ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์

หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร

ประวัติ หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หรือ หลวงพ่อโตวัดอินทร์ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อโต
เป็นพระพุทธรูปยืน ปางอุ้มบาตร ก่อด้วยอิฐหรือปูน ประดิษฐานอยู่ที่วัดอินทรวิหาร ซึ่งเป็นวัดโบราณ ชื่อวัดบางขุนพรหมนอก อยู่ที่ตำบลบางขุนพรหม อำเภอพระนคร กรุงเทพ ฯ

“หลวงพ่อโต” หรือ “พระศรีอริยเมตไตรย” พระพุทธปฏิมากรยืนปางอุ้มบาตร วัดอินทรวิหาร แขวงบางขุนพรหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ ซึ่ง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2410 ก่อด้วยอิฐถือปูน หากดำเนินการการก่อสร้างไปได้เพียงครึ่งองค์ สูงเพียงพระนาภี (สะดือ) สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ก็สิ้นชีพิตักษัย ณ ศาลาใหญ่ วัดบางขุนพรหมใน เป็นพระยืนอุ้มบาตรที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ว่าท่านได้สอนยืนและเดินได้ที่นั่น ต่อมา พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) ซึ่งร่วมสร้างหลวงพ่อโต กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) มาแต่ต้น ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2463 พระครูธรรมานุกูล (ภู จนฺทเกสโร) มีอายุ 91 ปี พรรษาที่ 70 ชราภาพมากแล้ว จึงได้ยกขึ้นเป็นกิตติมศักดิ์ ท่านจึงมอบฉันทะให้ พระครูสังฆบริบาล (แดง) แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ ช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ต่อจากเดิม หากดำเนินก่อสร้างสำเร็จเพียงบางส่วนเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน อินฺทสโร) ภายหลังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ “พระอินทรสมาจาร” ได้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2470 และได้จัดให้มีงานสมโภชเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ (หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท) เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์, สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสด็จมาทรงเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ เปิดงานสมโภชองค์หลวงพ่อโต

ในหนังสือ “ประวัติหลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร ปี พ.ศ. 2490” ได้กล่าวถึงการปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อโต ของพระอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) ไว้ว่า

“ถึงปีชวด พ.ศ. 2467 พระครูอินทรสมาจาร (เงิน อินฺทสโร) เมื่อครั้งยังเป็นพระครูสังฆรักษ์ ย้ายมาจากวัดปรินายกมาเป็นเจ้าอาวาสวัดอินทรวิหาร ได้จัดการสร้างพระโตต่อมา โดยเป็นประธานบอกบุญเรี่ยไรจากประชาชนทั่วไป ผู้ช่วยเหลือที่เป็นกำลังสำคัญของท่านพระครูอินทรสมาจารที่ควรกล่าวให้ปรากฏคือ เจ้าคุณและคุณหญิงปริมาณสินสมรรถ พระประสานอักษรกิจ สิบเอกอินทร์ พันธุเสนา และนางพลัด พันธุเสนา พระครูอินทรสมาจารทำการก่อสร้างอยู่ 4 ปี จึงสำเร็จสมบูรณ์ (สิ้นเงินประมาณ 10,000 บาท)” 

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี)

ตามประวัติ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังษี) เป็นผู้สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ แต่ยังสร้างไม่เสร็จ คงสร้างค้างไว้เพียงถึงพระนาภี สูงประมาณ 9 วาเศษ พระครูจรรยานุกูล (หลวงปู่ภู) เจ้าอาวาสวัดอินทร์จึงดำเนินการสร้างต่อแต่ก็ยังไม่เสร็จ พระครูสังฆบริบาล (แดง) ได้สร้างเพิ่มเติมได้สร้างต่อจบเกือบเสร็จ ขาดเพียงยอดพระเมาลี ได้องค์พระสูงประมาณ 16 วา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2467 พระครูสังฆรักษ์ (เงิน) เจ้าอาวาสได้ดำเนินการสร้างต่อมา ใช้เวลา 4 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อย และได้จัดให้มีงานสมโภช เมื่อวันที่ 4-6 มีนาคม พ.ศ. 2471 ถึงปีมะเส็ง พ.ศ. 2472 ทางวัดได้จัดให้มีงานนมัสการและปิดทองพระโต ในเดือนมีนาคม และกำหนดเป็นเทศกาลประจำปีสืบมา

ปัจจุบันมีงานฉลองพระพุทธรูปเป็นเทศกาลประจำปี ระหว่างวันที่ 1-7 เมษายน ของทุกปี เทศกาลประจำปีงานนมัสการและปิดทองพระโต หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์ เป็นประจำทุกปี
ภาพ/ข้อมูล : ธรรมะไทย
ภาพ/ข้อมูล : หอมรดกไทย 




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (147204)
วัดอินอยู่ที่ไหนหรอ
ผู้แสดงความคิดเห็น เด็กดี วันที่ตอบ 2011-02-19 11:28:44


ความคิดเห็นที่ 2 (147882)
ไปวัดอินทรอย่างไร
ผู้แสดงความคิดเห็น สมิตา วันที่ตอบ 2011-06-23 16:23:44


ความคิดเห็นที่ 3 (151598)

  สาธุ

ผู้แสดงความคิดเห็น นน วันที่ตอบ 2013-03-29 19:03:51


ความคิดเห็นที่ 4 (160345)

 วัดอินทร์เป็นราษฎร์เก่าแก่ สันนิฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยาาตอนปลาย ไม่ทราบนามผู้สร้าง ไม่ทราบชื่อนามเดิมของวัด ถึงปี พ.ศ ๒๓๒๑--๒๒ เจ้าอินทรวงศ์ โอรสเจ้าศิริบุญสาร เจ้าเมืองเวียงจันทร์ ถูกเชิญตัวลงมากรุงเทพฯในฐานะองค์ประกัน ให้พำนักบริเวณบางขุนพรม และบางยี่ขัน เจ้าอินทรวงศ์ขอพระบรมราชานุญาติบููรณะปฏิสังขรณ์วัดเพื่อใช้ประกอบพิธีทางศาสนา ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดเจ้าอินทร์ หรือวัดอินทร์....ในกาลต่อมาวัดอินทร์ขาดเจ้านายฝ่ายลาวเวียงจันทร์อุปถัมภ์อุปัฎฐากดูแล วัดอินทร์จึงมีสถาพทรุดโทรม ถึงระหว่างปี พ.ศ ๒๔๐๙--๑๐ หลังจากท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯได้รับโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะฯที่ สมเด็จพรพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี สันนิฐานว่าท่านฯได้มาพาชาวบ้านบางขุนพรหม มาช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดอินทร์ ท่านฯตั้งใจจะสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์องค์ใหญ่นั่งกลางแจ้ง ก่ออิฐถือปูน ก่อสร้างขึ้นถึงเอว..ถึงปี พ.ศ ๒๔๑๑ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔ เสด็จสวรรคต ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ ๒๔๑๑ การก่อสร้างพระพุทธรูปต้องหยุดไว้ช่วงคราว และภายหลังจากที่เสร็จงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ล้นเกล้ารัชกาลที่๔ แล้ว. ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯและชาวบ้านบางขุนพรหม จึงพร้อมใจกันจะสร้างวัดขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๔  ณ.ขณะนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯมีอายุ ๘๐ ปี ชราภาพมากแล้ว จะเดินเหิรไปมาไม่สะดวกสบาย ดังนั้นชาวบ้านบางขุนพรหมจึงถวายที่ดินห่างจากวัดอินทร์ประมาณเส้นกว่าๆให้ท่านฯสร้างวัด สันนิฐานว่าท่านฯสร้างวัดในระหว่างปี พ.ศ ๒๔๑๒--๑๔ สร้างตามแบบวัดพระอารามหลวงในสมัยรัชกาลที่๔ คือวัดบวรฯ วัดโสมนัสฯ และวัดมกุฎฯ มีเจดีย์ใหญ่เป็นประธานหนึ่งองค์ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯจึงสร้างพระพิมพ์เนื้อผงพิมพ์ทรงต่างขึ้นจำนวนประมาณ ๘๔,๐๐๐ องค์ บรรจุในเจดีย์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและสืบอายุพระศาสนา เสร็จแล้วท่านฯจัดให้มีงานฉลองขึ้นวัดใหม่ ชาวบ้านนิยมเรียกวัดนี้ว่า วัดใหม่บางขุนพรหม.....ต่อจากนั้นสันนิฐานว่าระหว่างปี พศ ๒๔๑๔--๑๕ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯข้ามไปบูรณะฯวัดระฆังฯเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ล้นเกล้ารัชกาลที่๔ และสันนิฐานว่าท่านฯให้นำเอามวลสารที่เหลือจากวัดใหม่บางขุนพรหม มาสร้างพระพิมพ์เนื้อผงขึ้นที่วัดระฆังฯ มีมวลสารเหลือเท่าไหร่ก็สร้างเท่านั้น การบูรณะฯวัดระฆังฯน่าจะเป็นช่วงเวลาสั้นๆเท่านั้น เพราะท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯต้องกลับไปควมคุมการก่อสร้างพระพุทธรูปปางป่าเลไลย์ที่วัดอินทร์ให้แล้วเสร็จ สันนิฐานว่าช่วงนี้ท่านฯคงมีอาการอาพาธบ้างแล้ว  จนถึงกลางดึกคืนวันที่๒๒ มิถุนายน พศ ๒๔๑๕ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ก็อาพาธหนักและสิ้นพระชนม์บนศาลาใหญ่ วัดอินทรวิหาร บางขุนพรหม.........

ผู้แสดงความคิดเห็น สมพร มุละสีวะ วันที่ตอบ 2016-10-15 12:27:38



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล