ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์ จ.สิงห์บุรี

พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร หรือ วัดพระนอนจักรสีห์

  ประวัติ พระนอนจักรสีห์ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร จ.สิงห์บุรี พระพุทธไสยาสน์องค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่และยาวที่สุดของประเทศ สร้างมานานเก่าแก่จนไม่ทราบ แน่ชัดว่ามีประวัติความเป็นมาอย่างไร ส่วนใหญ่เป็นเรื่องเล่าในทำนองนิยายปรำปรา ทำนองเดียวกันกับพระ ปฐมเจดีย์ เช่น กล่าวว่าพระเจ้าสิงหพาหุเป็นผู้สร้าง แต่ก็ไม่มีใครทราบว่าพระเจ้าพาหุคือผู้ใด ครองเมืองอะไร ในยุคสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี องค์พระหันพระเศียรไปทางทิศตะวันออก ความยาว 3 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว

วัดพระนอนจักรสีห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร อยู่ที่ตำบลจักรสีห์ อำเภอเมือง จังหวัดสิงหบุรี พื้นที่ของวัดมีขนาดกว้างประมาณ 7 เส้น (280 เมตร) ยาวประมาณ 10 เส้น (400 เมตร) สภาพที่เป็นอยู่เมื่อปี พ.ศ. 2421 จากพระราชนิพนธ์เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา มีว่า " วัดนี้อยู่ ห่างแม่น้ำสามสิบวา เป็นที่ลุ่มน้ำท่วม ต้องทุบถนนและมีสะพานข้าม รอบวิหารพระนอนมีกำแพงแก้วเตี้ย ๆ ชั้นหนึ่ง ตัวพระวิหาร ยาว 1 เส้น 7 วา กว้าง 11 วา เสาข้างในเป็นแปดเหลี่ยม อาการที่พระพุทธไสยาสน์บรรทม ไม่เหมือนอย่างกรุงเก่า หรือกรุงเทพ ฯ พระกรทอดออกไปมากเพราะเขนยหนุนไม่สู้ชันนัก เป็นบรรทมราบ แต่พระบาทซ้อนกันตรงเหมือนอย่างพระนอนทั้งปวง " หลักฐานที่มีอยู่คือ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ เมื่อปีจอ ฉศก จุลศักราช 1111 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ. 2297 และได้เสด็จไปอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ. 2299 เพื่อสมโภชฉลอง ต่อมาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จไปทรงนมัสการ เมื่อปี พ.ศ. 2421 ในครั้งนั้น พระวิหารและพระนอนชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์มานาน พระธรรมไตรโลก (อ้น) วัดสุทัศน ได้ทูลขอพระราชทานเงินค่านาสำหรับวัดเพื่อทำการปฏิสังขรณ์ พระองค์ก็ได้มอบถวายให้ และโปรดเกล้า ฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบำราศปรปักษ์เป็นที่ปรึกษา การปฏิสังขรณ์ทำเสร็จในปี พ.ศ. 2428 การปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดทำเมื่อปี พ.ศ. 2510

พระนอนจักรสีห์ เป็นพระพุทธไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีพุทธลักษณะที่งดงามองค์หนึ่ง และมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ เป็นที่เคารพศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ ตั้งอยู่ที่ วัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร ต.จักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ห่างจากตัวเมืองสิงห์บุรีประมาณ 5 กิโลเมตร ไปทางด้านทิศตะวันออก พระพุทธไสยาสน์ปางโปรดอสุรินทราหู องค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่มีพุทธลักษณะที่งดงามองค์หนึ่งของประเทศ บริเวณวัดยังเป็นที่ปฏิบัติธรรม เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ทางด้านพุทธศาสนา สำหรับนักธรรม-บาลี และมีพระแก้ว พระกาฬ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่วัด ชาวสิงห์บุรี มีความเชื่อว่าหากมีโอกาสได้นมัสการวัดพระนอนจักรสีห์ฯ แล้วเดินชมต้นสาละลังกาใหญ่ที่ปลูกไว้กว่า 100 ต้น ในบริเวณวัดแล้วอธิษฐานปรบมือใต้ต้นสาละ หากดอกสาละร่วงลงมา คำอธิษฐานนั้นจะประสบผลตามที่หวังไว้

ประวัติหลวงพ่อพระนอนจักรสีห์ เป็น พระพุทธรูปปางพระพุทธเจ้าทรงไสยาสน์ เทศนาโปรดยักษ์อสุรินทราหู เพื่อลดทิฐิของอสุรินทราหูที่ถือตัวว่ามีร่างกายใหญ่โตกว่ามนุษย์ พระพุทธเจ้าจึงเนรมิตร่างกายให้ใหญ่กว่ายักษ์ "หลวงพ่อพระนอน" จึงเป็นพระพุทธรูปที่ใหญ่และยาว สร้างโดยท้าวอู่ทอง มีความยาว 1 เส้น 3 วา 2 ศอก 1 คืบ 7 นิ้ว (47.40 เมตร) พระเศียรชี้ไปทางตะวันออก หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ มีความงดงามเป็นอย่างมาก มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า "สิงหพาหุ" มีพ่อเป็นสิงห์ พอรู้ความจริงคิดละอายเพื่อนว่ามีพ่อเป็นสัตว์เดรัฐฉาน จึงฆ่าสิงห์ตาย ภายหลังรู้สึกตัวกลัวบาปและเสียใจเป็นอย่างมาก จึงสร้างพระพุทธรูปโดยเอาทองคำแท่งโต 3 กำมือ ยาว 1 เส้น เป็นแกนขององค์พระ เป็นการไถ่บาปและพระพุทธรูป มีอยู่ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชามาหลายชั่วอายุคน จนองค์หลวงพ่อพระนอนได้พังทลายลงเป็นเนินดิน ทั้งนี้ ไม่มีใครทราบว่าพระเจ้าสิงหพาหุ คือ ผู้ใดครองเมืองอะไร ในยุคสมัยใด แต่สันนิษฐานว่าสร้างก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี 

กาลนานต่อมา ท้าวอู่ทอง ได้นำพ่อค้าเกวียนผ่านมาทางนี้ แล้วพบแกนทองคำฝังอยู่ในเนินดิน และทราบเรื่องสิงหพาหุ เกิดความเลื่อมใสและเห็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา จึงชักชวนพ่อค้าเกวียนก่อสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้น โดยใช้แท่งทองคำที่พบนั้นเป็นแกนขององค์พระ สำหรับ วัดพระนอนจักรสีห์ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร อยู่ที่ตำบลจักรสีห์ อ.เมือง จ.สิงหบุรี พื้นที่ของวัดมีขนาดกว้างประมาณ 7 เส้น (280 เมตร) ยาวประมาณ 10 เส้น (400 เมตร) สภาพที่เป็นอยู่เมื่อปี พ.ศ.2421 จากพระราชนิพนธ์เรื่อง ระยะทางเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา มีว่า "วัดนี้อยู่ ห่างแม่น้ำสามสิบวา เป็นที่ลุ่มน้ำท่วม ต้องทุบถนนและมีสะพานข้าม รอบวิหารพระนอนมีกำแพงแก้วเตี้ยๆ ชั้นหนึ่ง ตัวพระวิหาร ยาว 1 เส้น 7 วา กว้าง 11 วา เสาข้างในเป็นแปดเหลี่ยม อาการที่พระพุทธไสยาสน์บรรทม ไม่เหมือนอย่างกรุงเก่า หรือกรุงเทพฯ พระกรทอดออกไปมากเพราะเขนยหนุนไม่สู้ชันนัก เป็นบรรทมราบ แต่พระบาทซ้อนกันตรงเหมือนอย่างพระนอนทั้งปวง" หลักฐานที่มีอยู่คือ พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการ เมื่อปีจอ ฉศก จุลศักราช 1111 ซึ่งตรงกับปี พ.ศ.2297 และได้เสด็จไปอีกครั้งเมื่อปี พ.ศ.2299 เพื่อสมโภชฉลอง 

ต่อมาสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้เสด็จไปทรงนมัสการ เมื่อปี พ.ศ.2421 ในครั้งนั้น พระวิหารและพระนอนชำรุดทรุดโทรมมาก เนื่องจากขาดการบูรณปฏิสังขรณ์มานาน พระธรรมไตรโลก (อ้น) วัดสุทัศน์ ได้ทูลขอพระราชทานเงินค่านาสำหรับวัด เพื่อปฏิสังขรณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินค่านาของวัดและของเมืองสิงห์ให้บูรณปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ ด้วยเมื่อนึกถึงว่าพระพุทธไสยาสน์ วัดพระนอนจักรสีห์ เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ที่สร้างขึ้นเมื่อหลายร้อยปีมาแล้ว ในสมัยที่เครื่องจักรเครื่องทุ่นแรงยังไม่มีใช้กันเช่นปัจจุบันก็พอจะทำให้เราเห็นถึงความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของคนไทยในอดีตว่ายิ่งใหญ่เพียงใดได้เป็นอย่างดี พระองค์ได้มอบถวายให้ และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระบำราศปรปักษ์ เป็นที่ปรึกษา การปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2428 วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาทรงสักการะพร้อมพระบรมวงศานุวงศ์

นับได้ว่า "หลวงพ่อพระนอนจักรสีห์" เป็นปูชนียวัตถุที่ทรงไว้ซึ่งปาฏิหารย์ศักดิ์สิทธิ์ล้ำค่า เป็นที่เคารพศรัทธาเลื่อมใสของพุทธศาสนิกชนให้เดินทางมากราบไหว้บูชา เพื่อเป็นพุทธานุสติ ในอันจะน้อมรำลึกถึงคำสั่งสอนแห่งพระพุทธองค์ 

ภาพ/ข้อมูล : ธรรมะไทย
ภาพ/ข้อมูล : หอมรดกไทย 




พระพุทธรูปสำคัญของไทย ประวัติพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ทั่วประเทศ

ประวัติพระเจ้าองค์หลวง วัดศรีมงคลใต้ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
พระพุทธรูปปางมารวิชัย พระแม่ทานจอมภักดี คู่บ้านคู่เมืองอำเภอทุ่งใหญ่
พระพุทธรูปสำคัญ 9 องค์ ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน
ประวัติพระเสตังคมณี วัดเชียงมั่น จ.เชียงใหม่ พระแก้วขาว
ประวัติหลวงพ่อวัดน้ำรอบ วัดโคกกลอย จ.พังงา
ประวัติหลวงพ่อทุ่งคา วัดบูรพาราม จ.ปัตตานี
ประวัติ พระศรีศากยมุนีศรีธรรมราช วัดพระมหาธาตุ จ.นครศรีธรรมราช
ประวัติพระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร
ประวัติ พระพุทธสิหังคปฏิมากร วัดราชประดิษฐ์ กรุงเทพฯ
ประวัติพระพุทธศิลามงคลมิ่งเมือง วัดศรีสุทธาวาส จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อแซกคำ วัดคฤหบดี กรุงเทพฯ
ประวัติพระสัมพุทธพรรณี วัดราชาธิวาสวิหาร กรุงเทพฯ
พระเจ้าองค์แสน "พระเจ้าแสนห่า" วัดโพธิ์ชัยนาพึง จ.เลย
ประวัติพระพุทธเทววิลาส (หลวงพ่อขาว) วัดเทพธิดาราม กรุงเทพฯ
ประวัติหลวงพ่ออโนทัย วัดจันทาราม จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อเฉย วัดใหญ่อินทาราม จ.ชลบุรี
ประวัติพระพุทธเบญจนวมงคลกาญจน์ วัดลาดขาม จ.กาญจนบุรี
ประวัติหลวงพ่อวัดมะนาว วัดมะนาว จ.สุพรรณบุรี
ประวัติหลวงพ่อพุทโธ วัดปากเพรียว จ.สระบุรี
ประวัติหลวงพ่อใหญ่ วัดโพนชัย จ.เลย
ประวัติหลวงพ่อไตรรัตน์โรจน์ฤทธิ์ วัดปราสาทสิทธิ์ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อตามใจ วัดพญาไม้ จ.ราชบุรี
ประวัติหลวงพ่อคุ้ม วัดบางแตน จ.ปราจีนบุรี
ประวัติพระพุทธมหาธรรมราชา วัดไตรภูมิ จ.เพชรบูรณ์
หลวงพ่อเศียรนคร วัดบุญนาครักขิตาราม จ.นครนายก
พระคันธารราษฎร์ วัดหน้าพระเมรุราชิการาม จ.อยุธยา
พระอินทร์แปลง วัดเสนาสนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
พระพุทธภัทรปิยปกาศิต วัดกองดิน จ.ระยอง
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม จ.สตูล
หลวงพ่อดำ วัดช่องเเสมสาร จ.ชลบุรี
หลวงพ่อใหญ่ศรีวิชัย วัดโพธิ์ศรี จ.หนองบัวลำภู
หลวงพ่อโต วัดไทรใต้ จ.นครสวรรค์
พระพุทธรูป หลวงพ่อแก่ วัดหูกวาง จ.นครสวรรค์
พระพุทธชัยภูมิพิทักษ์ วัดชัยภูมิพิทักษ์ จ.ชัยภูมิ
พระเจ้าพร้าโต้ วัดพระธาตุศรีดอนคำ จ.แพร่
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี วัดพระบาทมิ่งเมือง จ.แพร่
หลวงพ่อหิน ศักดิ์สิทธิ์ วัดป่าแป้น จ.เพชรบุรี
หลวงพ่อดีบุก วัดบ้านหงาว จ.ระนอง
พระพุทธรูปวัดพลับ ปางบำเพ็ญทุกรกิริยา จ.จันทบุรี
หลวงพ่อธรรมจักร วัดธรรมามูลวรวิหาร จ.ชัยนาท
พระทองเนื้อสัมฤทธิ์แท้ วัดไชยาติการาม จ.อำนาจเจริญ
พระพุทธรูปหินอ่อน วัดดอนแก้ว จ.ตาก
พระงา วัดมโนรมย์ จ.มุกดาหาร
หลวงพ่อพระอินทร์แปลง วัดพระอินทร์แปลง จ.นครพนม
พระพุทธไสยาสน์ วัดพระพุทธไสยาราม จ.สกลนคร
พระเจ้าตนหลวง วัดกองกาน จ.เชียงใหม่
หลวงพ่อแก่นจันทน์ วัดช่องลม จ.ราชบุรี
หลวงพ่อโต วัดชัยชนะสงคราม จ.ตาก
หลวงพ่อพระพุทธวิเศษ วัดทุ่งศรีวิไล จ.อุบลราชธานี
หลวงพ่อดำ วัดพระธาตุราษฎร์บำรุง จ.หนองคาย
พระสิงห์ปาย (พระพุทธสิหิงค์) วัดศรีดอนชัย
หลวงพ่อโต วัดบุปผาราม
ประวัติหลวงพ่อทองสัมฤทธิ์ วัดสำปะซิว article
ประวัติหลวงพ่อโต วัดนาทวี สงขลา
พระเสริม วัดปทุมวนาราม
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดไผ่เงินโชตนาราม
พระพุทธมหามณีรัตน์ปฏิมากร (พระแก้วมรกต)
ประวัติพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก article
พระพุทธสิหิงค์ ตำนานพระพุทธสิหิงค์
พระพุทธสิหิงค์ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พระบรมมหาราชวัง
พระพุทธเทวปฏิมากร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพมหานคร
พระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
พระพุทธชินสีห์ (องค์หน้า) วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระศาสดา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระโต วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระสิทธารถ วัดพิชัยญาติ กรุงเทพมหานคร
หลวงพ่อวัดมงคลบพิตร วัดมงคลบพิตร จ.พระนครศรีอยุธยา
หลวงพ่อโต วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี
พระพุทธไตรรัตนนายก(หลวงพ่อโต) วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา
ประวัติ พระพุทธโสธร วัดโสธรวราราม จ.ฉะเชิงเทรา article
หลวงพ่อเพชร วัดท่าถนน จ.อุตรดิตถ์
ประวัติหลวงพ่อวัดบ้านแหลม วัดบ้านแหลม จ.สมุทรสงคราม
หลวงพ่อโต วัดอินทรวิหาร หลวงพ่อโตวัดอินทร์
พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ
พระไสยา วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก วัดป่าโมก จ.อ่างทอง
พระพุทธไสยาสน์วัดโพธิ์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม กรุงเทพฯ
พระนอนวัดขุนอินทประมูล วัดขุนอินทประมูล จ.อ่างทอง
พระนอนวัดคูหาภิมุข วัดคูหาภิมุข จ.ยะลา
ประวัติหลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย จ.หนองคาย
หลวงพ่อเพชร วัดท่าหลวง จ.พิจิตร



