ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๓) article

องค์จตุคามรามเทพ หรือ จันทรภาณุ คือใคร ?

องค์พ่อในร่างประทับทรง ได้วาดรูปของพระองค์ (แต่ข้อมูลจากคำบอกเล่าของโกเหนียว หนึ่งในพ่อค้าชาวจีนที่อยู่ในเหตุการณ์บอกว่า เขียนเป็นยันต์) แล้วส่งให้ พ.ต.อ.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้กำกับการตำรวจภูธร จังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนั้น (พ.ศ.๒๕๒๘) แล้วตรัสว่า “อยากรู้ให้ไปถามอ้ายหนวดเอาเอง มันรู้จักกูดี”

เมื่อ พ.ต.อ.สรรเพชญ และคณะพ่อค้าคนจีน ได้เข้าพบท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ที่องค์พ่อตรัสเรียกว่า อ้ายหนวด และยื่นภาพวาด (หรือ ยันต์) ที่องค์พ่อเขียนให้ ท่านขุนพันธ์รับไปพิจารณาแล้ว บอกว่า ภาพวาดนี้ (หรือ ยันต์นี้) น่าจะเป็นภาพวาด (หรือ ยันต์) ของท้าวจตุคามรามเทพ หรือ พระเจ้าจันทรภาณุ อดีตกษัตรยิ์ผู้ปกครองอาณาจักรศรีวิชัย

ตามประวัติศาสตร์ ที่ได้มีการจารึกเอาไว้ในศิลาจารึก พระเจ้าจันทรภาณุ ทรงเป็นกษัตริย์แห่ง อาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน) ที่รุ่งเรืองอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ก่อนที่อาณาจักรตามพรลิงค์ จะถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยา นั่นคือข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ที่ได้มีการจารึกเอาไว้ในหลักศิลา หลักที่ ๒๔ ค้นพบที่ วัดเวียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

แต่ถ้าว่ากันตามตำนาน ที่มีด้วยกัน ๓ ตำนาน อันได้แก่

๑.ตำนานเจ้าชายรามเทพ ( พ.ศ.๖๐๐ – พ.ศ.๗๐๐)

๒. ตำนานขุนอินทรไศเลนทร์ และ ขุนอินทรเขาเขียว (พ.ศ.๑๐๔๐)

๓. ตำนานศรีมหาราชพังพกาฬ (พ.ศ. ๑๗๐๐ – ๑๘๐๐)

ก็จะมีผู้ที่อยู่ในข่าย ดวงพระวิญญาณองค์พ่อท้าวจตุคามรามเทพ เพิ่มขึ้นอีก ๓ - ๔ พระองค์

ก่อนที่จะกล่าวถึงองค์พ่อ ก็จะขอกล่าวของอาณาจักรศรีวิชัย และ อาณาจักรตามพรลิงค์ หรือ นครศรีธรรมราชในปัจจุบันเสียก่อน เพราะว่าตำนาน หรือ เรื่องราวในประวัติศาสตร์ขององค์พ่อ เกิดขึ้นในสองอาณาจักรนี้

อาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๑ – ๑๘)

เมื่ออาณาจักรฟูนัน ล่มสลายไปในพุทธศตรววรษที่ ๑๑ แล้วนั้น ได้มีการก่อตั้ง อาณาจักรศรีวิชัย ขึ้น ราชวงศ์ไศเลนทร์  มีอำนาจครอบครองอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุมมลายู เกาะชวา เกาะสุมาตรา ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา และบริเวณภาคใต้ของไทย ทำให้ศรีวิชัยสามารถควบคุมเส้นทางค้าขายระหว่าง จีน กับ อินเดีย รวมทั้งอาหรับ เปอร์เซีย และ ยุโรปใต้ อาณาจักรศรีวิชัยมี อาณาเขต ตั้งแต่บริเวณ เมืองปาเลมบัง บนเกาะสุมาตรา ของอินโดนีเซียถึงบริเวณ ดินแดนในอาณาเขตของประเทศไทยในปัจจุบันเป็นอย่างน้อย

มีการพบ ศิลาจารึกภาษมลายูโบราณ เกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยนี้ ที่สุมาตรา และที่วัดเสมาเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช พบศิลาจารึกภาษาสันสกฤต เมืองไชยา สมัยศรีวิชัย เป็นเมืองท่าค้าพริก ดีปลี และ พริกไทยเม็ด โดยมีต้นหมาก และต้นมะพร้าว จำนวนมาก พุทธศาสนาแบบมหายาน เจริญรุ่งเรืองในอาณาจักรศรีวิชัย หลวงจีนอีจิ้ง เคยเดินทางจากเมืองกวางตุ้งประเทศจีน โดยเรือของพวกอาหรับ ผ่านฟูนันมาพักที่อาณาจักรศรีวิชัยในเดือน ๑๑ พ.ศ. ๑๒๑๔ เป็นเวลา เดือน ก่อนที่จะเดินทางต่อผ่านเมืองไทรบุรี ผ่านหมู่เกาะคนเปลือยนิโคบาร์ ถึงเมืองท่า ตามพรลิงก์ที่อินเดีย  เพื่อสิบทอดพระพุทธศาสนา หลวงจีนอี้จิงบันทึกไว้ว่า ประชาชนทางแหลมมลายูเดิม ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนา แต่ก็ได้ติดต่อกับพ่อค้าอาหรับมุสลิม ที่เดินทางผ่านเพื่อไปยังประเทศจีน ดังนั้นในเวลาต่อมา ศาสนาอิสลามจึงได้เผยแพร่ไปยังมะละกา กลันตัน ตรังกานู ปาหงะ และ ปัตตานี จนกลายเป็นรัฐอิสลามไป ต่อมาใน พ.ศ. ๑๕๖๘ อาณาจักรศรีวิชัยได้ตกอยู่ใต้อำนาจ และกลายเป็นส่วนหนึ่งของ อาณาจักรมัชปาหิตของชวาใน  พ.ศ. ๑๙๔๐

พูดถึงอาณาจักรศรีวิชัย มีหลักฐานปรากฏหลายประการว่า ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๓ – ๑๖ ดินแดนในบริเวณคาบสมุทรภาคใต้ รวมทั้งนครศรีธรรมราช ตลอดไปจนถึงเกาะชวากลาง น่าจะมีรูปแบบการปกครอง และศิลปวัฒนธรรมอย่างหนึ่งเกิดขึ้น เป็นผลให้นักประวัติศาสตร์ และนักโบราณคดีจำนวนไม่น้อย เรียกขอบเขตการปกครองภูมิภาคนี้ว่า “อาณาจักรศรีวิชัย” และเรียกศิลปวัฒนธรรม ของผู้คนในภูมิภาคนี้ว่า “ศิลปวัฒนธรรมศรีวิชัย”

แต่ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกัน ถึงศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย อยู่ที่ไหน ?

ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ระบุว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย อยู่ที่เมืองปาเล็มบัง เนื่องจากได้อ่านศิลาจารึก ๔ หลัก ซึ่งพบบนเกาะสุมาตรา ใกล้เมืองปาเล็มบัง ปรากฎชื่อศรีวิชัยอยู่ด้วย แต่การตีความของเซเดส์ ทำให้เกิดการถกเถียงกันมาก ซึ่งยังไม่เป็นที่ยุติ ยังมีนักวิชาการที่มีความเห็นแตกต่าง ดังเช่น

อาร์. ซี. มาชุมดาร์ เห็นว่า ระยะแรกศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย อยู่บนเกาะชวา ต่อมาย้ายไปยังนครศรีธรรมราช อันเป็นสถานที่พบศิลาจารึก หลักที่ ๒๓ (วัดเสมาเมือง จ.นครศรีธรรมราช)

ดร.ควอริทช์ เวลส์ เห็นว่า ศูนย์กลางของอาณาจักรศรีวิชัย ควรตั้งอยู่ที่เมืองไชยาโบราณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ศาสตราจารย์หม่อมเจ้า จันทร์จิรายุวัฒน์ รัชนี ซึ่งทรงศึกษาเรื่องลม และสภาพภูมิศาสตร์ โดยนำไปเทียบกับการเดินทาง ของหลวงจีนอี้จิง เชื่อว่าศูนย์กลางศรีวิชัย ควรอยู่ที่เมืองโบราณไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี

รองศาสตราจารย์ ดร.สืบแสง พรหมบุญ แสดงความเห็นว่า ศรีวิชัยน่าจะมีลักษณะเป็น “สมาพันธรัฐ” มากกว่าเป็นอาณาจักร คำว่า “ศรีวิชัย” ในจารึกหลักที่ ๒๓ ที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่ควรแปลว่า “พระเจ้ากรุงศรีวิชัย” แต่คำว่า “ศรีวิชัยเยนทราชา” น่าจะเป็นสมัญญานาม มากกว่าชื่ออาณาจักร หรือ เจ้าแห่งศรีวิชัย

เพราะพระเจ้ากรุงศรีวิชัย และกษัตริย์ของแคว้นต่าง ๆ พยายามแย่งชิงกันเป็น “พระเจ้าศรีวิชัย” ในทำนองเดียวกับที่ต้องการเป็น “ธรรมราชา” หรือ “เทวราชา”เพราะต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการรบ เพื่อที่จะยึดสถานที่บางแห่ง ในการคุมเส้นทางยุทธศาสตร์ และเส้นทางการค้าในสมัยแรก ๆ ก่อนที่ความสำคัญของช่องแคบจะมีมากขึ้น จึงมีการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันในระหว่างกลุ่ม เพราะต้องการที่จะมีอำนาจควบคุมเส้นทางการค้า หรือเป็นคนกลางในการค้าโดยตรง

ซึ่งความขัดแย้งของผู้นำเมืองต่าง ๆ ในกลุ่มศรีวิชัย สะท้อนให้เห็นได้จากข้อความในจารึก ที่เมืองปาเล็มบัง ซึ่งกล่าวถึง การยกทัพและการสาปแช่ง แสดงว่า เมืองหรือแคว้นแถบนี้ ซึ่งอยู่ในกลุ่มรัฐศรีวิชัย ไม่ได้รุ่งเรืองตลอดกาล ในช่วงเวลาพุทธศตวรรษที่ ๑๒ –๑๘ แต่ขึ้นกับความสามารถของผู้นำแต่ละเมือง หรือ แคว้นที่จะแย่งชิงอำนาจ หรือได้รับการยอมรับจากเมืองอื่นก่อนเป็นพระเจ้ากรุงศรีวิชัย ผู้นำนั้นก็จะได้อำนาจทั้งหมด แต่ก็คงจะเป็นเพียงระยะหนึ่งเท่านั้น แล้วมีผู้นำเมืองอื่นขึ้นมาแทน ลักษณะโครงสร้างทางการเมือง ที่มีศูนย์กลางอำนาจย้ายไปเรื่อย ๆ เช่นนี้ ไม่ใช่ลักษณะของ อาณาจักร แต่น่าจะเป็นแบบ สมาพันธรัฐ มากกว่า

สอดรับกับที่ สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวไว้ในหนังสือ “ศรีวิชัยในสยาม” ว่า

“ศรีวิชัย” ไม่ใช่ชื่ออาณาจักร ที่มีศูนย์กลางของอำนาจในการควบคุมเศรษฐกิจ และการเมือง อยู่เมืองใดเมืองหนึ่งแต่เพียงเมืองเดียว แต่ “ศรีวิชัย” เป็นชื่อกว้าง ๆ ทางศิลปะและวัฒนธรรมของกลุ่มบ้านเมือง หรือ แว่นแคว้น หรือ รัฐน้อยใหญ่ ที่มีวัฒนธรรมบางประการร่วมกัน เช่น การนับถือพุทธศาสนา ในลัทธิมหายาน ที่แสดงออกด้วยรูปแบบทางศิลปกรรม ที่เรียกว่า “ศิลปกรรมแบบศรีวิชัย”

ถ้าหากกลุ่มบ้านเมือง หรือ แว่นแคว้น หรือ รัฐน้อยใหญ่ ที่มีรูปแบบทางศิลปวัฒนธรรมร่วมกันในชื่อ “ศรีวิชัย” นี้ จะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมแล้ว กลุ่มบ้านเมือง หรือ แว่นแคว้น หรือ รัฐน้อยใหญ่เหล่านี้ ไม่ว่าจะตั้งอยู่บนคาบสมุทร หรือ บนหมู่เกาะใดแห่งหนึ่งก็ตาม ต่างจะมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน ในลักษณะที่เรียกกันในสมัยหลัง ๆ ว่า “สมาพันธรัฐ” หรือ “สหพันธรัฐ” ซึ่งมีศูนย์กลางของอำนาจ เปลี่ยนแปลงไปตามความผันแปรทางเศรษฐกิจ การเมืองแต่ละยุค แต่ละสมัย

แต่อำนาจศูนย์กลาง (ถ้าจะมี) แห่งใดแห่งหนึ่ง ก็มักไม่มีอำนาจที่แท้จริงเพื่อควบคุม หรือ บัญชาบ้านเมืองอื่น ๆ ที่อยู่ห่างออกไป ดังนั้น บ้านเมืองอื่น ๆ จึงมีอิสระในการปกครองตนเองอยู่ค่อนข้างสมบูรณ์ การ “ยอมรับ” เพื่อเข้าร่วมอยู่ในสมาพันธรัฐ หรือ สหพันธรัฐ ก็ด้วยเหตุผลที่มีความเลื่อมใสศรัทธา ในระบบความเชื่ออย่างเดียวกัน และหวังผลประโยชน์ทางการค้าทางทะเลร่วมกันเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม การล่มสลายของ “ศรีวิชัย” สุจิตต์ วงษ์เทศ ได้กล่าวต่อว่า

ในช่วงเวลาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๖ (พ.ศ.๑๕๐๑ ถึง ๑๖๐๐) ฝ่ายจีนลดบทบาทของ “คนกลาง” ในนาม “ศรีวิชัย” ที่ผูกขาดการค้าทางทะเลในภูมิภาคนี้ แล้วหันไปสนับสนุนให้ชาวจีน แต่งเรือออกทะเลตรงไปค้าขาย กับบรรดาบ้านเมืองที่อยู่ในเขตชายทะเล รวมทั้งภายในภาคพื้นต่าง ๆโดยตรง

ผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้  ทำให้บ้านเมืองในท้องถิ่นคาบสมุทรภาคใต้ของไทย ฟื้นตัวรุ่งเรืองขึ้น และมีชุมชนบ้านเมืองเกิดใหม่มากขึ้น ในที่สุด ก็หันกลับไปใช้เส้นทางขนส่งสินค้าข้ามสมุทรอีกครั้ง

ความเป็น “ศรีวิชัย” ที่เคยมั่งคั่ง และมีอำนาจ ก็ถึงกาลล่มสลาย

www.sereechai.com




บทความ ข่าวสารองค์พ่อจตุคาม

ผ้ายันต์กู้วิกฤต องค์พ่อ"จตุคามรามเทพ"
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑) “โหราศาสตร์” พิธีกรรม article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๒) ปาฏิหาริย์ ณ วัดนางพระยา article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๓) ดวงเมืองนครศรีธรรมราช article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๔) รอมาตั้งพันปี article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๕) เผาดวงชะตาเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๖) พิธีกรรมต่างๆ article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๘) ตอกหัวใจสมุทร ฝังหัวใจเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๙) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๐)พิธีกรรมประติมากรรม article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๑) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๒) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (7) เทพชุมนุมตัดชัย article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๔)อาณาจักรตามพรลิงค์ article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๖) โดย อ.เล็ก พลูโต article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๕) โดย อ.เล็ก พลูโต article
พิธีกรรม จำนวนสร้าง ฤกษ์ยาม อาถรรพ์เเห่งเหรียญเเสตมป์ปี 30 article
ลับสุดยอดถอดรหัสขี้ผึ้งศรีวิชัยปี30 article
ถอดรหัสผ้า ยันต์นาคราช article
ลับสุดยอดกับผ้ายันต์ราหูจร article
ใครว่าไม่มีพระสงฆ์ปลุกเสกในปี30 - ดูยอดพระคาถาบูชาองค์พ่อจตุคามฯ article
เหรียญแสตมป์ ปี30 พิมพ์มีหู
เหรียญแสตมป์ ปี30 แยกบล็อก article
เหรียญปิดตาพังพระกาฬ ปี32 สุดยอดแห่งเหรียญสายจตุคามรามเทพ
พระราหูโพธิสัตว์ (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต article
เปิดตำนาน เปิดใจ สัมพันธ์ ทองสมัคร article
สัมพันธ์ ทองสมัคร อีกหนึ่งตำนาน...จตุคามฯ ปี ๓๐ article
เมื่อ...จตุคามฯ"ประทับยืน" article
อ.มนตรี จันทพันธ์ ผู้ออกแบบจตุคามฯปี ๓๐ ตัวจริง article
หลอกพระ - โกงเทวดา ผลกรรมจะตามสนอง article
ผู้ตัดไม้ตะเคียนทอง ปี2530 article