ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




จุดแรกเริ่มองค์ จตุคาม-รามเทพ

                                            เทปตำนานสร้างหลักเมืองนครศรีธรรมราช

จุดแรกเริ่มองค์ จตุคาม-รามเทพ  ความเป็นมาของศาลหลักเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช  สมจิตร ทองสมัคร  ช่วงประมาณ พ.ศ.2528 จังหวัดนครศรีธรรมราชเกิดภาวะ วิกฤตอย่างหนักโจรผู้ร้ายคดีอาชญากรรม สุจริตชนไม่เป็นอันทำมาหากินผู้คนถูกจับตัวเรียกค่าไถ่ ไม่ก็จี้ปล้นอยู่บ่อยๆ  ท่าน พ.ต.อ.สรรเพชญ ธรรมาธิกุล ซึ่งเป็นนายตำรวจฝีมือดี ได้ย้ายมาประจำเมืองนครศรีฯ  ต่อมามีเหล่าพ่อค้าคนจีนที่สนิทกันประมาณ 4-5 คนซึ่งบุคคลกลุ่มนี้มักชอบเรื่องเสี่ยงโชค เรื่องลาภผลต่างๆ มีคนหนึ่งได้ทรงเจ้า(ไม่ใช่หาหวยเบอร์นะครับ)  ถิ่นที่ไปดำเนินการเป็นประจำคือ วัดนางพระยา บ้านปากนครโดยท่านสรรเพชรขอติดตามไปสังเกตการณ์ด้วย คืนหนึ่งได้มี วิญญาณมาประทับทรง และบอกว่า "กูคือพระยาชิงชัย เป็นแม่ทัพรักษาเมืองด้านทิศตะวันออก " ท่านสรรเพชญไม่เชื่อจึงได้จุดธูป1กำมือ จ่อทิ่มไปที่ตัวคนทรง ปรากฏว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น ไม่ว่าอาการสะดุ้ง หรือมีแผลพุพองแต่ประการใด "เออ มึงไม่เชื่อ เอาอย่างนี้ดีกว่า มึงไปเอาดาบที่กุฏิท่านสมภารมา กูจะสักกระหม่อมให้ดู" หนึ่งในคณะได้ไปนำดาบที่กุฏิสมภาร ตามคำสั่ง (แปลกที่ดาบนั้นมีอยู่จริงโดยที่ไม่มีใครทราบมาก่อน) เมื่อนำมาส่งให้คนทรง คนทรงได้จับดาบชูขึ้นเอาปลายแหลมลงแล้วทิ่มแทงลงบนศรีษะของตนเองอย่างน่าหวาดเสียว เสียงดัง ฉึก ฉึก ฉึก! ปรากฏว่าดาบแทงไม่เข้า เหตุอัศจรรย์ในคืนนั้น แต่ละคนต่างงงไปตามๆกัน องค์ในร่างทรงยังบอกอีกว่า หากพวกมึงต้องการตัวเลข ให้ไปเอาที่ศาลาท่าน้ำของวัด โดยเขียนใว้ใต้หลังคา

     คืนที่ 2 ท่านสรรเพชญได้ร่วมเดินทางไปอีกครั้ง คราวนี้องค์ที่มาประทับทรง บอกว่า "กูใหญ่กว่าอ้ายชิงชัย มันมาโม้ให้พวกสูฟัง กูนี่แหละใหญ่กว่ามึงไปหากระดาษมาวาดใบหน้ากู กูจะบอกลักษณะ แล้วพวกสูพาไปถามอ้ายหนวดดู อ้ายหนวดรู้จักกูดี "  "อ้ายหนวดคือใคร" ท่านสรรเพชญถาม  "มึงผันหน้าตอนนั่งทำงานไปทางไหน บ้านมันก็อยู่ทางนั้นแหละ ไปหามันได้"  พวกในคณะพอจะทราบแล้วว่า อ้ายหนวด  คือ ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช

     รุ่งขึ้นอีกวัน ท่านสรรเพชญและคณะพากันไปที่บ้านท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับโรงพักซอยราชเดช หลังจากทำความเคารพและแนะนำตัวกันแล้ว ท่านขุนพันธ์ฯจึงถามถึงกิจธุระ ท่านสรรเพชญได้ยื่นกระดาษที่เขียนภาพใบหน้าของดวงวิญญาณในร่างทรงเมื่อคืนนี้ให้ดู พร้อมกับถามว่า " นี่คือรูปของใครครับ "  ท่านขุนพันธ์ยกรูปขึ้นดูก็ตกใจ ทำรูปหล่นลงพื้นทันที พร้อมกับถามว่า "ท่านผู้กำกับนำรูปนี้มาจากไหน รูปนี้เป็นอดีตกษัตริย์แห่งอาณาจักรศรีวิชัยมีพระนามว่า จตุคามรามเทพหรือ จันทรภาณุ " ท่านสรรเพชญ จึงเล่าความเป็นมาต่างๆให้ท่านขุนพันธ์ฯทราบ

    คืนที่ 3 ณ วัดนางพระยา องค์จตุคามที่ท่านขุนพันธ์ฯ บอกได้เสด็จมาประทับทรงอีก กิริยาท่าทางดุมาก และบอกว่า  * บ้านเมืองลุกเป็นไฟ กูรอมึงมาเป็นพันปีแล้ว กูอยากให้ช่วยสร้างหลักเมือง ทำจากไม้ตะเคียนทองงอกอยู่ทางทิศเหนือของเมืองนครศรีฯ บัดนี้มันรอมึงอยู่ * องค์จตุคามบอกและอธิบายอีกว่า

     ในตอนนี้เราต้องทำพิธีกรรมก่อน มีหลายพิธีที่ต้องใช้เวลา เช่น พิธีกรรมเทพชุมนุมตัดชัย ทำในวิหารหลวง ให้ปักธงศรีวิชัยขึ้นห่มพระธาตุ เป็นนัยว่า เราเปิดธงรบกับพวกเหล่าร้าย เช่นพวกโจร หรืออาถรรพณ์จัญไรต่างๆ ที่รบกวนเมืองนครฯ"




หลักเมืองนครศรีธรรมราช

สร้างหลักเมืองนครทำไม
ศาล"หลักเมืองนครศรีธรรมราช"
พิธีกรรมเกี่ยวกับการสร้างศาลหลักเมืองนคร



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล 
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล