึกวัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งยังเป็นที่ถกเถียงกันถึงเรื่องสถานที่พบ ด้วยนักวิชาการกลุ่มใหญ่เชื่อว่า น่าจะมาจากวัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยสลับกับ จารึกหลักที่ ๒๔ จารึกจันทรภาณุ แห่งตามพรลิงค์ อันเป็นที่ถกเถียงกันไม่ยุติ

เหตุที่นักวิชาการเชื่อว่า น่าจะมีการสลับกันระหว่างจารึกสองหลักนี้ เพราะเนื้อเรื่องในจารึกหลักที่ ๒๓ จากวัดเสมาเมือง น่าจะเกี่ยวกับไชยามากกว่า ซึ่งในเมืองโบราณไชยานั้น ได้พบรอยโบราณวัตถุสถานร่วมสมัยศรีวิชัย คือ ประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระโพธิสัตว์ปัทมปาณี อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๓ - ๑๔ และยังมีโบราณสถานร่วมสมัย เช่น พระบรมธาตุไชยา เจดีย์วัดแก้ว และเจดีย์ วัดกาหลง อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๔ – ๑๕ เป็นต้น

ร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับโบราณวัตถุสถาน ที่พบที่ไชยามีเป็นจำนวนมาก ในขณะที่หลักฐานอื่นในเมืองนครศรีธรรมราช  ที่แสดงถึงความเป็นศรีวิชัยมีน้อย นอกเสียจากจารึกหลักนี้ที่มีน้ำหนักมากที่สุด

ในขณะที่จารึกหลักที่  ๒๔  ซึ่งในทะเบียนจารึกระบุว่าพบที่  วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัด สุราษฎร์ธานี กลับเป็นเรื่องเกี่ยวกับ ตามพรลิงค์ และพระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมราช ซึ่งเป็นเรื่องของนครศรีธรรมราชโดยตรง

จารึกหลักที่ ๒๓ มี ๒ ด้าน ด้านแรกกล่าว สรรเสริญพระราชาแห่งอาณาจักรศรีวิชัย และการสร้างศาสนสถานต่าง ๆ ด้านที่สอง ซึ่งผู้สักการบูชา "องค์พ่อ" จตุคามรามเทพ เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับ พระเจ้าจันทรภาณุ ซึ่งจารึกภาษาสันสกฤต แปลได้ความว่า

"พระราชาธิราชองค์นี้ ทรงพระเดชานุภาพ (หรือด้วยรัศมี)เป็นเอกดุจดั่งดวงอาทิตย์ กำจัดความมืดมนคือ กองทัพของบรรดาราชศัตรูพระองค์ทรงประกอบด้วยความงามอันมีเสน่ห์(หรือประกอบด้วยความงามแห่งดวงจันทร์) เปรียบเสมือนดวงจันทร์ อันปราศจากเมฆหมอกในฤดูสารท ทรงมีเสน่ห์ดุจดั่งลักษณะของมันมถะ ประดุจดังพระเจ้าที่ทรงพระนามว่า วิษณุ และด้วยความกล้าหาญ ก็เปรียบเสมือนพระวิษณุองค์ที่สอง เพื่อกำจัดความหยิ่งยโสของบรรดาราชศัตรู ทรงพระนามว่า  ศรีมหาราช เพื่อแสดงว่าพระองค์ ทรงสืบลงมาแต่ราชวงศ์ไศเลนทร จากพระองค์นั้น......"

จากจุดนี้ เมื่อมีการสร้างวัตถุมงคล "องค์พ่อ" จตุคามรามเทพขึ้นมา จึงได้นำสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์ ใส่ในวัตถุมงคลด้วย




บทความ ข่าวสารองค์พ่อจตุคาม

ผ้ายันต์กู้วิกฤต องค์พ่อ"จตุคามรามเทพ"
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑) “โหราศาสตร์” พิธีกรรม article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๒) ปาฏิหาริย์ ณ วัดนางพระยา article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๓) ดวงเมืองนครศรีธรรมราช article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๔) รอมาตั้งพันปี article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๕) เผาดวงชะตาเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๖) พิธีกรรมต่างๆ article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๘) ตอกหัวใจสมุทร ฝังหัวใจเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๙) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๐)พิธีกรรมประติมากรรม article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๑) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๒) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๓) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (7) เทพชุมนุมตัดชัย article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๖) โดย อ.เล็ก พลูโต article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๕) โดย อ.เล็ก พลูโต article
พิธีกรรม จำนวนสร้าง ฤกษ์ยาม อาถรรพ์เเห่งเหรียญเเสตมป์ปี 30 article
ลับสุดยอดถอดรหัสขี้ผึ้งศรีวิชัยปี30 article
ถอดรหัสผ้า ยันต์นาคราช article
ลับสุดยอดกับผ้ายันต์ราหูจร article
ใครว่าไม่มีพระสงฆ์ปลุกเสกในปี30 - ดูยอดพระคาถาบูชาองค์พ่อจตุคามฯ article
เหรียญแสตมป์ ปี30 พิมพ์มีหู
เหรียญแสตมป์ ปี30 แยกบล็อก article
เหรียญปิดตาพังพระกาฬ ปี32 สุดยอดแห่งเหรียญสายจตุคามรามเทพ
พระราหูโพธิสัตว์ (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต article
เปิดตำนาน เปิดใจ สัมพันธ์ ทองสมัคร article
สัมพันธ์ ทองสมัคร อีกหนึ่งตำนาน...จตุคามฯ ปี ๓๐ article
เมื่อ...จตุคามฯ"ประทับยืน" article
อ.มนตรี จันทพันธ์ ผู้ออกแบบจตุคามฯปี ๓๐ ตัวจริง article
หลอกพระ - โกงเทวดา ผลกรรมจะตามสนอง article
ผู้ตัดไม้ตะเคียนทอง ปี2530 article