ReadyPlanet.com


เด็กไทยผนึก"นาซ่า" จับสัญญาณ"เมฆ"


เด็กไทยผนึก"นาซ่า"NASA จับสัญญาณ"เมฆ"
คอลัมน์ ไอคิวทะลุฟ้า
วันที่ 03 ธันวาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 18 ฉบับที่ 6579 ข่าวสดรายวันข่าวสด


"เมฆ" ซึ่งเกิดจากละอองน้ำบนฟ้ารวมตัวกันอย่างหนาแน่นส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่รุนแรงต่อโลก

การเปลี่ยนแปลงของเมฆเพียงเล็กน้อยจึงส่งผลต่อสภาพอากาศมากกว่าก๊าซเรือนกระจกเสียอีก

เมฆบอกอะไรแก่เราได้บ้าง

ดร. พรพรรณ ไวทยางกูร รอง ผอ.สสวท. ซึ่งกำกับดูแลโครงการ GLOBE ประเทศไทย เปิดเผยว่า เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 นาซ่าได้ส่งดาวเทียมคลาวด์แซต (CloudSat) ขึ้นตรวจวัดคุณสมบัติของเมฆ ได้แก่ ความหนาแน่นและการกระจายตัวของเมฆในแนวดิ่ง โครงสร้าง และการกระจายของรังสีความร้อน เพื่อศึกษาทำความเข้าใจสภาพภูมิอากาศ เรดาร์ของคลาวด์แซตสามารถจับอนุภาคน้ำขนาดเล็กมากซึ่งส่งผลอย่างมากต่อสภาพ ภูมิอากาศได้ และมีความละเอียดสูงกว่าเรดาร์ธรรมดาถึงพันเท่า โดยนาซ่าเปิดโอกาสให้โรงเรียนทั่วโลกมีส่วนร่วมทำงานและเรียนรู้ร่วมกับทีม งานนักวิทยาศาสตร์และนักการศึกษาของคลาวด์แซต เพื่อให้นักเรียนมีความรู้เรื่องการก่อตัวของเมฆ การเกิดพายุ การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เช่น ภาวะโลกร้อน การเกิดพายุเฮอริเคน ปรากฏการณ์เอลนิโญ่และลานิญ่า เป็นต้น

ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นเครือ ข่ายโครงการดาวเทียมคลาวด์แซตเป็นปีที่ 2 แล้ว ล่าสุด สสวท. และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จึงร่วมกันจัดการอบรมเกี่ยวกับโครงการพัฒนาการเรียนการสอนแบบเน้นการวิจัย ผ่านเครือข่ายการศึกษาดาวเทียมคลาวด์แซต เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ณ สสวท. หลังท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ โดยมีนักวิทยาศาสตร์จากนาซ่า และนักวิทยาศาสตร์โครงการ GLOBE ประเทศไทยเป็นวิทยากร จัดอบรมนักเรียนและอาจารย์จากโรงเรียนต่างๆ รวม 21 โรงเรียน ภายในงานมีการนำเสนอผลงานวิจัยของนักเรียนเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศภายใต้โครง การคลาวด์แซต อาทิ



ด. ช.สรวิช อุจจาภิมุข และ ด.ญ.อัญชิสา อุจจาภิมุข โรงเรียนธัมม สิริศึกษาสัตหีบ จ.ชลบุรี เจ้าของผลงานการศึกษาความเร็วลม ทิศ ทางลม และชนิดของเมฆ ณ โรงเรียนธัมมสิริศึกษาสัตหีบ ทั้งสองกล่าวว่า โครงการ GLOBE ยังไม่มีการเก็บข้อมูลความเร็วลมและละอองไอน้ำซึ่งเป็นปัจจัยในการเกิดเมฆ จึงอยากรู้ว่าสิ่งที่ศึกษามีผลต่อการเกิดเมฆหรือไม่ เมื่อเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลายาวนานกว่านี้จะสามารถนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมา คำนวณหรือคาดคะเนสภาพภูมิอากาศล่วงหน้าได้

ด.ญ.บวรสิริ กำเนิดเมือง และ ด.ญ.พิชญา ไชยจังหรีด โรงเรียนจตุคามวิทยาคม จ.นครราชสีมา ศึกษาความชื้น อุณหภูมิ และเมฆที่มีผลต่อการงอกของเห็ดโคน ทั้งสองเล่าว่าป่าแถวโรงเรียนช่วงหน้าฝนมีเห็ดมากมาย เห็ดโคนก็มีมาก จึงสนใจศึกษาเรื่องนี้โดยมี ลุงวัน วิทยากรพื้นบ้านให้ความรู้เกี่ยวกับเห็ด โคน โดยพบว่าจะพบเห็ดโคนแน่ๆ ถ้าอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ปริมาณน้ำฝนสูง และแถวนั้นมีรังปลวก



นาย กัมปนาท ไชยรัตน์ และ นายสุกลพัฒน์ วงศ์พิมล โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย จ.ร้อยเอ็ด ศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลเมฆและข้อมูลอากาศระหว่างโรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย และโรงเรียนชุมชนบ้านบางโหนด จ.นครศรีธรรมราช เล่าว่า เนื่องจากอยากทราบว่าภาคอีสานกับทางใต้มีสภาพอากาศต่างกันอย่างไร จึงนำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกันให้เกิดประโยชน์ จะช่วยฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์และฝึกการวิเคราะห์ข้อมูล

ส่วนโรงเรียน อื่นๆ ที่มานำเสนอผลงาน ได้แก่ โรงเรียนวัดโป่งก้อนเส้า จ.นครราชสีมา ศึกษาชนิดของเมฆและเมฆปกคลุม ณ โรงเรียนวัดโป่งก้อนเส้า และโรงเรียนบ้านบางโหนด, โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยตรัง จ.ตรัง เปรียบเทียบชนิดของเมฆจากการสังเกตภาคสนามและข้อมูลคลาวด์แซต ณ โรงเรียนจุฬา ภรณราชวิทยาลัยตรัง, โรงเรียนบ้านสุขสำราญ จ.ระนอง ศึกษาชนิดเมฆ ปริมาณน้ำฝน และความชื้นสัมพัทธ์ที่มีผลต่อจำนวนลูกน้ำยุง ณ โรงเรียนบ้านสุขสำราญ, โรงเรียนมัธยมวานรนิวาศ จ.สกลนคร ศึกษาอุณหภูมิ ความชื้น สัมพัทธ์ ชนิดของเมฆและเมฆปกคลุมที่มีผลต่อการร่วงของใบและการออกดอกของต้นราชพฤกษ์ใน โรงเรียนมัธยมวานรนิวาศ, โรงเรียนดาราวิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณน้ำฝน ชนิดของเมฆและเมฆปกคลุมจากข้อมูลคลาวด์แซต ณ โรงเรียนดาราวิทยา ลัย, โรงเรียนวัดฉัตรแก้วจง กลนี กทม. ศึกษาแบบจำลองความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิสูงสุด/ต่ำสุด กับการเกิดเมฆที่กรุงเทพฯ, โรงเรียนชุมชนบ้านบางโหนด จ.นครศรีธรรมราช ศึกษาความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูลชนิดเมฆและข้อมูลปริมาณเมฆปกคลุม ต่อปริมาณรังสียูวีภายในบริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านบางโหนด จ.นครศรีธรรมราช

ดร. แมทท์ โรเจอร์ นักวิทยาศาสตร์ในโครงการดาวเทียมคลาวด์แซต นาซ่า กล่าวว่า งานวิจัยของนักเรียนไทยและเด็กๆ ในโครงการคลาวด์แซตทำได้น่าสนใจจริงๆ ทั้งนักเรียนไทย ออสเตรเลีย นิวซี แลนด์ อินเดีย ถือเป็นโอกาสดีที่นักวิทยาศาสตร์ได้เรียนรู้จากการทำงานของเด็กๆ ในขณะที่นักเรียนก็ได้เรียนรู้และเข้าใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากโครงการ คลาวด์แซตด้วย


ผู้ตั้งกระทู้ News กระทู้ตั้งโดยเว็บมาสเตอร์ โพสต์และแสดงความเห็นเฉพาะสมาชิกเท่านั้น :: วันที่ลงประกาศ 2008-12-03 08:38:28