ReadyPlanet.com
dot
>...ตั้มศรีวิชัย TumAmulet ...< Thailand Amulet Charms
dot
bulletคำแนะนำจากตำรวจเมื่อถูกโกง
bulletเงื่อนไขการรับประกัน การันตีพระเครื่อง
dot
สารบัญพระเครื่องเมืองนคร
dot
bulletทำเนียบพระกรุเมืองนคร
bulletทำเนียบพระเครื่องเมืองนคร
bulletชมรมพระเครื่อง
dot
บูชาพระเครื่อง เครื่องรางของขลัง Amulets Charms Talismans
dot
bulletตลาดพระ amulet for you
bulletเช่า-บูชา เครื่องรางของขลัง
bulletพระหลวงปู่ทวด วัดต่างๆ
dot
จตุคาม-รามเทพ หลักเมืองนคร Jatukamramtep (Jatukarm)
dot
bulletหลักเมืองนครศรีธรรมราช
bulletจตุคาม ของดีนำมาโชว์
bulletบทความ น่ารู้องค์พ่อจตุคาม
bulletJatukam Amulets
bulletบทความจตุคามรามเทพ
dot
ลิงค์น่าสนใจ
dot
bulletหนังสือพิมพ์
bulletลิ้งค์เพื่อนบ้าน
bulletเทศกาล วันสำคัญ
bulletดวง ดูดวง หน้าหลัก
bulletบทความดีๆ
bulletนิทานสอนใจ
bulletวัฒนธรรมไทย ประเพณีไทย
bulletบทสวดมนต์ สำหรับชาวพุทธ
dot
พระเครื่อง นานาสาระ
dot
bulletพระพุทธรูปสำคัญของไทย
bulletคาถา-อาคม พระคาถาอาคม
bulletพระพุทธรูปปางต่างๆ
bulletพุทธศาสนสุภาษิต
bulletข่าวพระเครื่อง
bulletบทความพระเครื่อง
bulletThai Buddha Amulets
bulletข่าวพระพุทธศาสนา
bulletข่าวเครื่องรางของขลัง
bulletสาระพระเครื่องไทย
bulletประวัติพระวิปัสสนาจารย์




พระร่วงนั่ง พระนาคปรก กรุบ้านพลูหลวง จ.สุพรรณบุรี

สาระสังเขปพระเนื้อชิน - พระนาคปรก พระร่วงนั่ง กรุบ้านพลูหลวง จ.สุพรรณบุรี

พระร่วงนั่ง กรุบ้านพลูหลวง
พระร่วงนั่ง กรุบ้านพลูหลวง

บ้านพลูหลวง ต.พิหารแดง อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี มีอาณาเขตอยู่ใกล้กับวัดหน่อพุทธางกูร พื้นเพก่อกำเนิดขึ้นมาจากโบราณกาล จนถึงในยุคปัจจุบันนี้ เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน ๒๕๒๙ ชายหนุ่มคนหนึ่งไปรับจ้างขุดร่องสวนในบริเวณดังกล่าว เพื่อปลูกมะม่วง ขณะขุดดินอยู่ก็ได้พบพระเครื่องพิมพ์ พระร่วงนั่ง และ พิมพ์นาคปรก เป็นพิมพ์ขนาดเล็กจิ๋ว บรรจุอยู่ในไห เคลือบสีน้ำตาลอ่อน จำนวนประมาณ ๒๕๐ องค์ ต่อมาอีกไม่กี่วัน ก็มีผู้ขุดพบ พระร่วงนั่ง และ พิมพ์นาคปรก  พระ ๒ พิมพ์นี้ได้อีก ในบริเวณใกล้ๆ กัน บรรจุอยู่ในตลับเคลือบขาวของจีน สมัยซ่งภาคใต้ จำนวนพระที่ได้คราวนี้ประมาณ ๔๐ องค์

พระนาคปรก กรุบ้านพลูหลวง จ.สุพรรณบุรี
พระนาคปรก กรุบ้านพลูหลวง จ.สุพรรณบุรี

จากการขุดพบ พระร่วงนั่ง และ พระนาคปรก ซึ่งเป็นพระพิมพ์ที่ชนชาวขอมนิยมสร้าง และบรรจุอยู่ในตลับเคลือบขาวของจีน ทำให้ทราบได้ว่า ขอมมีการติดต่อกับประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ซ่ง ซึ่งราชวงศ์นี้ถือกำเนิดในราว พ.ศ.๑๗๐๐ ในยุคโบราณ ล่วงมาแล้วหลายร้อยปี

 พระร่วงนั่ง กรุบ้านพลูหลวง ของเมืองสุพรรณบุรี สร้างด้วยเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง องค์พระประทับนั่ง ปางสมาธิ บนฐานบัวเล็บช้าง จำนวน ๓ กลีบ พระเศียรสวมหมวกลักษณะมงกุฎสามชั้น พุทธศิลป์ เป็นพระสมัยลพบุรี ยุคปลาย พระร่วงนั่ง องค์พระมีขนาดเล็ก กะทัดรัด น่ารักมาก คือ มีความกว้างเพียง ๑.๒ ซม. ความสูงประมาณ ๒.๕ ซม. เท่านั้น นอกจากนี้ ตอนที่ขุดพบพระครั้งแรก ยังพบพระอีกพิมพ์หนึ่ง เป็นพระปาง นาคปรก เป็นพระพิมพ์เหมือน พระร่วงนั่ง ที่ขุดได้ในคราวเดียวกันทุกอย่าง ต่างกันเพียงมี พญานาค ๗ เศียร แผ่พังพาน คลุมอยู่เหนือพระเศียรองค์พระ ที่เรียกกันว่า พระนาคปรก (พระประจำวันเกิด-วันเสาร์)

 พระนาคปรก กรุบ้านพลูหลวง เป็นพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดง ขนาดองค์พระใกล้เคียงกับพิมพ์ พระร่วงนั่ง ต่างกันตรงสูงกว่าเล็กน้อยเท่านั้น คือ มีความกว้าง ๑.๒ ซม. ความสูงประมาณ ๒.๗๕ ซม. พุทธลักษณะ พระปางนาคปรก พระนาคปรก องค์พระพุทธปฏิมาปางสมาธิ ประทับนั่งบนบัลลังก์นาค ตามพุทธตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งพระพุทธองค์ได้ทรงพิจารณาธรรมในเรือนแก้ว ใต้ร่มนิโครธเจ็ดวันแล้ว เสด็จไปประทับใต้ร่มไม้จิก ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของต้นศรีมหาโพธิ์ บังเอิญในวันนั้นเกิดพายุฝนตกหนักไม่ขาดสาย ตลอดเจ็ดวัน พญานาคชื่อ มุจลินท์ จึงออกมาจากพิภพ แล้วทำขนดล้อมพระวรกายของพระพุทธเจ้าโดยรอบ สูงถึงเจ็ดชั้น แล้วแผ่พังพาน ทำคล้ายร่มใหญ่ คลุมพระเศียรพระพุทธองค์เอาไว้ เหมือนประหนึ่งกั้นเศวตฉัตรถวาย จนพายุฝนหาย นั่นคือภาพที่ปรากฏตามความเป็นจริง แต่ในการสร้างสรรค์เป็นรูปเคารพของพระปางนี้ เพื่อความสวยงามทางด้านงานศิลปะ ช่างผู้ออกแบบมักจะนิยมสร้างให้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่บน บัลลังก์ขนดนาค ซึ่งดูงดงามสง่ายิ่งนัก

สำหรับ พุทธคุณพระนาคปรก พระร่วงนั่ง กรุบ้านพลูหลวง พระทั้ง ๒ พิมพ์นี้ ก็เหมือนกับพระเมืองลพบุรี ทั่วๆ ไป คือ แคล้วคลาด ปลอดภัย และคงกระพันชาตรีเป็นหลัก

 ขนาดองค์พระ พระนาคปรก พระร่วงนั่งจัดอยู่ในตระกูลพระเนื้อสนิมแดงชุดเล็ก ขนาดและน้ำหนักเบา เหมาะสำหรับคุณสุภาพสตรีสามารถบูชาขึ้นคอได้อย่างสวยงาม ราคาเช่าหายังไม่สูงมากนัก ประมาณหลักหมื่นกลางๆ เท่านั้น บ้านพลูหลวง นอกจากจะเป็นชื่อกรุพระสำคัญดังกล่าวมาแล้ว ในสมัยกรุงศรีอยุธยา คำว่า บ้านพลูหลวง ก็ยังได้ปรากฏเป็นชื่อของ ราชวงศ์พระมหากษัตริย์ แห่งราชอาณาจักรอยุธยา อีกด้วย  โดยมีบันทึกในประวัติศาสตร์กล่าวว่า ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นชื่อลำดับที่ ๖ แห่งอาณาจักรอยุธยา เป็นราชวงศ์สุดท้ายก่อนการเสียกรุง ใน พ.ศ. ๒๓๑๐ มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์นี้ทั้งสิ้น ๖ พระองค์ โดยเริ่มตั้งแต่รัชกาล สมเด็จพระเพทราชา พ.ศ.๒๒๓๑ ถึงรัชกาล สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ พ.ศ.๒๓๑๐ รวมระยะเวลา ๗๙ ปี ชื่อ ราชวงศ์บ้านพลูหลวง นี้ มาจาก แขวงเมืองสุพรรณบุรี อันเป็นถิ่นกำเนิดเดิมของ สมเด็จพระเพทราชา นั่นเอง ลำดับพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีดังนี้ ๑.สมเด็จพระเพทราชา ๒.สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ๓.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ ๔.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ๕.สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร ๖.สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์)

 ราชวงศ์บ้านพลูหลวง เป็นการจัดลำดับพระราชวงศ์ โดยล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๔ แท้จริงราชวงศ์นี้ก็คือ ราชวงศ์ที่สืบต่อมาจาก พระเจ้าปราสาททอง โดยตรง จึงนับเป็นสายหนึ่งของราชวงศ์อยุธยา จดหมายเหตุจีนและญี่ปุ่น ได้กล่าวอย่างค่อนข้างชัดเจนว่า ในช่วงที่ราชวงศ์บ้านพลูหลวงปกครองกรุงศรีอยุธยานั้น กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางทางด้านพาณิชยกรรม และการเดินเรือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นศูนย์รวมสินค้าทุกชนิด จากประเทศต่างๆ ทั่วทุกมุมโลก ความเคลื่อนไหวทางด้านเศรษฐกิจดังกล่าว ได้สร้างเสริมสถานภาพทางการเมืองระหว่างประเทศ และพัฒนาการทางเศรษฐกิจภายในประเทศให้ทวีความรุ่งเรืองมากขึ้น

แต่ในที่สุด กรุงศรีอยุธยาก็มีสภาพเช่นเดียวกับเมืองหลวงอื่นๆ ของอารยธรรมโลก ที่หลีกหนีสัจธรรมแห่งความจริงบนโลกใบนี้ไม่พ้น ซึ่งเมื่อผ่านพ้นช่วงเวลาแห่งความเจริญสูงสุดแล้ว ก็ต้องถึงคราวล่มสลาย ตามกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ความร่ำรวยและการว่างเว้นจากการทำสงคราม เป็นเวลานาน ทำให้กรุงศรีอยุธยาตกอยู่ในความประมาท มีการแก่งแย่ง ช่วงชิงผลประโยชน์ทางการเมือง มีการแข่งขันประกวดประชันกันในสังคม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นพาหะที่ทำลายความเป็นเอกภาพโครงสร้างเก่าแก่ของราชธานีแห่งนี้ ทำให้ในเวลาต่อมา เมื่อกองทัพพม่าเคลื่อนกำลังเข้ามาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาราชธานีแห่งนี้จึงถูกทำลายลงอย่างไม่ยากนัก ในช่วงปลายราชวงศ์บ้านพลูหลวง ได้เกิดความขัดแย้งระหว่างหมู่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ด้วยกันเอง มากกว่าจะเกิดจากขุนนางกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และความขัดแย้งนี้เอง เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กรุงศรีอยุธยาด้อยประสิทธิภาพในระบอบการปกครอง เพราะอำนาจไม่เป็นเอกภาพ จนในที่สุดก็ต้องเสียเมืองให้แก่พม่าเป็นครั้งที่ ๒ ในสมัย สมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์

 ในขณะที่กรุงศรีอยุธยาประสบความล้มเหลวทางด้านการปกครอง แต่รุ่งเรืองทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้สังคมกรุงศรีอยุธยาสมัยนั้น ทุ่มเทให้งานศิลปกรรมแขนงต่างๆ จนสามารถแสดงเอกลักษณ์ได้อย่างโดดเด่น โดยเฉพาะในสมัย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พ.ศ.๒๒๗๕-๒๓๐๑) เพราะงานศิลปกรรมเกือบทุกแขนงในรัชสมัยนี้ ได้รับการยกย่องให้เป็น ศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์  นับเป็นเอกลักษณ์แห่งศิลปะเฉพาะตัว ที่มีความงดงามอลังการไม่ด้อยไปกว่าศิลปกรรมยุคอื่นใดเลย พระนาคปรก พระร่วงนั่ง กรุบ้านพลูหลวง เป็นพระเครื่องที่น่าสะสมของ จ.สุพรรณบุรี

"ชาติ วิศิษฏ์สรอรรถ" ที่มา...คมชัดลึก




บทความพระเครื่อง

พระรูปหล่อพ่อท่านคล้าย วัดปากจัง review แท้&ปลอม
บทความเหรียญพ่อท่านคล้าย น้ำตกพริ้ว จันทบุรี แท้&ปลอม
เหรียญหลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน รุ่นแจกแม่ครัว (แท้-เก๊)ศึกษาและสะสม
วิธีดูเหรียญหลวงปู่ทวด วัดดีหลวง จ.สงขลา รุ่นแรก ปี05
เหรียญหัวแหวน หลวงปู่ทวด วัดช้างให้ ทำเนียบหัวแหวนหลวงพ่อทวดรุ่นต่างๆ
บทความเกี่ยวกับแหวนพ่อท่านคล้าย วัดสวนขันรุ่นต่างๆที่นิยม
พระเบญจภาคี ปรกใบมะขามภาคใต้ สุดยอดพระเครื่องเมืองใต้
พระกำแพงขาโต๊ะ เนื้อชินตะกั่วสนิมแดง พระกรุเมืองกำแพงเพชร
พระกริ่งธรรมสามิตร วัดมกุฏกษัตริยาราม ปี 2511
รูปหล่อท้าวเวสสุวรรณ เจ้าคุณศรีสนธิ์ วัดสุทัศน์ 2492
เหรียญหลวงพ่อลา วัดแก่งคอย รุ่นแรก
แขวนเดี่ยวพระอะไรดี ? คำตอบคือ
เหรียญยันต์เกราะเพชร รุ่นแรก ศูนย์พุทธศรัทธา ปี26
ประวัติ หลวงปู่ศรี มหาวีโร วัดป่ากุง
ราคาพระเครื่องปัจจุบัน ราคาพระมีปัจจัยอะไรบ้าง
ร้านพระเครื่องออนไลน์ ให้เช่าพระเครื่อง สะดวกปลอดภัยหรือไม่ article
หลวงปู่ทวด ภ.ป.ร. พระดีน่าสะสม โดยพุทธสมาคม
พระเครื่องล้านนา รวมพระล้านนาที่นิยมโดยเฉพาะ พระกรุล้านนา
พระเครื่อง เหรียญหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ ราคาสูงมาก
ข้อมูลพระเครื่อง สำหรับผู้นิยมสะสมพระ article
พระสมเด็จบางขุนพรหม พิมพ์ใหญ่
พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม article
เหรียญมหาลาภ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค จ.นครสวรรค์
เหรียญหลวงพ่อหรุ่น เก้ายอด วัดอัมพวัน
เหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพ รุ่นแรก ปี 2500
พระบูชาหลวงพ่อโสธร ปี 2497
พระกริ่งชินบัญชร หลวงปู่ทิม อิสสริโก วัดละหารไร่
ประวัติท้าวเวสสุวรรณ ตำนานท้าวเวสสุวัณ มีกำเนิดจากหลายตำนาน
พระกรุวัดเงิน คลองเตย
ยอดพระเครื่องเมืองพิจิตร
พระแก้วจุยเจีย รัตนชาติ พระกรุฮอด
ราคาพระสมเด็จ กับกลุ่มนักสะสมพระสมเด็จ
ข้อสังเกตพระวัดปากน้ำ พระผงของขวัญ(หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ)
เสี้ยนพระ กับ เซียนพระ ต่างกันอย่างไร
เหรียญหลวงปู่ทวดหลังพ่อท่านคล้าย ออกวัดหน้าพระธาตุ ปี 2508
เหรียญหลวงพ่อทวด หลัง หลวงพ่อคล้าย รุ่นเบตง ปี 2505
รูปหล่อ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หล่อโบราณ รุ่นหลังคู้
ประวัติ พระเครื่อง หลวงพ่อคล้าย วาจาสิทธิ์ วัดชุมพรรังสรรค์
เหรียญ พ่อท่านคล้าย พิมพ์หัวใจใหญ่ วัดพระธาตุน้อย ปี 2505
ศึกษาเรื่องพระเครื่อง การศึกษาด้านพระเครื่องตามหลักสากลนิยม article
กำเนิดพระพิมพ์ พระพิมพ์ทวาราวดี พระพิมพ์ซุ้มพุทธคยา
พระกริ่งอรหัง วัดราชาวาสวรมหาวิหาร
ใบฝอยวิธีใช้ พระเครื่องหลวงพ่อทวดนวล เทวธมฺโม วัดตุยง
เซียนพระแนะวิธี ศึกษาพระเครื่อง ดูพระอย่างไรให้เล่นพระเป็น
พระปิดตามหาอุตม์ หลวงพ่อห้อย วัดหอมเกร็ด
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
พระกริ่งหนองแส หลวงปู่กลีบ วัดตลิ่งชัน
เหรียญหลวงพ่อพรหม วัดช่องแค รุ่นแรก ปี 2507
พระนางพญา กรุวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ประวัติและพุทธคุณ article
ประวัติพระปิดตา กับตำนานการสร้างพระปิดตาในประเทศไทย
คำว่าพระเครื่อง พระพิมพ์ กับความเชื่อมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
เขาเล่น"พระ"อะไรกัน
พระนางพญาพิมพ์อกนูนใหญ่
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรงมือตกเข่า
พระนางพญาพิมพ์เข่าตรง
พระนางพญาพิมพ์เข่าโค้ง
พระเครื่อง พระเหรียญ แท้-เก๊จบที่ขอบเหรียญ
พระกริ่งทีอ๋อง พระกริ่งนอกยอดนิยม
เหรียญหลวงพ่อโอภาสี รุ่นแรก อาศรมบางมด
เหรียญรุ่นแรก หลวงพ่อสาย วัดหนองสองห้อง
เหรียญหลวงพ่อพริ้ง วชสุวัณโณ วัดวรจันทร์
เหรียญหล่อ หลวงปู่รอด วัดสามไถ article
พระปิดตาหลวงพ่อเอียด วัดดอนศาลา
พระคง ลำพูน เนื้อเขียว
เหรียญหลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ รุ่นแรก (พระครูวรเวทย์มุนี) article
พระเนื้อผง หลวงพ่อผึ่ง วัดสว่างอารมณ์
ชมรมพระเครื่อง เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เซียนประจำแน่น
เหรียญหลวงพ่อแก่ วัดดุลยาราม รุ่นแรก จ.สตูล
พระพุทธชินราช รุ่นบูรณะพิพิธภัณฑ์ เพื่อ "พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านจ่าทวี"
เหรียญเต่าใหญ่ หลวงพ่อทรง วัดศาลาดิน จ.อ่างทอง
เหรียญสมโภชพระธาตุพนม ปี18 article
พระหลวงพ่อหมอ ลพบุรี
พระกลีบบัว วัดลิงขบ
เหรียญหลวงปู่ทวด หลังยันต์ห้าแถวหนุนดวง รุ่นยืนมั่นคง บุญฤทธิ์หนุนดวง
เหรียญหลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน ราคาพระเหรียญที่แพงที่สุดในโลก 30ล้าน article
พระเครื่อง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ปี 2515
เหรียญสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสโล) พระเครื่องยอดนิยม article
พระสมเด็จ หลวงปู่ภู วัดอินทรวิหาร พิมพ์แซยิดแขนหักศอก
ตลาดพระ ท่าพระจันทร์ ศูนย์พระเครื่อง เก่าแก่และใหญ่ที่สุด article
เหรียญหลวงปู่อั๊บ เขมจาโร วัดท้องไทร รุ่นมหาโชคมหาเศรษฐี
พระสมเด็จบางขุนพรหม ย้อนยุค วัดใหม่อมตรส
เหรียญหลวงพ่อเคลือบ วัดหนองกระดี่ ปี 15
เหรียญพระเจ้าตากสิน รุ่นสร้างอนุสาวรีย์ ปี 2517 article
เหรียญรัชกาลที่1 เหรียญที่ระลึก 200 ปี ราชวงศ์จักรี
พระกรุวัดนาสนธิ์ พิมพ์วงแขน กรุเก่าแก่จังหวัดนครศรีธรรมราช article
เหรียญมหาโภคทรัพย์ชินบัญชร วัดโล่ห์สุทธาวาส
เหรียญหลวงพ่อเพชรมีชัย วัดมหาธาตุ จ.เพชรบูรณ์
เหรียญพระพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก "เหรียญ มศว.24" article
ศูนย์พระพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ตลาดพระเครื่อง พระพันธ์ทิพย์
เหรียญมหาปรารถนา หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย
เหรียญหลวงพ่อก๋ง วัดเขาสมอคอน รุ่นแรก
พระพิจิตรเม็ดข้าวเม่า พระกรุเมืองพิจิตร
เหรียญหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ปี พ.ศ.2460
เหรียญหลวงตาละมัย วัดอรัญญิก รุ่นสร้างอุโบสถ
เหรียญท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย วัดพระธาตุดอยคำ ปี 49
พระร่วงยืน สนิมแดง กรุศาลาขาว
เหรียญพระพุทธสิหิงค์ วัดราชประดิษฐ์ รุ่นฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี
เหรียญอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก ปี2507
เหรียญหลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่นอก ปี2477 รุ่นแรกพิมพ์นิยมหลังอุชิด



แสดงความคิดเห็น
ความคิดเห็น *
ผู้แสดงความคิดเห็น  *
อีเมล *
ไม่ต้องการให้แสดงอีเมล