[1]

ความคิดเห็นที่ 1 (87654)
ลาบคาบ
ผู้แสดงความคิดเห็น ดาวสาง วันที่ตอบ 2009-07-19 14:58:14


ความคิดเห็นที่ 2 (88314)

สวยเหมือนเก่าเรยนะ

ผู้แสดงความคิดเห็น อร วันที่ตอบ 2009-09-09 10:40:06


ความคิดเห็นที่ 3 (89114)

ช่วยแก้ไขด้วยวัดพระนอนจักรสีห์ห่างจากตัวเมืองแค่ 5 กิโลเมตรครับ ผมคนเมืองสิงห์รู้ริง

ผู้แสดงความคิดเห็น พงศกร บ่ายเที่ยง วันที่ตอบ 2009-12-10 12:36:37


ความคิดเห็นที่ 4 (107227)
มีสาระดี
ผู้แสดงความคิดเห็น ;วิทยา วันที่ตอบ 2010-05-17 21:37:08


ความคิดเห็นที่ 5 (137125)
ดีมากครับ
ผู้แสดงความคิดเห็น mosza วันที่ตอบ 2010-12-16 17:10:14


ความคิดเห็นที่ 6 (147911)

ขอขอบคุณที่ให้ข้อมูลความรู้เรื่องวัดพระนอนจักรสีห์วรวิหาร

ผู้แสดงความคิดเห็น นางธาริณี พรหมมาศ วันที่ตอบ 2011-06-28 19:16:10



[1]


แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล