ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๐)พิธีกรรมประติมากรรม article
พิธีกรรมประติมากรรม (แกะสลัก) ได้แกะสลักหลักเมืองด้วย ไม้ตะเคียนทองทั้งต้น ซึ่งได้มาจากเขายอดเหลือง ในท้องที่ตำบลกะหรอ อำเภอท่าศาลา (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอนบพิตำ) มีลักษณะแปลก คือ บริเวณรอบโคน มีลักษณะเตียนโล่ง ซึ่งเรียกว่า ลานนกหว้า หรือ ตะเคียนใบกวาด การแกะสลักทำที่บ้านพัก ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราชขณะนั้น คือ พ.ต.อ.สรรเพชร ธรรมาธิกุล  

      ตามที่กล่าวมาแล้วว่า การสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ นั้น เกิดจากการประทับทรงองค์พ่อท้าวจตุคามรามเทพ ผ่านร่างคุณอะผ่อง สกุลอมร โดยองค์พ่อกล่าวต่อหน้า พ.ต.อ. สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราชในขณะนั้นว่า

 

      “บ้านเมืองลุกเป็นไฟ กูรอมึงมาเป็นพันปีแล้ว กูอยากให้ช่วยสร้างหลักเมือง จากไม้ตะเคียนทอง งอกอยู่ทางทิศเหนือของเมืองนคร ฯ บัดนี้มันรอมึงอยู่”

 

      ที่องค์พ่อท่านกล่าวว่า บ้านเมืองลุกเป็นไฟ นั้น เนื่องจากในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ สมัยที่พลเอกเปรม ติณณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นช่วงเวลาที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ประสบปัญหาโจรผู้ร้าย ก่อคดีอาชญากรรมมากมาย ได้คุกคามชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ผู้ตั้งอยู่ในสุจริตเป็นอย่างมาก จนอาจกล่าวได้ว่า บ้านเมืองกำลังจะลุกเป็นไฟ คนไร้คุณธรรมกำลังจะครองเมือง ซึ่งเรื่องนี้ คุณสมจิตร ทองสมัคร ได้บันทึกถึงเหตุการณ์ในครั้งนั้นว่า

 

      “ความทุกข์ยากของประชาชน เป็นเรื่องที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองรู้ดี และคิดหาวิธีป้องกันแก้ไข ท่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้น จึงเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งตรงกับสมัยของ พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ ดำรงตำแหน่ง เพื่อขอนายตำรวจฝีมือดีมาทำงานปราบปราม ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราชให้เข้าสู่สภาวะปกติ

 

      ทางกระทรวงมหาดไทยได้ส่ง พ.ต.อ.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล นายตำรวจฝีมือดีที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจทำงาน มารับตำแหน่งในจังหวัดนครศรีธรรมราช”

 

      การสร้างเสาหลักเมือง และศาลหลักเมือง เป็นเรื่องใหญ่ ไม่อาจสร้างได้โดยบุคคลคนใดคนหนึ่ง หรือคณะใดคณะหนึ่ง ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย ทั้งในส่วนราชการ และเอกชน ดังนั้น จึงได้มีการนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม คณะอนุกรรมการสร้างสิ่งสำคัญทางประวัติศาสตร์ ในคณะกรรมการส่งเสริมการท่องเที่ยว จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีนายเอนก สิทธิประศาสน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน และได้มีมติให้สร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น ในคราวประชุมวันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๒๘ ในการนี้ได้มอบหมายให้ พลตำรวจตรีขุนพันธรักษ์ราชเดช (อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค ๘) พันตำรวจเอกสรรเพชญ ธรรมมาธิกุล (ผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดนครศรีธรรมราช) และ พระเทพวราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จัดตั้งคณะทำงานจัดสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น

 

      ในช่วงที่ประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ตามที่องค์พ่อได้กำหนดไว้ คณะทำงานที่ได้รับการแต่งตั้ง ได้เริ่มต้นจัดหาไม้ตะเคียนทองเพื่อสร้างเป็นเสาหลักเมือง ตามคำบอกขององค์พ่อ โดยส่งทีมงาน แยกย้ายกันออกไปค้นหา จากคำบอกเล่าของ คุณประยงค์ เชาวลิตถวิล หรือ โกเหนียว ศิษย์ของท่านขุนพันธ์ ฯ ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มพ่อค้าชาวจีน ที่เรียกว่า “ชมรม ๒๘” และเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ตั้งแต่ประทับทรงครั้งแรกที่วัดนางพระยา มีส่วนร่วมและรู้เห็นการสร้างศาลหลักเมืองมาโดยตลอด เล่าไว้ว่า

 

      ทีมงานคนหนึ่งได้ไปหาพ่อค้าไม้คนหนึ่ง บอกกับเขาว่า ผู้กำกับให้ไปช่วยหาไม้ตะเคียนมาทำเสาหลักเมืองต้นหนึ่ง ด้วยความที่เป็นพ่อค้าไม้ เขาจึงรู้ว่า ไม้ตะเคียนในบริเวณภูเขาสูงนั้นอยู่ตรงไหน หลังจากหาอยู่หลายวัน ก็ไปเจอไม้ตะเคียนทอง ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลกระหรอ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งปัจจุบันสถานที่ดังกล่าว อยู่ในท้องที่อำเภอนบพิตำ จากคำบอกเล่าของทีมที่ไปพบต้นตะเคียนบอกว่า มีสิ่งที่น่าอัศจรรย์คือ เป็นต้นตะเคียนทองที่มีลักษณะดี คือ บริเวณรอบโคนต้น เตียนโล่ง ไม่มีหญ้าหรือต้นไม้ใด ๆ ขึ้น หรือที่คนปักษ์ใต้เรียกว่า “ลานลูกหว้า” หรือ “ตะเคียนใบกวาด” ซึ่งตะเคียนทองต้นดังกล่าว สูงตระหง่านอยู่บริเวณริมห้วย

 

      จากคำบอกเล่าของผู้ที่ไปตัดไม้ตะเคียนทองต้นดังกล่าวเล่าให้ฟังว่า ในระหว่างทำการตัดนั้น ผู้ตัดไม่ต้องการให้ไม้ล้มลงไปในห้วย จึงบากต้นไม้ในลักษณะหน้าต่ำ หลังสูง เพราะหวังจะให้ล้มลงทางพื้นดิน แต่ในขณะที่ตัดไม้ ได้เกิดสิ่งอัศจรรย์คือ จู่ ๆ ก็มีลมพัดอย่างรุนแรง ไม้จึงเปลี่ยนทิศทางไปล้มในห้วย ซึ่งก็น่าแปลกว่า ยอดไม้ที่ล้มลงในห้วย ชี้ไปทางตำแหน่งที่ตั้งของพระบรมธาตุพอดี เมื่อไม้ตะเคียนทองลงน้ำ ประกอบกับเป็นต้นไม้ที่สูงใหญ่ ดึงยังไงก็ดึงไม่ขึ้น ทีมงานที่ได้รับมอบหมาย ก็มาถามองค์พ่อผ่านร่างทรง

 

      “พวกมึงต้องใช้ปัญญา” องค์พ่อบอกสั้น ๆ ง่าย ๆ

 

      ทางทีมงานจึงตกลงกันว่า จะฟันต้นไม้ออกเป็นสามส่วน คือ ฟันโคน ฟันตรงกลางให้มีความยาว ๔ เมตร และฟันตรงปลาย ก่อนที่จะฟันแบ่งไม้ ได้มีการจุดธูปเทียน บอกกล่าวองค์พระธาตุ และองค์พ่อด้วย ในวันที่ฟันต้นไม้ออกเป็น ๓ ส่วน ก็มีเหตุอัศจรรย์ คือ มีช้างที่เขารับจ้างชักลากไม้ ผ่านมาในบริเวณนั้นพอดี จึงได้ใช้ช้างให้ดึงไม้ขึ้นมาจากห้วย และว่าจ้างให้ลากไม้ลงมาจากยอดเขา ตอนแรกที่ช้างชักลาก เชื่อไหมครับว่า ช้างตัวใหญ่ ๆ ลากไม้แค่ ๔ เมตร ออกแรงลากเท่าไรก็ไม่ขยับเขยื้อน แต่เมื่อทีมงานได้จุดธูปบอกกล่าวอีกครั้ง ช้างก็สามารถลากไม้ลงมาจากภูเขาได้ตามปกติ

 

      หลังจากที่ลากไม้ลงมาแล้ว ก็นำไม้มาพักไว้ที่บ้าน ”นายเสมียนพันธ์” ซึ่งเป็นช่างไม้ จนไม้แห้ง ระยะเวลาที่รอแห้ง ต้องอาศัยเวลาประมาณ ๓ เดือน พอไม้แห้งสนิท องค์พ่อก็สั่งให้ทีมงานบากไม้ให้มีลักษณะคล้ายเสาสี่เหลี่ยม ส่วนเศษไม้ที่บากทิ้งนั้น องค์พ่อสั่งไว้ว่า “เก็บมาให้หมด” ซึ่งในขณะนั้น พวกเราก็ยังไม่ทราบกันว่า ท่านสั่งให้เก็บเศษไม้ไว้ทำไม แต่ก็ทำตาม เพราะทุกครั้งที่สั่ง ท่านจะมีเหตุผลหรือสิ่งที่ต้องให้ทำตามมาตลอด

  

      เมื่อบากไม้เรียบร้อยแล้ว ท่านสั่งให้เอามาไว้ที่จวนผู้ว่า ฯ สมัยนั้นผู้ว่า ฯ คือ ท่านเอนก สิทธิประศาสน์ โดยในวันที่ไปรับไม้ องค์พ่อสั่งว่า “ต้องแต่งรถไปรับ” พร้อมกับกำชับว่า ให้ทำธงตรา ๑๒ นักษัตร์ ซึ่งท่านออกแบบ แล้วให้ผู้กำกับ ฯ สรรเพชญ ไปสกรีนติดรถทุกคันที่ไปร่วมพิธี และต้องมีพระสงฆ์ไปสวดทำพิธีอัญเชิญไม้ ในวันนั้นมีรถไปร่วมพิธีประมาณ ๗ คัน ชาวบ้านก็ยังไม่ทราบว่าพวกเรากำลังทำอะไร ทำไมรถถึงปักธงเหลืองกันปลิวไสว


 

      เมื่อไม้มาถึงจวนผู้ว่า ฯ องค์พ่อก็สั่งให้เอาใบตองรองก่อนที่จะวางไม้ และมีการทำพิธีจุดธูปเทียนบอกกล่าว ในวันนั้นคุณตาขุนพันธ์ ซึ่งตอนนั้นท่านอายุประมาณ ๘๐ กว่า ๆ ก็ไปรับไม้ด้วย และท่านยังได้ประพรมน้ำมนต์ลงบนไม้ด้วย หลังจากที่นำหลักเมืองไปไว้ที่จวนผู้ว่า ฯ สักระยะหนึ่ง องค์พ่อก็สั่งให้พวกเราย้ายไม้ไปไว้ที่หน้าพระธาตุ เพื่อให้ผู้คนได้กราบไหว้ ที่หน้าพระธาตุ พวกเราใช้เชือกขึงกั้นไว้ แล้วเขียนป้ายติดไว้ว่า “ไม้ตะเคียนทองสำหรับสร้างหลักเมือง” แล้วนิมนต์ ”ท่านเจ้าคุณเทพวราภรณ์” เจ้าอาวาสวัดพระมหาธาตุที่สิ้นบุญไปแล้วให้นั่ง เมื่อใครไปมาหาท่านเจ้าคุณเทพวราภรณ์ ก็จะได้สักการะบูชาไม้นี้ไปด้วย

 

      หลังจากนำไม้ไปไว้ที่วัดพระมหาธาตุสักระยะ ผู้กำกับ ฯ สรรเพชญ ก็ไปติดต่อโรงกลึงของ “นายเกษม” ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนเพนียด ซึ่งปัจจุบันเป็นห้างคาร์ฟูร์ พอตั้งศูนย์สำหรับกลึงไม้ได้แล้ว ผู้ที่ลงมือกลึงให้เสาเป็นวงกลมคือ “นายสมพงษ์” การกลึงนั้นจะกลึงไม้เป็นชั้น ๆ ตั้งแต่ฐานบัว จนกระทั่งถึงยอด ซึ่งก็แน่นอนว่า องค์พ่อได้สั่งผ่านร่างทรง บอกคุณสรรเพชญ โดยแต่ละชั้นมีความหมาย และปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับชีวิตมนุษย์อย่างลึกซึ้งทั้งนั้น

 

      เมื่อกลึงไม้เสร็จแล้ว เดิมวางแผนกันไว้ว่า จะทำการแกะสลักที่จวนผู้ว่า ฯ แต่หลายคนออกความเห็นว่า จะไม่สะดวกในเวลาปฏิบัติงาน เพราะท่านเป็นผู้หลักผู้ใหญ่ และต้องทำงานค่ำมืดดึกดื่น จึงตกลงกันว่า ให้เอาเสากลมมาที่บ้านผู้กำกับ ฯ สรรเพชญ เพื่อทำการแกะสลักลวดลายที่ออกแบบไว้ โดยรูปแบบ ขนาด และลวดลายต่าง ๆ ที่อยู่ในเสา เป็นลวดลายศรีวิชัย ประกอบด้วยอักขระโบราณ ยอดเสาเป็นเศียรพระพรหมแปดเศียรซ้อนกัน บนสุดเป็นยอดชัยหลักเมือง หุ้มทองคำ ซึ่งรูปแบบทั้งหมดได้รับการพิจารณาจากองค์พ่อ คำแนะนำจากคุณตาขุนพันธ์ และท่านผู้กำกับสรรเพชญ แต่ถึงอย่างไร ขั้นตอนทั้งหมดทั้งมวลนี้ ต้องผ่านการพิจารณาจากองค์พ่อเป็นที่สุดอีกครั้งหนึ่ง ถึงจะลงมือทำขั้นตอนต่อไปได้

 

      เมื่อได้ฤกษ์แกะสลักตามที่องค์พ่อให้ไว้ ช่างแกะสลักลวดลาย ซึ่งเป็นอาจารย์จากวิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช อันประกอบด้วย อาจารย์มนตรี จันทพันธ์, อาจารย์มีชัย เพชรอินทร์, อาจารย์สมพัก บัวหลวง, อาจารย์พยงค์ พรหมโชติ, และ อาจารย์ระไว สุดเฉลย ก็ได้ลงมือแกะสลักลวดลายอย่างทุ่มเทตั้งใจเต็มที่ ทำกันชนิดหามรุ่งหามค่ำ ยันตีหนึ่งตีสอง ซึ่งนับได้ว่า อาจารย์กลุ่มนี้ เป็นอีกกลุ่มบุคคลหนึ่ง ที่สมควรได้รับการยกย่องเชิดชู เพราะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดหลักเมือง อันถือได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ และความภาคภูมิใจของชาวนคร ฯ และ ประเทศไทย ส่วนท่านผู้กำกับฯ สรรเพชญ ก็ให้ใจเต็มที่ ไม่ว่าดึกดื่นแค่ไหน ท่านก็คอยให้กำลังใจตลอด มิหนำซ้ำยังควักเงินส่วนตัว ซื้ออาหารเครื่องดื่มไว้ให้ทีมงานมิได้พร่อง

 

      ทุกครั้งที่จะมีการลงมือทำอะไรเกี่ยวกับหลักเมือง ไม่ว่าจะเป็นการแกะสลัก การกดพิมพ์พระ องค์พ่อจะทำน้ำมนต์ไว้ให้หนึ่งขันก่อนจะทำงาน ทีมงานทุกคนจะต้องเอามัดใบหญ้าคา จุ่มน้ำมนต์เคาะหัวก่อน และสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งจะขาดไม่ได้คือ จะต้องมีการขึง ธง ๑๒ นักษัตร์ แผ่นใหญ่ไว้ตลอด

 

      เพื่อให้ท่านผู้อ่านได้ทราบถึงความหมายอันลึกซึ่งของลวดลาย ที่แกะสลักไว้บนเสาหลักเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เผื่อท่านได้มีโอกาสไปสักการะบูชา จะได้ซาบซึ้งถึงความหมาย และน้อมนำเอาปรัชญานั้นมาเป็นข้อคิดเตือนใจ ให้ใช้ชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร ผมจึงขออนุญาตคัดลอกข้อมูลจากหนังสือ “ศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช” ซึ่งจัดทำขึ้นโดยจังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ ทรงประกอบพิธีเปิดศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช ณ สนามหน้าเมือง ตำบลบางคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๓ ซึ่งได้อธิบายไว้ดังนี้

www.sereechai.com




บทความ ข่าวสารองค์พ่อจตุคาม

ผ้ายันต์กู้วิกฤต องค์พ่อ"จตุคามรามเทพ"
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑) “โหราศาสตร์” พิธีกรรม article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๒) ปาฏิหาริย์ ณ วัดนางพระยา article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๓) ดวงเมืองนครศรีธรรมราช article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๔) รอมาตั้งพันปี article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๕) เผาดวงชะตาเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๖) พิธีกรรมต่างๆ article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๘) ตอกหัวใจสมุทร ฝังหัวใจเมือง article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๙) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๑) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๒) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๓) article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (7) เทพชุมนุมตัดชัย article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๔)อาณาจักรตามพรลิงค์ article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๖) โดย อ.เล็ก พลูโต article
โหราไสย์ในองค์พ่อ (๑๕) โดย อ.เล็ก พลูโต article
พิธีกรรม จำนวนสร้าง ฤกษ์ยาม อาถรรพ์เเห่งเหรียญเเสตมป์ปี 30 article
ลับสุดยอดถอดรหัสขี้ผึ้งศรีวิชัยปี30 article
ถอดรหัสผ้า ยันต์นาคราช article
ลับสุดยอดกับผ้ายันต์ราหูจร article
ใครว่าไม่มีพระสงฆ์ปลุกเสกในปี30 - ดูยอดพระคาถาบูชาองค์พ่อจตุคามฯ article
เหรียญแสตมป์ ปี30 พิมพ์มีหู
เหรียญแสตมป์ ปี30 แยกบล็อก article
เหรียญปิดตาพังพระกาฬ ปี32 สุดยอดแห่งเหรียญสายจตุคามรามเทพ
พระราหูโพธิสัตว์ (๑) โดย อ.เล็ก พลูโต article
เปิดตำนาน เปิดใจ สัมพันธ์ ทองสมัคร article
สัมพันธ์ ทองสมัคร อีกหนึ่งตำนาน...จตุคามฯ ปี ๓๐ article
เมื่อ...จตุคามฯ"ประทับยืน" article
อ.มนตรี จันทพันธ์ ผู้ออกแบบจตุคามฯปี ๓๐ ตัวจริง article
หลอกพระ - โกงเทวดา ผลกรรมจะตามสนอง article
ผู้ตัดไม้ตะเคียนทอง ปี2530 article